ม.33 การเบิกสิทธิประโยชน์ขาดรายได้กับ สปส. ในกรณีเจ็บป่วย และ กรณีกักตัวสัมผัส
ลูกจ้าง ม.33 กรณีขาดรายได้ (ติดโควิด-19)
นายจ้างต้องรับผิดชอบค่าจ้างให้ลูกจ้างโดยใช้สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 32 และมาตรา 57 ใช้สิทธิลาป่วยได้ 30 วัน/ปี หากหยุดเกิน 30 วัน ตามใบรับรองแพทย์และนำส่งเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือนใน15 เดือนก่อนเกิดเหตุ สามารถขอรับเงินชดเชยการขาดรายได้
โดยมีเอกสารประกอบการยื่นเรื่องคือ
1.แบบ สปส.2-01
2.ใบรับรองแพทย์ต้นฉบับ(สั่งให้หยุดพักรักษาตัว)
3.หนังสือรับรองนายจ้าง
4.สถิติวันลาป่วย ของปี
5.สำเนาบช.ธนาคารหน้าแรก
***ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนได้ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ จัดส่ง ปณ.
กรณีกักตัวไม่ได้รับค่าจ้าง
(ย้ำ...ต้องไม่ติดโควิด-19)
ให้นายจ้างยื่นในระบบ e-service และนำส่งแบบมาที่ประกันสังคม ได้รับ 50% ของค่าจ้างไม่เกิน 15,000
1.สปส.2-01/7
2.ใบรับรองแพทย์หรือหนังสือจากจนท.ควบคุมโรค ที่สั่งกักตัว
3.สำเนาบช.ธนาคารหน้าแรก
หากไม่มีข้อ 2 ให้ใช้ของผู้ติดเชื้อที่เราไปสัมผัสแทนได้ แต่ให้นายจ้างหมายเหตุมาเพิ่มด้วย
หมายเหตุ
อาจมีข้อยกเว้น ที่ลูกจ้างราชการอาจเบิกได้เลย ในกรณีราชการไม่อนุญาตให้ลาป่วยได้เงิน หรือ บางแห่งระบุให้ลาได้ 7 หรือ 14 วัน หรือแม้กระทั่งลูกจ้างรายวันเอกชน ที่อาจจะได้เงินจากวันที่มาทำงานเท่านั้น ก็อาจจะเบิกชดเชยการขาดรายได้ ม.33 ได้ เช่นกัน ควรปรึกษาสำนักงานประกันสังคม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น