เบิกค่าขาดรายได้ มาตรา 39

ผู้ประกันตน มาตรา 39 (ประกันตนเอง)

           ต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน (ส่งติดต่อกันหรือไม่ก็ได้) ก่อนเดือนที่เจ็บป่วย และแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว


ผู้ประกันตน มาตรา 39


จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง คิดจากฐานเงินเดือน 4,800 บาท เท่ากับจะได้วันละ 80 บาท (จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน)

แต่ถ้าผู้ประกันตน มาตรา 39 ไม่ได้ทำงานกับนายจ้าง หรือไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพ จะไม่สามารถเบิกสิทธิ์เงินทดแทนการขาดรายได้จากประกันสังคมได้


สำหรับผู้มีสิทธิ์รับเงิน เมื่อรักษาตัวจนหายป่วยดีแล้วสามารถติดต่อขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่ง ทั่วประเทศ โดยเตรียมเอกสาร ดังนี้


- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส.2-01

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน


- ใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลที่รักษา หรือบันทึกภาพหน้าจอจากแอปพลิเคชันไลน์หรือโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับสถานพยาบาล 


- สำเนาเวชระเบียนที่ได้จากการบันทึกหน้าจอแอปพลิเคชันไลน์หรือโปรแกรมอื่น ๆ โดยต้องระบุวันที่เริ่มรักษา จนสิ้นสุดการรักษา รวมถึงการให้หยุดพักรักษาตัวต่อเพื่อใช้ประกอบการเบิกเงินค่าทดแทนการขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม


- สำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล)


- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตนค่ะ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563