บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2022

รักษาพยาบาลนอกสิทธิประกันสังคมเบิกค่าใช้จ่ายกับประกันสังคมได้ไหม?

รูปภาพ
  เข้า รพ. เอกชน นอกสิทธิประโยชน์ฯ เบิกค่ารักษาพยาบาลกับประกันสังคม ได้ หรือไม่ ข้อมูล เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน “ประกันสังคม” จะได้รับบริการทางการแพทย์ ในกรณีเจ็บป่วย ในกรณีเจ็บป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ในกรณีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอื่นโดยที่ได้สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนดดังนี้ เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐ การรักษาทั้งอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ในกรณีเป็นผู้ป่วยนอก เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น และในกรณีเป็นผู้ป่วยใน เบิกได้ตามที่จ่ายจริง ยกเว้น ค่าห้องและค่าอาหาร เบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของเอกชน กรณีผู้ป่วยนอกเบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 1,000 บาท กรณีผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลกรณีไม่ได้รักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 2,000 บาท ค่าห้องค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท ค่าห้องกรณีรักษาในห้อง ICU เบิกได้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท กรณีต้องผ่าตัดใหญ่เบิกได้ไม่เกินครั้งละ 8,000 – 16,00...

ขาดส่ง มาตรา 39 จนสิ้นภาพฯ ทำอย่างไร

รูปภาพ
ได้จดหมายแจ้งว่าขาดส่งประกันสังคม ม.39  จะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างไร?  เช็คว่าจดหมายแจ้งขาดส่งกี่เดือน หากยังไม่สิ้นสภาพให้ทำการจ่ายเดือนที่ค้างทันที่ ที่สำนักงานประกันสังคม หากสิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 เนื่องจากขาดส่งเงินสมทบติดต่อกัน 3 เดือน หรือใน 1 ปี ส่งไม่ครบ 9 และยังไม่ได้รับเงินชราภาพให้ไปจ่ายเดือนที่ขาดพร้อมจ่ายดอกเบี้ย เพื่อหยุดดอกเบี้ยร้อยละ 24 ต่อปี  ทำอย่างไร?  ลองอุทธรณ์ฯ โดยอ้างเหตุการระบาดโควิด 19 ทำให้ไม่สามารถไม่จ่ายเงินได้สะดวกหรือไม่มีรายได้  ถ้ายังอายุน้อยกว่า 60 อาจกลับเข้ามาตรา 33 ใหม่ โดยหานายจ้างช่วยหักเงินเดือนส่งสมทบให้ แล้ว ค่อยกลับมามาตรา 39 อีกครั้ง  สมัครมาตรา 40 ทางเลือก 1 หรือ 2 เพื่อคุ้มครองการเสียชีวิต ทุพพลภาพ และขาดรายได้จากการเจ็บ ป่วย หรือบำเหน็จเงินชราภาพ และถ้ายังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ให้สมัคร ม.40 ทางเลือก 3 รอรับเงินชราภาพ ถ้าเมื่อครบอายุ 55 ปี หรือ ถ้าอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 55 ปีบริบูรณ์ เข้าสิทธิประโยชน์ชราภาพ แล้วก็ใช้สิทธิรักษาพยาบาลกับสิทธิบัตรทอง 

เพิ่มประโยชน์บำเหน็จชราภาพ

รูปภาพ
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 เมื่อ วันที่ 25 มีนาคม 2565  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 และมาตรา 77 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 2/2 และข้อ 2/3 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ พ.ศ. 2552 “ข้อ 2/2 การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งออกเงินสมทบเข้ากองทุนในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564 ให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.45 ของค่าจ้างที่มีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่...

13 คำถาม/คำตอบ เงินชราภาพประกันสังคม

รูปภาพ
คำถามคำตอบ สิทธิประโยชน์ชราภาพประกันสังคม จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทําไมต้องบังคับผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้ออมเงินชราภาพ จากการศึกษาของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า โดยเฉลี่ยในภาพรวม ประเทศผู้ที่มีอายุมากกว่า 57 ปีจะมีภาระค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับ ในขณะที่ในช่วงอายุ 23 ถึง 57 ปี ประชาชนมีรายรับมากกว่ารายจ่าย ดังนั้นภาครัฐจึงควรสร้างกลไกการออมเงินในช่วงที่มี รายรับเหลือเพื่อในไปใช้ในช่วงที่รายรับในพอกับรายจ่าย เงินสมทบกรณีชราภาพที่ผู้ประกันตนนําส่งเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นเงินออมรายบุคคลใช่ หรือไม่ กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพบริหารตามหลักการประกัน เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้า กองทุนเปรียบเสมือนเบี้ยประกัน เมื่อผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบตามระยะเวลาที่กําหนดคือ 15 ปี จะได้รับความคุ้มครองเป็นการประกันการอายุยืนหรือที่เรียกว่าบํานาญรายเดือนตลอด ชีวิต โดยกองทุนชราภาพบริหารแบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข นั่นคือ คนที่อายุสั้นช่วยคนอายุยืน ส่วน ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 15 ปี จะได้รับเงินสมทบในส่วนของตนเองและนายจ้างคืน พร้อมดอกผลที่ได้จากการลงทุน เงินสมทบที่ผู้ประกันตนส่ง...

เงินที่ผู้ประกันตนรับจากประกันสังคมเรียกเงินคุ้มครองแทนเงินสงเคราะห์

รูปภาพ
“เงินสงเคราะห์ vs เงินคุ้มครอง”  เงินที่จ่ายให้กับประกันสังคมเรียกชื่อว่า “เงินสมทบ”  ~ เงินมีหลายชื่อ ~ เมื่ออยู่ในวัด เรียกว่า "ปัจจัย" อยู่ที่โรงเรียน เรียกว่า "แป๊ะเจี๊ยะ" ในการแต่งงาน เรียกว่า "สินสอด" ในการหย่า เรียกว่า "ค่าเลี้ยงดู" เมื่อหยิบยืมใครบางคน เรียกว่า "หนี้สิน" เมื่อจ่ายให้รัฐบาล เรียกว่า "ภาษี" ในศาล เรียกว่า "ฤชา" ในบ่อน เรียกว่า "ชิพ" บนโรงพัก เรียกว่า "ค่าปรับ" นอกโรงพัก เรียกว่า "ใต้โต๊ะ" จ่ายข้าราชการเกษียณเป็นก้อน เรียกว่า "บำเหน็จ" จ่ายข้าราชการเกษียณเป็นเดือน เรียกว่า "บำนาญ" รับตอนตรุษจีน เรียกว่า "แต๊ะเอีย" รับตอนสิ้นปี เรียกว่า "โบนัส" จ่ายลูกจ้าง เรียกว่า "ค่าจ้าง" จ่ายพนักงาน เรียกว่า "เงินเดือน" จ่ายลูกพี่ เรียกว่า "ค่าครู" จ่ายลูกน้อง เรียกว่า "ค่าตอบแทน" ให้เด็ก เรียกว่า "เบี้ยเลี้ยง" ให้ผู้ยากไร้ เรียกว่า "ทาน" จ่ายหลังจากได้รับบริการที่ดี เรียกว่า ...

กองทุนประกันสังคม มั่งคั่งจริง ?

รูปภาพ
จะมีกองทุนใดในประเทศที่รวยเท่า กองทุนประกันสังคม ไหม?  มั่งคั่งสุดๆ  ปัจจุบันผู้ประกันตนส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละประมาณ 9,000 ล้านบาท จ่ายเงินบำนาญประมาณ 3,000 ล้านบาท ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 1.8 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันในปี 2564 ที่ผ่านมา ประกันสังคมได้ดอกเบี้ย และผลตอบแทนจากการลง ทุนประมาณ 70,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันผู้ประกันเดือดร้อนจากผลกระทบวิกฤตโควิค และ ความขัดแย้งของรัสเซียยูเครน ผู้ประกันตนต้องการเงินคืนจากประกันสังคม 30% ซึ่งคาดว่าจะใช้เงิน 5.4 แสนล้าน ประกันสังคม กลับดำเนินการคิดแล้วคิดอีก ทั้งที่เป็นเงินของผู้ประกันตน และเงินที่คืนอาจจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนได้ และอาจทำให้เศรษฐกิจชาติขับเคลื่อนต่อไปในช่วงที่การระบาดของโรคโควิดกำลังจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น (endemic)  กับแคพชั่น "จะมีกองทุนใดในประเทศที่รวยเท่า กองทุนประกันสังคม ไหม" ? https://t.co/sM5HBeWIzf "ไม่มีแล้วที่รวยเท่า แต่เข้าไม่ถึง ฝากประจำกับแบงค์กรณีจำเป็นจริงยังขอเบิกได้ แต่นี้เบิกก็ไม่ได้เข้าก็ไม่ถึง ถ้าทำงานบริษัทก็หักเข้าทุกเดือน ไม่ให้หักก็ไม่ได้ มัดมือชกชัด" https:...

ลดเงินสมทบ เงิน บำเหน็จ/บำนาญ ลด? ที่จะได้รับจากประกันสังคม ลดลง ไหม

รูปภาพ
  ลดเงินสมทบไม่มีผลต่อเงินบำนาญชราภาพที่จะได้รับของ มาตรา 33 และ มาตรา 39 แต่อย่างใด ลดเงินสมทบจะ มีผลต่อการรับเงินบำเหน็จชราภาพผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 ลดลง  แต่ไม่มีผลต่อมาตรา 40  โดยเงินบำเหน็จชราภาพที่ลดลงของ มาตรา 33 และ มาตรา 39 จากการประกาศลดเงินสมทบ รัฐบาลจะประกาศชดเชยเงินเพิ่มให้กับผู้ที่ได้รับบำเหน็จชราภาพ เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 65 ภายหลัง ประชุมคณะรัฐมนตรี  ( ครม. ) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการเพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน โดยมีการ ปรับลดอัตราเงินสมทบ ของ ผู้ประกันตนมาตรา 33   มาตรา 39  และ มาตรา 40  เป็นเวลา 3 เดือน  เริ่มเดือน พ.ค.-ก.ค. 65  โดยมีรายละเอียดดังนี้ มาตรการลดเงินสมทบผู้ประกันตน 3 มาตรา ของรัฐบาล มาตรา 33 นายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ลดจ่ายเงินสมทบจากอัตราที่เท่ากัน 5% ต่อเดือน เหลือเป็น 1% ต่อเดือน เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถมีกำลังในการใช้จ่ายและผู้ประกอบการสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจในช่วงถัดไป มาตรา 39 ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39 จาก 9% เหลือ 1....

ค.ร.ม. 22 มีค. 65 กับการลดเงินสมทบผู้ประกันตน ทุกมาตรา

รูปภาพ
  มติ ค.ร.ม. วันที่ 22 มีค. 65 ให้ลดเงินสมทบ  พ.ค. - ก.ค. 2565 กับผู้ประกันตน ดังนี้  ลดอัตราเงินสบทบของนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 จาก 5% เหลือ 1% เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างสามารถมีกำลังในการใช้จ่ายและผู้ประกอบการสามารถมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจในช่วงถัดไป ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 39 จาก 9% เหลือ 1.9% = 91.20 บาท  และลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนมาตรา 40 ลงเหลือ 42 – 180 บาทต่อเดือน

3 ขอ คืออะไร?

รูปภาพ
สิทธิประโยชน์ชราภาพ 3 ขอ (3ข) 3 ขอคืออะไร ?  3 ขอคือข้อเรียกร้องเป็นผู้ประกันตนหลายๆ กลุ่ม เช่น กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน กลุ่มขอคืนไม่ใช่ขอทาน และกลุ่มแรงงานเพื่อสังคมเป็นต้น โดยพบว่า เริ่มมีการรวมตัวกันขึ้นเพื่อเรียกร้องในสื่อสังคมออนไลน์ ในเดือน เมษายน 2563 และมีการรวมรวมสมาชิกส่งหนังสือ เรียกร้องให้ สำนักงานประกันสังคมนำเงินในส่วนของกองทุนในส่วนที่เรียกว่าเงินกองทุนชราภาพซึ่งประกอบไปด้วยส่วนเงินที่เก็บจากส่วนของลูกจ้างแรงงานหรือผู้ประกันตน ส่วนของนายจ้าง และส่วนของรัญ  ขอนำเงินในกองทุนนี้มาช่วยเยียวยาในช่วงวิกฤติการระบาดโรคไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด 19 โดยต้องการให้นำเงินบางส่วนคืนกับผู้ประกันตน หรือปล่อยกู้กับผู้ประกันตน ก่อนกำหนดอายุ 55 ปี และให้ผู้ประกันตนที่ครบอายุสามารถเลือกรับเงินชราภาพได้ในแบบบำเหน็จชราภาพหรือบำนาญชราภาพได้ตามชอบ เพื่อให้ผู้ประกันตนที่เดือดร้อนจากวิกฤตนำเงินส่วนนี้ไปบรรเทาความความเดือดร้อนได้และหรือสามารถนำลงเป็นทุนประกอบอาชีพได้ตามความสามารถในช่วงที่ผู้ประกันตนตกงานจากการระบาดโควิด 19  3 ขอประกอบไปด้วยอะไร ขอเลือก ในส่วนขอขอเลือกนั้น ผู้ประกัน...

ม.33 การเบิกสิทธิประโยชน์ขาดรายได้กับ สปส. ในกรณีเจ็บป่วย และ กรณีกักตัวสัมผัส

รูปภาพ
 ลูกจ้าง ม.33 กรณีขาดรายได้ (ติดโควิด-19) นายจ้างต้องรับผิดชอบค่าจ้างให้ลูกจ้างโดยใช้สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 32 และมาตรา 57 ใช้สิทธิลาป่วยได้ 30 วัน/ปี  หากหยุดเกิน 30 วัน ตามใบรับรองแพทย์และนำส่งเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือนใน15 เดือนก่อนเกิดเหตุ สามารถขอรับเงินชดเชยการขาดรายได้  โดยมีเอกสารประกอบการยื่นเรื่องคือ 1.แบบ สปส.2-01 2.ใบรับรองแพทย์ต้นฉบับ(สั่งให้หยุดพักรักษาตัว) 3.หนังสือรับรองนายจ้าง 4.สถิติวันลาป่วย ของปี 5.สำเนาบช.ธนาคารหน้าแรก ***ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนได้ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ จัดส่ง ปณ. กรณีกักตัวไม่ได้รับค่าจ้าง (ย้ำ...ต้องไม่ติดโควิด-19) ให้นายจ้างยื่นในระบบ e-service และนำส่งแบบมาที่ประกันสังคม ได้รับ 50% ของค่าจ้างไม่เกิน 15,000 1.สปส.2-01/7 2.ใบรับรองแพทย์หรือหนังสือจากจนท.ควบคุมโรค ที่สั่งกักตัว  3.สำเนาบช.ธนาคารหน้าแรก หากไม่มีข้อ 2 ให้ใช้ของผู้ติดเชื้อที่เราไปสัมผัสแทนได้ แต่ให้นายจ้างหมายเหตุมาเพิ่มด้วย หมายเหตุ  อาจมีข้อยกเว้น ที่ลูกจ้างราชการอาจเบิกได้เลย ในกรณีราชการไม่อนุญาตให้ลาป่วยได้เงิน หรือ บางแห่งระบุให้ลาได้ 7 หรือ 14 วัน...

การสมัครมาตรา 39 ของผู้ประกันตนต่างด้าว ต่างชาติ (ไม่ใช่สัญชาติ)

รูปภาพ
คนต่างด้าว ต่างชาติ  เช่น ลาว เมียนมา (พม่า) กัมพูชา (เขมร) หรือสัญชาติใดๆ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ประกันสังคม ได้สิทธิเหมือนคนไทย 6 สิทธิประโยชน์ หากตามเงื่อนไข คือ เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาอย่างน้อย 12 เดือน และสมัครใจสมัคร ม.39 ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ลาออกจากงาน (สิ้นสภาพ) จากมาตรา 33  โดยสมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคมที่ใดก็ได้   1) คำร้องแบบ สปส. 1-20 2) ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (ตม)  3) สำเนาใบอนุญาตทำงาน (กรมจัดหางาน) 4) สำเนาหนังสือเดินทาง  5) สำเนาทะเบียนบ้าน (กรมการปกครอง) 6) สำเนาสมุดคู่ฝากออมทรัพย์ เพื่อหักบัญชี 6 ธนาคาร ส่งเงินสมทบ หรือ เคาน์เตอร์บริการ ที่ เซเว่น โลตัส บิ๊กซี เซนเพย์ เป็นต้น   เมื่อสมัครแล้ว ไม่ต้องมาอัพเดทเอกสารแม้เอกสารจะหมดอาย และสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทั้ง 6 สิทธิประโยชน์ที่ต่างประเทศได้ ครบถ้วน ยกเว้น สถานพยาบาลประจำสิทธิ

เบิกค่าขาดรายได้ มาตรา 39

รูปภาพ
ผู้ประกันตน มาตรา 39 (ประกันตนเอง)            ต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน (ส่งติดต่อกันหรือไม่ก็ได้) ก่อนเดือนที่เจ็บป่วย และแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว ผู้ประกันตน มาตรา 39 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง คิดจากฐานเงินเดือน 4,800 บาท เท่ากับจะได้วันละ 80 บาท (จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน) แต่ถ้าผู้ประกันตน มาตรา 39 ไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง หรือไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพ จะไม่สามารถเบิกสิทธิ์เงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคมได้ สำหรับผู้มีสิทธิ์รับเงิน เมื่อรักษาตัวจนหายป่วยดีแล้วสามารถติดต่อขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง ทั่วประเทศ โดยเตรียมเอกสาร ดังนี้ - แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส.2-01 - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน - ใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลที่รักษา หรือบันทึกภาพหน้าจอจากแอปพลิเคชันไลน์หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับสถานพยาบาล  - สำเนาเวชระเบียนที่ได้จากการบันทึกหน้าจอแอปพลิเคชันไลน์หรือโปรแกรมอื่น ๆ โดยต้องระบุวันที่เริ่มรักษา จนสิ้นสุดการรักษา รวมถึงการใ...

ข้อดี ข้อเสีย อายุ 55 ก่อนสมัคร มาตรา 39 ให้รับเงินชราภาพ

รูปภาพ
  ทำไม มีข้อดี ข้อเสีย และข้อแนะนำ ผู้ประกันตนอายุ ครบ 55 ปีบริบูรณ์ ก่อน สมัคร ม.39 ควรขอเข้าสิทธิชราภาพก่อนหรือไม่ ไม่ว่าจะรับบำเหน็จชราภาพ หรือ บำนาญชราภาพ เพราะ ข้อดีคือ   1) เมื่อตัดสินใจกลับมารับบำนาญอีกครั้ง จะไม่นำส่วนฐานเงินสมทบของมาตรา 39 มาคิดเงินบำนาญชราภาพต่อเดือน ซึ่งไม่ทำให้เงินบำนาญชราภาพลดลง  แต่คนที่กลับเข้าสู่ ม.33  อีกครั้งจะถูกนำมานับเดือนเพื่อรับเงินเพิ่ม 1.5% ต่อ 12 เดือน ต่อไป 2) สำหรับคนที่ต้องรับบำเหน็จชราภาพก็รับได้เลย โดยสมทบ ม.39 ก็จะเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เงินชราภาพ เพราะมีข้อเสียคือ   อายุ 55 ปี ห้ามไม่ให้เข้าสิทธิก่อนสมัครต่อมาตรา 39 หากคุณจะให้เงินชราภาพตกเป็นบำนาญชราภาพแก่ทายาท ( ข้อเสีย เมื่อคุณอายุครบ 55 ปี แล้วไปเข้าสิทธิเงินสมทบชราภาพ ก่อนสมัคร มาตรา 39)  จะทำให้เงินบำเหน็จชราภาพ ที่ได้ถูกจำกัดไว้ที่ 60 เดือน แทนที่จะได้รับเงินชราภาพที่สะสมไว้พร้อมดอกผลทั้งหมด ตัวอย่างการคำนวนเงินบำเหน็จชราภาพของหมอบูรณ์

คลอดบุตร ยกร่างกฎหมายประกันสังคม

รูปภาพ
  นอกจากเรื่องแก้ไข พระราชบัญญัติประกันสังคมในส่วนสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพแล้ว  สปส. เดินหน้าแก้กฎหมาย สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร “เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร” นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการติดตามการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้นายจ้างและสำนักงานประกันสังคมร่วมกันจ่ายค่าจ้างให้ครอบคลุมวันลาทั้งหมด 98 วัน ซึ่งขณะนี้ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเสนอปรับแก้ไขกฎหมายการจ่ายเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรให้แก่ลูกจ้าง/ผู้ประกันตน โดยเร็วต่อไป นายบุญสงค์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับความคืบหน้าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวว สำนักงานประกันสังคม เสนอแก้ไขกฎหมายในกรณีคลอดบุตร (เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร) ดังนี้ - กฎหมายเดิม กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ให้ผู้ประกันตนหญิงลาคลอดได้ 90 วัน โดยรับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน ในอัตรา 100% ของค่าจ้าง และสำนักงานประกันสังคมจ่ายเพิ่มอีก 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน เช่น ฐานค่าจ้าง 15,000 บาท จะได้รับ 22,500 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับค่าคลอดบุตร 15,000 บาท ผู้ประกันจะได้รับทั้งสิ้น 37,500 บ...

จำนวนผู้ประกันตนทุกมาตรา ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2565

รูปภาพ
จำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมแต่ละมาตรา 33, 39 และ 40 เดือน กุมภาพันธ์ 2565 รวม 23,864,373 คน ภาพประกอบเดือน กุมภาพันธ์ 2565 ประกอบไปด้วย ผู้ประกันตนมาตรา 33 = 11,190,109 ผู้ประกันตนมาตรา 39 =   1,925,572 ผู้ประกันตนมาตรา 40 = 10,748,692 รวมทั้ง 3 มาตรา  23,864,373 คน เพิ่มขึ้นจากเดือน (มกราคม 23,803,063) จำนวน 61,310 คน

ลงทะเบียนว่างงาน ยุคใหม่ ออนไลน์ กับ สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

รูปภาพ
ตกงานไม่ต้องตกใจ เขามีการลงทะเบียนออนไลน์กันนานแล้วจ้า ตามนี้เลย ขึ้นทะเบียนว่างงาน ✅สำหรับผู้ที่ขึ้นทะเบียนว่างงานตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ไปที่เว็บ e-service.doe.go.th และสามารถแนบเอกสารเป็นไฟล์ลงในระบบได้เลยโดยที่ไม่ต้องไปยื่นเอกสารที่ประกันสังคมอีก https://e-service.doe.go.th/login.do ✅สำหรับผู้ที่ขึ้นทะเบียนก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ไปที่เว็บ empui.doe.go.th (เว็บเดิม) https://empui.doe.go.th/auth/index?ms=1635836851351 ❗️❗️แตกต่างกันอย่างไร❗️❗️ ขึ้นทะเบียนก่อน 1 พฤศจิกายน 2564 #ยังต้องส่งเอกสารให้ประกันสังคมเหมือนเดิม ขึ้นทะเบียนตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2564 #ไม่ต้องยื่นเอกสารที่ประกันสังคมแล้ว

สราวุธ หมวกทอง กับความคิดเห็นเรื่อง พ.ร.ก. คืนเงินประกันสังคม

รูปภาพ
  ประเทศปัจจุบันหลายอย่างฉิบหายง่ายเกินไป  เพราะผู้มีอำนาจ กับเรื่องที่ดีไม่กล้าตัดสินใจ ทำอย่างทันท่วงที  ผิดจากเรื่องที่ไม่เข้าท่า ที่มาไว ฅนส่วนใหญ่ได้ทันใช้กันถ้วนหน้า ทั้งที่ ฅนที่ล่มจมไปแล้ว ก็มีมากจากการบริหาร  ก่อนช่วงโควิด  จากเศรษฐกิจพิษการเมือง พอเรื่องโรคระบาดเข้ามาแทรก  ผู้มีอำนาจก็ยิ่งสร้างหายนะต่อตัวบุคคล สังคมและประเทศไปกันใหญ่  ด้วยการตัดสินใจ กล้าสั่งล๊อคดาวน์  แต่กลับไม่กล้าสั่งล๊อคหนี้สินให้เด็ดขาด เหมือนตอนการสั่งล๊อคดาวน์ ฅนรากหญ้าที่มีกำลังแค่พอประคองตัว ไว้ได้ ก่อนโควิด พอล๊อคดาวน์เศรษฐกิจ ล๊อครายได้ ก็ทยอยล่มจมไปตามๆกัน มากขึ้นไปอีก เพราะเจ้าหนี้ส่วนใหญ่ ได้ลอยตัวอยู่เหนือปัญหา  และถึงเวลาก็ไล่ฟ้อง ไล่ยึด   ฅนชาติเดียวกันให้ตกอับไปตามๆกัน   มีมากขึ้นไปอีกเป็นทวีคูณ ประชาชนที่อ่อนแอกำลังทรัพย์   ชาติยิ่งอับจน สิ้นหนทาง  เห็นได้จากการร่างนโยบายขายชาติ ปล่อยเช่า99ปี  หรือการขายอสังหาริมทรัพย์ให้ต่างชาติมากเกินความจำเป็น เช่นปัจจุบัน ความเห็นของสมาชิก ขอคืนไม่ได้ขอทาน คุณสราวุธ หมวก...

หนังสือยื่นพรรคไทยสร้างไทย เรื่องขอ พ.ร.ก คืนเงินประกันสังคม

รูปภาพ
342 อ่อนนุช 10 สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 โทร.081 1717 456                                                                   มีนาคม 2565 เรื่อง การเสนอให้ออก พ.ร.ก. คืนเงินประกันสังคมฯ กราบเรียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยสร้างไทย จากที่เกิดวิกฤตของโรคระบาดโควิด 19 ในประเทศไทยเกือบ 2 ปี ซึ่งการระบาดของโรคทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจต่อประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในกลุ่มรากหญ้า ที่มีปัญหาในการทำงานหรือหาเงินเลี้ยงชีพในช่วงวิกฤตโรคระบาด และหลายคนเกิดหนี้สินจากการกู้ยืมจนกระทั่งตอนนี้ไม่มีหนทางดำเนินชีวิตเป็นปกติได้ หลายคนตกงานไม่สามารถกลับเข้าสู่การจ้างงานได้ปรารถนาอยากได้ทุนไปประกอบอาชีพด้วยตนเอง ประชาชนในกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ได้ส่งหรือเคยส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจนมีเงินเก็บเกือบทั้งชีวิตเป็นหลักแสนบาท ต้องการนำเงินส่วนนี้มาใช้ดำเนิน...

ร่าง พ.ร.ก. คืนเงินประกันสังคม (เงินสมทบชราภาพ)

รูปภาพ
ร่างพระราชกำหนดคืนเงินประกันสังคม (เงินสมทบชราภาพ ( พ.ร.ก. คืนเงินฯ) ฉบับนี้จัดทำเพื่อส่งให้กับนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลไทย มีอำนาจในการออกกฎหมายนโยบายเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาของผู้ประกันตนที่เดือดร้อนได้ทันท่วงทีกว่าการแก้ไขของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานผู้กำกับดูแลสำนักงานประกันสังคมที่กำลังทำอยู่แต่ไม่สามารถตอบสนองบรรเทาแก้ปัญหาของผู้ประกันตนที่มีอยู่กว่า 20 ล้านคนได้  -- มีนาคม 2564  ทำเนียบรัฐบาล ถึงนายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่อง การเสนอให้ออก พ.ร.ก. คืนเงินประกันสังคมฯ จากที่เกิดวิกฤตของโรคระบาดโควิด 19 ในประเทศไทยเกือบ 2 ปี ซึ่งการระบาดของโรคทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจต่อประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในกลุ่มรากหญ้า ที่มีปัญหาในการทำงานหรือหาเงินเลี้ยงชีพในช่วงวิกฤตโรคระบาด และหลายคนเกิดหนี้สินจากการกู้ยืมจนกระทั่งตอนนี้ไม่มีหนทางดำเนินชีวิตเป็นปกติได้ หลายคนตกงานไม่สามารถกลับเข้าสู่การจ้างงานได้ปรารถนาอยากได้ทุนไปประกอบอาชีพด้วยตนเอง ประชาชนในกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ได้ส่งหรือเคยส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจนมีเงินเก็บเกือ...

ข้อเสนอและเหตุผลการให้นายก ออก พ.ร.ก ของ นายนิพนธ์ วิบูลย์

รูปภาพ
เหตุผลที่ต้องให้นายกรีบออกพ.ร.ก. คืนเงินประกันสังคมให้กับแรงงานที่กำลังเดือดร้อนอย่างมากอยู่ในตอนนี้คือ....  1.เพราะตลอดระยะเวลา2ปีกว่าที่ผ่านมาแรงงานในประเทศไทยต่างได้รับผลกระทบจากโรคโควิดกันทั้งหมด มีทั้งตกงานและหรือยังมีงานทำอยู่แต่ก็โดนลดวันทำงานและลดเงินเดือนกันทั้งนั้นจึงทำให้คนทำงานเหล่านี้มีปัญหาที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายกันมา2ปีกว่าแล้ว ทำให้คนทำงานเหล่านี้ต่างมีหนี้สินกันมากขึ้นเพราส่วนใหญ่ต้องไปกู้เงินจากนายทุสเงินกู้ที่ต้องเสียดอกทุกเดือนจึงทำให้คนที่ยังมีงานทำอยู่ต่างมีหนี้สินกันมากมายและส่วนคนที่ตกงานเขายิ่งแย่ไปใหญ่บางคนต้องขายของที่ตัวเองมีออกไปเพื่อจะได้มีเงินมาเลี้ยงดูครอบครัวต่อไป ด้วยเหตุผลแบบนี้มันเพียงพอต่อการขอให้ออกพ.ร.กไหมแรงงานเขาแค่ม่ขอเงินประกันสังคมของตัวเองคืนเพื่อนำมาใช้หนี้และเลี้ยงดูครอบครัวเขาต่อไป เพราะรัฐบาลนี้ ไม่มีปัญญาช่วยแรงงานได้เลย   2.ส่วนเรื่องสัดส่วนของการคืนเงินประกันสังคมให้กับแรงงานในตอนนี้ควรจะมีการคืนให้กับแรงงาน50%รวมเงินของนายจ้างที่ส่งมาด้วย เพราะรัฐบาลนี้ปล่อยให้แรงงานต้องใช้ชีวิตกันอย่างลำบากกันมาถึง2ปีการที่จะทำเรื่อ...

ปี 2565 ผู้ที่เกษียณ ปีนี้ จะได้รับเงินชราภาพสูงสุดเท่าไหร่

รูปภาพ
ตามที่เรารู้กันว่ากฎหมายประกันสังคมมี 1 ใน 6 สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ที่ส่งเงินทบในสัดส่วนที่มากที่สุดคือ สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และทุกคนต่างเฝ้ารอวันที่จะได้เงินนั้นตอบแทน โดยกฎหมายกำหนดให้ คนที่ส่งไม่ถึง 180 เดือน ให้รับเป็นเงินก้อนเดียวที่เรียกว่า "บำเหน็จชราภาพ" ประกอบไปด้วยเงินสมทบส่วนชราภาพของตนเองและของนายจ้างถ้ามี พร้อมกับผลประโยชน์ของเงินชราภาพนั้น  คนที่ส่งตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไปจะได้รับเป็นเงินเท่าๆ กันทุกเดือนไปจนเสียชีวิต เรียกว่า "บำนาาญชราภาพ" คำนวนจากฐานเฉลี่ย 60 เดือนของเงินเดือนที่ส่งเงินสมทบคิดที่ 15,000 บาท โดยเริ่มให้ที่ 20% ของค่าเฉลี่ยหากส่งครบ 180 เดือน และส่วนที่ส่งเกินจะได้เพิ่ม ทุกๆ 12 เดือน 1.5%  ผู้ที่จะรับบำนาญชราภาพในปี 2565 อายุครบ 55 ปี บริบูรณ์และสิ้นสภาพจากผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ มาตรา 39  จะได้รับเงินบำนาญชราภาพสูงสุด 4,800 บาท โดยจะต้องส่งเงินสมทบในฐานเงินเดือน 15,000 บาท และจะต้องส่งเงินสมทบมาตั้งแต่ปี 2542 หรือก่อนหน้า คลิปอธิบายการคำนวณ วิธีการคำนวณเงินบำนาญชราภาพ คำถาม  สมาชิกที่ทำงาน ปี 2538 จะออกงาน มีนาคม 2565...