คลอดบุตร ยกร่างกฎหมายประกันสังคม

 

นอกจากเรื่องแก้ไข พระราชบัญญัติประกันสังคมในส่วนสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพแล้ว 

สปส. เดินหน้าแก้กฎหมาย สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร

“เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร”

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการติดตามการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้นายจ้างและสำนักงานประกันสังคมร่วมกันจ่ายค่าจ้างให้ครอบคลุมวันลาทั้งหมด 98 วัน ซึ่งขณะนี้ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเสนอปรับแก้ไขกฎหมายการจ่ายเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรให้แก่ลูกจ้าง/ผู้ประกันตน โดยเร็วต่อไป

นายบุญสงค์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับความคืบหน้าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวว สำนักงานประกันสังคม เสนอแก้ไขกฎหมายในกรณีคลอดบุตร (เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร) ดังนี้

- กฎหมายเดิม กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ให้ผู้ประกันตนหญิงลาคลอดได้ 90 วัน โดยรับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน ในอัตรา 100% ของค่าจ้าง และสำนักงานประกันสังคมจ่ายเพิ่มอีก 50%

ของค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน เช่น ฐานค่าจ้าง 15,000 บาท จะได้รับ 22,500 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับค่าคลอดบุตร 15,000 บาท ผู้ประกันจะได้รับทั้งสิ้น 37,500 บาท

- กฎหมายใหม่ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ให้ผู้ประกันตนหญิงลาคลอดได้ 98 วัน โดยรับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน ในอัตรา 100% ของค่าจ้าง และสำนักงานประกันสังคมจ่ายเพิ่มอีก 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 98 วัน เช่น ฐานค่าจ้าง 15,000 บาท จะได้รับ 24,500 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับค่าคลอดบุตร 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับทั้งสิ้น 39,500 บาท


“ขณะนี้ การดำเนินการของสำนักงานประกันสังคมอยู่ในขั้นตอนการเสนอร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคม พร้อมร่วมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล และให้ความสำคัญในการมุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตแก่พี่น้องผู้ประกันตนทุกกลุ่มให้เข้าถึงหลักประกันสังคม เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงานประกันสังคมได้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ กองทุนประกันสังคม โดยเพิ่มค่าคลอดบุตรจากเดิม 13,000 บาท เพิ่มเป็น 15,000 บาท เงินสงเคราะห์บุตรจากเดิมเดือนละ 600 บาท เพิ่มเป็นเดือนละ 800 บาท ค่าฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ จากเดิม 1,000 บาท เพิ่มเป็น 1,500 บาท รวมทั้งการตรวจสุขภาพ ตรวจสุขภาพเต้านม ตรวจมะเร็งปากมดลูกฟรีให้แก่ผู้ประกันตนและการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกรณีวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพื่อการคุ้มครองดูแลแรงงานสตรีให้เข้าถึงหลักประกันทางสังคม” นายบุญสงค์ กล่าวในตอนท้าย



----------------------------------------------

ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563