13 คำถาม/คำตอบ เงินชราภาพประกันสังคม
คำถามคำตอบ สิทธิประโยชน์ชราภาพประกันสังคม จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทําไมต้องบังคับผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้ออมเงินชราภาพ
จากการศึกษาของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า โดยเฉลี่ยในภาพรวม ประเทศผู้ที่มีอายุมากกว่า 57 ปีจะมีภาระค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายรับ ในขณะที่ในช่วงอายุ 23 ถึง 57 ปี ประชาชนมีรายรับมากกว่ารายจ่าย ดังนั้นภาครัฐจึงควรสร้างกลไกการออมเงินในช่วงที่มี รายรับเหลือเพื่อในไปใช้ในช่วงที่รายรับในพอกับรายจ่าย
เงินสมทบกรณีชราภาพที่ผู้ประกันตนนําส่งเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นเงินออมรายบุคคลใช่ หรือไม่
กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพบริหารตามหลักการประกัน เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้า กองทุนเปรียบเสมือนเบี้ยประกัน เมื่อผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบตามระยะเวลาที่กําหนดคือ 15 ปี จะได้รับความคุ้มครองเป็นการประกันการอายุยืนหรือที่เรียกว่าบํานาญรายเดือนตลอด ชีวิต โดยกองทุนชราภาพบริหารแบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข นั่นคือ คนที่อายุสั้นช่วยคนอายุยืน ส่วน ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 15 ปี จะได้รับเงินสมทบในส่วนของตนเองและนายจ้างคืน พร้อมดอกผลที่ได้จากการลงทุน
เงินสมทบที่ผู้ประกันตนส่ง เข้ากองทุนอยู่ที่ไหน ดอกผลที่ลงทุนได้อยู่ที่ไหน มีการนําไปใช้จ่าย เป็นค่าบริหารจัดการสิ้นเปลืองหรือไม่
สํานักงานประกันสังคมแยกบริหารกองทุนชราภาพออกจากกองทุนสําหรับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ โดยไม่เคยคิดค่าบริหารจัดการจากกองทุนชราภาพแต่อย่างใด เงินสมทบสําหรับกรณีชราภาพทุก บาททุกสตางค์ทั้งในส่วนของผู้ประกันตน ของนายจ้าง และของรัฐบาล ถูกสะสมไว้ในกองทุกชรา ภาพ สํานักงานประกันสังคมบริหารเงินกองทุนโดยนําไปลงทุนตามกรอบที่คณะกรรมการ ประกันสังคมกําหนดเมื่อได้ผลตอบแทนก็รวมไว้ในกองทุนเพื่อนํามาใช้สําหรับจ่ายสิทธิประโยชน์ กรณชี ราภาพให้ผู้ประกันตนเท่านั้น
ทําไมต้องจ่ายเป็นบํานาญ
เนื่องจากคนเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าจะมีอายุถึงกี่ปี บางคนอาจอยู่ถึง 70 ปี บางคนถึง 80 ปี บางคนถึง 90 ปี ดังนั้นเราจึงไม่สามารถวางแผนการออมเงินให้พอใช้ไปตลอดชีวิตได้ ภาครัฐจึง สร้างระบบบํานาญหรือการประกันอายุยืนขึ้นเพื่อให้ผู้ประกันตนมีเงินรายเดือนใช้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะสําหรับคนที่มีอายุเกิน 80 ปี ไม่สามารถทํางานหารายได้เพิ่มเติมได้ หากไม่มีเงิน บํานาญแถมเงินออมหมดลงก็จะประสบกับความลําบากในการดํารงชีวิต
สูตรคํานวณบํานาญคิดอย่างไร
ผู้ประกันตนจะได้รับบํานาญเป็นสัดส่วนของค่าจ้างที่นําส่งเงินสมทบเฉลี่ย 60 เดือน (5 ปี) สุดท้าย โดยอัตราที่ได้รับเท่ากับ 20% + (1.5% คูณจํานวนปีที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี) เช่น กรณีที่ส่งเงินสมทบ 30 ปี ค่าจ้าที่นําส่งเงินสมทบเฉลี่ย 15,000 บาท จะได้รับบํานาญ 20% + (1.5% คูณ 15 ปี) = 42.5% คูณ 15,000 บาท = 6,375 บาทต่อเดือน
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับบํานาญไม่คุ้มค่า เพราะคํานวณจากค่าจ้าง 5 ปีสุดท้าย จะ แก้ไขอย่างไร
สํานักงานประกันสังคมได้ศึกษาแนวทางแก้ไขเรียบร้อยแล้ว โดยวิธีใหม่จะคํานวณบํานาญจาก ค่าจ้างเฉลี่ยตลอดระยะเวลาที่นําส่งเงินสมทบ ซึ่งเงินที่ส่งมาในอดีตจะถูกปรับจํานวนขึ้นตาม มูลค่าทางเศรษฐกิจให้เป็นค่าปัจจุบันก่อนนํามาเฉลี่ยเพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ประกันตน ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวเป็นที่นิยมใช้กนั ในเกือบทุกประเทศที่มีการประกันสังคม โดยจะทําควบคู่กับการ ปรับเพดานค่าจ้างทุกปีตามมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วย ดังนั้น สํานักงานประกันสังคมพร้อมปรับ สูตรบํานาญเพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 39 เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นและสามารถปรับเพดาน ค่าจ้างและฐานค่าจ้างของผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ได้ควบคู่กัน
ทําไมถึงกําหนดฐานค่าจ้างของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ไว้ที่ 4,800 บาท/เดือน และไม่มี การปรับปรุง
สํานักงานประกันสังคมกําหนดฐานค่าจ้างของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เมื่อพ.ศ. 2534 ตาม ค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ประกันตนมาตรา 33 ณ เวลานั้นซึ่งอยู่ที่ 4,800 บาท/เดือน อย่างไรก็ตาม ไม่ เคยมีการปรับปรุงเนื่องจากคณะกรรมการประกันสังคมเห็นว่าควรช่วยเหลือผู้ประกันตน ตาม มาตรา 33 ที่ต้องออกจากระบบมา ซึ่งในจํานวนนี้มีไม่น้อยที่ไม่สามารถนําส่งเงินสมทบตาม ค่าจ้างเฉลี่ยของมาตรา 33 ได้
ทั้งนี้เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น สํานักงานประกันสังคมจะเสนอปรับปรุงฐานค่าจ้างของผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 ควบคู่กับการปรับปรุงเพดานค่าจ้างของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เพื่อให้สอดคล้อง กับความเป็นจริง
เงินสมทบกรณีชราภาพเป็นเงินเท่าใด รัฐบาลมีส่วนร่วมส่งเงินสมทบหรือไม่
ผู้ประกันตนและนายจ้างส่งเงินสมทบเพื่อรับความคุ้มครองกรณีชราภาพฝ่ายละ 3% (จาก ทั้งหมดฝ่ายละ 5%) รัฐบาลส่งเงินสมทบกรณีชราภาพและสงเคราะห์บุตรรวมกัน 1% (จาก ทั้งหมด 2.75%) โดยเฉลี่ยมีเงินสมทบกรณชี ราภาพจากรัฐบาลหลังหักค่าใช้จ่ายสําหรับประโยชน์ ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรแล้วเหลือประมาณปีละ 0.4% ซึ่งสํานักงานประกันสังคมได้นําไป ลงทุนและสํารองไว้จ่ายบํานาญให้แก่ผู้ประกันตน ส่วนกรณีที่ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบไม่ครบ ตามระยะเวลาที่กําหนดคือ 15 ปี จะได้รับบําเหน็จเป็นเงินก้อนจ่ายครั้งเดียวที่คํานวณเฉพาะจาก เงินสมทบผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเข้ามาพร้อมดอกผลเท่านั้น
รวมแล้วส่งเงินสมทบชราภาพเท่าไร รับบํานาญคุ้มหรือไม่
ยกตัวอย่าง กรณีส่งเงินสมทบตั้งแต่เริ่มทํางานอายุ 25 ปี ทํางานจนถึงอายุ 55 ปี เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยมีค่าจ้างที่นําส่งเงินสมทบเดือนละ 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะส่งเงินสมทบกรณีชรา ภาพทั้งหมด 3% * 15,000 บาท * 30 ปี * 12 เดือน = 162,000 บาท เมื่อรวมกับเงินสมทบ นายจ้างด้วยจะคิดเป็นเงิน 324,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมผลตอบแทนในการลงทุนที่สํานักงาน ประกันสังคมทําได้ กองทุนชราภาพจะมีเงินที่เกิดจากผู้ประกันตนดังกล่าวประมาณ 500,000 – 600,000 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราผลตอบแทนการลงทุนที่ทําได้ ประมาณ 3.5% - 4%)
ในกรณีดังกล่าว ผู้ประกันตนจะได้รับบํานาญ 6,375 บาทต่อปี หรือปีละ 76,500 บาท เมื่อผ่าน ไป 8 ปีจะได้รับบํานาญรวม 612,000 บาท กล่าวคือหากผู้ประกันตนมีอายุมากกว่า 55 + 8 = 63 ปี จะได้รับบํานาญมากกว่าเงินสมทบทั้งหมดที่กองทุนได้รับรวมดอกผล
กรณีเสียชีวิตเร็ว หากบํานาญจะไม่คุ้มใช่หรือไม่
กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพเป็นกองทุนที่ประกันรายได้ยามชรา จึงมีทั้งผู้ที่คุ้มเนื่องจาก อายุยืน และผู้ที่ไม่คุ้มเนื่องจากเสียชีวิตเร็ว อย่างไรก็ตาม สํานักงานประกันสังคมได้ปรับแก้ กฎหมายในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ให้มีการประกันว่าผู้ประกันตนจะได้รับบํานาญรายเดือนขั้น ต่ําไม่น้อยกว่า 5 ปี ดังนั้น หากผู้ที่รับบํานาญแล้วเสียชีวิตก่อนรับบํานาญครบ 5 ปี ทายาทของ ผู้ประกันตนจะได้รับส่วนต่างจนครบ 5 ปี
ทําอย่างไรให้ได้บํานาญมากขึ้น
ผู้ประกันตนสามารถได้รับบํานาญรายเดือนมากขึ้นได้โดยการต่ออายุการทํางาน โดยทุก ๆ ปีที่ นําส่งเงินสมทบเพิ่มจะได้รับบํานาญเพิ่ม 1.5% ของค่าจ้างที่นําส่งเงินสมทบ เช่น ผู้ที่เลื่อน กําหนดการเกษียณอายุของตนออกไปเป็น 60 ปีแทนที่จะเกษียณเมื่ออายุ 55 ปี จะได้รับบํานาญ เพิ่มขึ้น 1.5% คูณ 5 ปี = 7.5% ของค่าจ้าง
นอกจากนี้ สํานักงานประกันสังคมมีนโยบายที่จะปรับเพิ่มเพดานค่าจ้างจาก 15,000 บาท/เดือน เป็น 20,000 บาท/เดือน เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทําให้ผู้ประกันตนที่มีค่าจ้างมากกว่า 20,000 บาทได้รับบํานาญมากขึ้น เนื่องจากคํานวณจากค่าจ้าง 20,000 บาทแทนการคํานวณจากค่าจ้าง ที่ 15,000 บาท และผู้ประกันตนที่มีค่าจ้างมากกว่า 15,000 บาทแต่ไม่ถึง 20,000 บาทจะได้รับ บํานาญมากขึ้นตามค่าจ้างจริง ทั้งนี้ ผู้ที่มีค่าจ้างไม่ถึง 15,000 บาทจะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากการปรับเพิ่มเพดานค่าจ้าง ทั้งในด้านการนําส่งเงินสมทบหรือสิทธิประโยชน์บํานาญที่จะ ได้รับ
ทําไมประกันสังคมถึงเคยเสนอให้ขยายอายุเกษียณเป็น 60 ปี
ประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุมากขึ้น เนื่องจากคนมีอายุยืนขึ้น ในขณะที่ประชากรเกิดใหม่ ลดลง ส่งผลให้วัยแรงงานลดลง การขยายอายุเกิดสิทธิรับบํานาญจึงเป็นทั้งนโยบายด้านแรงงาน และด้านการบริหารกองทุน เพื่อรักษาสมดุลระหว่างช่วงวัยทํางาน และช่วงวัยเกษียณอายุ และ รักษาสมดุลทางเศรษฐกิจระหว่างจํานวนผู้ทํางานและจํานวนผู้เกษียณอายุ โดยอายุที่มีสิทธิรับ บํานาญชราภาพที่ 55 ปี นั้น ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันเป็นอายุที่ต่ําที่สุดในโลก โดยเกือบ ทุกประเทศทั่วโลกในปัจจุบันกําหนดอายุที่มสี ิทธิรับบํานาญชราภาพไว้ไม่ต่ํากว่า 60 ปี จึงถึงเวลา แล้วทปี่ระเทศไทยจะต้องทบทวนเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม การขยายอายุที่มีสิทธิรับบํานาญชราภาพจากกองทุนประกันสังคมจะต้อง ดําเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตนที่ใกล้เกษียณอายุ และ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบในช่วงนี้ที่เศรษฐกิจไม่ดีเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 สํานักงาน ประกันสังคมได้ถอนเรื่องการขยายอายุเกิดสิทธิรับบํานาญชราภาพออกจากการเสนอขอแก้ไข พระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับที่ 5 แล้ว เพื่อนํากลับมาศึกษาเพิ่มเติมและปรับปรุงแก้ไขให้ เหมาะสมกับบริบทในปัจจุบัน
ตอนนี้ผู้ประกันตนเดือดร้อน จะขอนําเงินชราภาพมาใช้ก่อนอายุครบ 55 ปีได้หรือไม่
สํานักงานประกันสังคมเป็นหน่วยงานของภาครัฐมีหน้าที่ดําเนินการตามอํานาจทางกฎหมาย ทั้งนี้ เจตนารมณ์ของกฎหมายกรณีชราภาพได้กําหนดไว้ให้เป็นการประกันรายได้ในวัยเกษียณ ซึ่งหากนําออกมาใช้ก่อนจะทําให้รายได้ในวัยเกษียณลดลงจนอาจส่งผลต่อการดํารงชีวิตของ ผู้ประกันตนได้ และขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย
สํานักงานประกันสังคมรับฟังความคิดเห็น ความเดือดร้อนของผู้ประกันตน และได้เสนอแก้ไข กฎหมายแล้ว แต่เนื่องจากเป็นการแก้ไขเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งมีขั้นตอนทางกฎหมายและ มหีน่วยงานที่เกี่ยวข้องจํานวนมากจึงต้องใช้เวลาในการดําเนินการ
ผู้ประกันตนเดือดร้อนจาก COVID-19 ทําไมประกันสังคมไม่ช่วยอะไรเลย
สํานักงานประกันสังคมช่วยเหลือผู้ประกันตนมาโดยตลอดตามอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายที่ สามารถดําเนินการได้ ยกตัวอย่าง เช่น
▪ดูแลผู้ประกันตนและสถานประกอบการให้ปลอดภัยจาก COVID-19 ทั้งการเข้าฉีดวัคซีน การเข้าตรวจเชิงรุก และการให้บริการรักษาพยาบาลฟรี โดยกองทุนประกันสังคมเป็น ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ Hospitel เพื่อให้ผู้ประกันตนที่ไม่สะดวกใน การกักตัวที่บ้านสามารถรับบริการในโรงพยาบาลสนาม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถานพยาบาลในเครือข่ายของสํานักงานประกันสังคมและโรงแรมได้
▪ เพิ่มสิทธิประโยชน์ว่างงานในช่วง COVID-19 โดยเพิ่มอัตราที่จ่าย ระยะเวลาที่จ่าย และ ประเภทที่จ่าย คือเพิ่มสิทธิกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
▪ ลดเงินสมทบให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 และนายจ้าง ในช่วง สถานการณ์ COVID-19 รวมเป็นเงินกว่า 140,000 ล้านบาท
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น