ร่าง พ.ร.ก. คืนเงินประกันสังคม (เงินสมทบชราภาพ)


ร่างพระราชกำหนดคืนเงินประกันสังคม (เงินสมทบชราภาพ ( พ.ร.ก. คืนเงินฯ) ฉบับนี้จัดทำเพื่อส่งให้กับนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลไทย มีอำนาจในการออกกฎหมายนโยบายเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาของผู้ประกันตนที่เดือดร้อนได้ทันท่วงทีกว่าการแก้ไขของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานผู้กำกับดูแลสำนักงานประกันสังคมที่กำลังทำอยู่แต่ไม่สามารถตอบสนองบรรเทาแก้ปัญหาของผู้ประกันตนที่มีอยู่กว่า 20 ล้านคนได้ 

-- มีนาคม 2564 

ทำเนียบรัฐบาล

ถึงนายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

เรื่อง การเสนอให้ออก พ.ร.ก. คืนเงินประกันสังคมฯ

จากที่เกิดวิกฤตของโรคระบาดโควิด 19 ในประเทศไทยเกือบ 2 ปี ซึ่งการระบาดของโรคทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจต่อประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในกลุ่มรากหญ้า ที่มีปัญหาในการทำงานหรือหาเงินเลี้ยงชีพในช่วงวิกฤตโรคระบาด และหลายคนเกิดหนี้สินจากการกู้ยืมจนกระทั่งตอนนี้ไม่มีหนทางดำเนินชีวิตเป็นปกติได้ หลายคนตกงานไม่สามารถกลับเข้าสู่การจ้างงานได้ปรารถนาอยากได้ทุนไปประกอบอาชีพด้วยตนเอง ประชาชนในกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ได้ส่งหรือเคยส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมจนมีเงินเก็บเกือบทั้งชีวิตเป็นหลักแสนบาท ต้องการนำเงินส่วนนี้มาใช้ดำเนินชีวิต หรือนำไปปลดหนี้สินให้เป็นไท มีผู้ประกันตนเรียกร้องมาตั้งแต่ช่วงเริ่มของการระบาดโรค ปรากฎว่าทั้งสำนักงานประกันสังคม และกระทรวงแรงงานได้รับเข้ามาดูแลและดำเนินการแต่ก็พบว่าแม้มีกระบวนการที่จะแก้ไขยกร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคมหรือ แม้จะตรากฎกระทรวง แต่ก็พบว่ากระบวนการดังกล่าวยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร และการแก้ไข พ.ร.บ. ยังคงต้องใช้เวลาอีกนานมากจึงจะทำให้ผู้ประกันตนเข้าถึงเงินสะสมของตนเองได้ เหตุนี้จึงขอเสนอให้นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจของนายกตามกฎหมาย ออก พ.ร.ก. คืนเงินประกันสังคม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนที่ตกอยู่ในความทุกข์จากปัญหาการเงินและการเข้าถึงเงินของตนเองได้เร็วที่สุด อันจะเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยในช่วงที่การระบาดโควิดจะทุเลาลงทำให้ผู้ประกันตนกว่า 20 ล้านคนก้าวผ่านวิกฤตนี้จนทำให้เศรษฐกิจไทยก้าวหน้าได้

โดยขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาออก พ.ร.ก. คืนเงินผู้ประกันตนดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) ผู้ประกันตนที่ลาออกหรือสิ้นสภาพผู้ประกันตนสามารถเบิกเงินสมทบชราภาพคืนทั้งหมดพร้อมกับดอกผลโดยไม่ต้องรอ ครบ อายุ 55 ปี บริบูรณ์

2) ผู้ประกันตนในระบบปัจจุบันให้กำหนดคืนเงิน 30% ของเงินสมทบทั้งหมด โดยผู้ประกันตนที่รับเงิน 30% คืนเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จะสามารถรับเงินส่วนที่เหลือในรูปแบบบำเหน็จชราภาพเท่านั้น ส่วนผู้ที่ไม่ขอรับเงินคืนสามารถที่จะเลือกรับเงินในรูปแบบบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพได้ตามกฎหมาย

3) บุคคลที่มีสิทธิในการรับเงินคืนนอกจากข้อ 1 และ ข้อ 2 แล้ว (ผู้ประกันตนในระบบและผู้สิ้นสภาพที่มีเงินสะสมชราภาพ) ยังให้รวมผู้ที่รับบำนาญชราภาพอยู่โดยสามารถมาขอรับเงินคืนทั้งหมดโดยหักเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับแล้ว โดยจะได้รับตามส่วนของเงินบำเหน็จชราภาพและดอกผลคำนวณ ณ วันที่ยื่นขอเงินชราภาพคืนและยินยอมสละสิทธิในบำนาญชราภาพ

ทางกลุ่มเชื่อว่าข้อเสนอให้ออก พ.ร.ก. คืนเงินฯ นี้ถ้าท่านนายกรับพิจารณาจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนได้ และจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนไปได้อย่างดี

ขอแสดงความนับถือ

บูรณ์ อารยพล




ร่างฉบับนี้เป็นร่างที่ได้รวบรวมมาจากสมาชิกกลุ่มและเพจขอคืนไม่ได้ขอทานที่มีสมาชิกกว่า 40,000 คน เพื่อรวบรวมความความเดือดร้อนจำเป็นและความคิดเห็นและสิ่งที่ต้องการในร่าง พ.ร.ก. คืนเงินฯ เพื่อส่งให้ ดร.โภคิน พลกุล และทีมนโยบายพรรคไทยสร้างไทยช่วยในการเรียกร้องให้นายกฯ ออก พ.ร.ก. คืนเงินฯ ฉบับดังกล่าวให้เป็นจริง


ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ร่วมกันแสดงความเห็นครับ 

https://www.facebook.com/groups/244623610094315/permalink/658047995418539/

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563