บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2021

ธค. 2564 นี้ เตรียม รอข่าวดี ค.ร.ม. เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม

รูปภาพ
ตามกรอบเวลาปรับปรุง 16 พ.ย. 2564  ร่างแก้พระราชบัญญัติประกันสังคม (พ.ร.บ.) ในเดือน ธ.ค. 2564 ทางกระทรวงแรงงาน จะนำเข้าที่ประคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีมตินำร่าง พ.ร.บ. เข้าสู่กระบวนการแก้ไขกฎหมายโดย ค.ร.ม.เป็นผู้เสนอเข้าสู่รัฐสภาพตามกระบวนการทางนิติบัญญัติต่อไป  โดยจะมีแก้ไขปรับปรุงทั้งในส่วน สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ที่ทาง กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน โดย หมอบูรณ์ รณรงค์มากกว่า 1 ปี ในส่วนของการเข้าถึงสิทธิก่อน อายุ 55 ปี ในแบบการให้ กู้หรือยืม การ ให้คืนบางส่วน และ การให้สิทธิ เลือกรับเงินคืนรูปแบบเงินบำเหน็จเงินก้อนครั้งเดียว หรือเงินบำนาญรายเดือนตลอดชีพ ได้ตามชอบ นอกจากนี้ยังมีการ แก้ไขและเพิ่มเติมข้อกฎหมายอื่นๆ อีกด้วย รายละเอียดตามที่ได้เขียนบทความไปแล้ว เรามาช่วยลุ้นกันว่าในเดือน "ธันวาคม" นี้ทาง กระทรวงแรงงานจะนำร่างกฎหมายนี้เสนอเข้าคณะรัฐมนตรีได้ตามกรอบเวลาหรือไม่ และคณะรัฐมนตรีจะมีมติออกมาอย่างไร  แล้วคณะกรรมการสำนักงานกฤษฎีกาจะได้ไปพิจารณาในเดือน ธันวาคม 2564 นี้ 

ข้อแก้ไข พ.ร.บ. ประกันสังคม ที่ไม่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทนแทนกรณีชราภาพ

รูปภาพ
การแก้ไขกฎหมายประกันสังคมล่าสุดนี้ นอกจากข้อเรียกร้องใน 3 ขอ ที่เกี่ยวกับเงินชราภาพแล้ ว คือ ขอคืนเงินชราภาพบางส่วน ขอกู้เงินชราภาพตนเอง และขอเลือกที่จะรับบำเหน็จหรือบำนาญได้ตามชอบ พบว่าอาจจะมีการ " แก้ไขกำหนดการเข้าถึงเงินชราภาพของผู้ประกันตนที่เคยกำหนดไว้ที่อายุ 55 ปีบริบูรณ์ เป็น 60 ปีบริบูรณ์"  แทน ซึ่งผู้ประกันตนมองว่าเป็นการ สอดไส้  ข้อกฎหมายที่ ผู้ประกันตนไม่ต้องการ เข้ามานอกจากนี้อาจจะมีการกำหนดหรือแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติประกันสังคมในประเด็นดังต่อไปนี้  แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขของการเป็นผู้ประกันตนของมาตรา 33 และ มาตรา 39 ตามมาตรา 33 โดยการขยายอายุขั้นสูง ไม่เกิน 65 ปี หรืออายุขั้นสูงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 33) ตามมาตรา 39 จะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 48 เดือน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 39 วรรคหนึ่ง) แก้ไขการคำนวณเงินเพิ่มค้างชำระเงินสมทบของผู้ ประกันตนตามมาตรา 39 โดยเงินเพิ่ม จำต้องไม่เกินเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องจ่าย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 39 วรรคสี่) แก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรต่อไปอีก 6 เ...

สรุปทุกอย่างที่เกี่ยวกับเงินชราภาพ ที่จะแก้ไขในร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม

รูปภาพ
แก้ไขสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพรอบล่าสุดนี้ จะมีสาระสำคัญใดบ้าง? มาตรา 77 ทวิ แก้ได้ซับซ้อนมาก โดยจะแก้ไข ขยับอายุรับชราภาพจาก 55 ปี เป็น 60 ปีบริบูรณ์    (ยืดขยาย) สำนักงานประกันสังคมมีสิทธิหักเงินของผู้ประกันตนที่เสียชีวิต เพื่อชำระหนี้สิน ก่อนที่จะจ่ายให้กับทายาทตาม มาตรา 77 จัตวา ได้ ( ส่วนนี้คือการเข้าถึงโดยการกู้ยืม )  ผู้ที่รับบำนาญชราภาพ สามารถสมัคร ม.39/1 ได้รับสิทธิ 3 อย่าง (เจ็บ/ป่วย, ทุพพลภาพ และเสียชีวิต)  แก้ให้ คนงานต่างชาติ เบิกเงินบำเหน็จชราภาพเมื่อออกไปและจะไม่กลับมาในไทยได้เลย ด้วย  เบิกบำนาญล่วงหน้าได้ คืนเงินชราภาพ บางส่วนได้  และที่สำคัญจะให้ผู้ประกันตนสามารถ เลือกรับเงินชราภาพบำเหน็จหรือบำนาญได้  แก้ไข พรบ. ประกันสังคม อัพเดท 23 พย. 64 https://youtu.be/ty4xsuWLP3s

พ่ออายุ 73 ทำงานแล้วประสบอุบัติเหตุโดนรถชนขาหัก เบิกประกันสังคมอะไรได้บ้าง

รูปภาพ
ถาม  เรียนสอบถามค่ะ พอดีพ่ออายุ 73 ทำงานแล้วประสบอุบัติเหตุไปทำงานแล้วโดนรถชนจนขาหัก ขณะนี้พักรักษาตัว ถ้าสมมุติว่าพ่อกลับไปทำงานไม่ได้เราต้องดำเนินการยังไง ถ้าต้องการประกันตนในกรณีนี้เราจะได้อะไรจากประกันสังคมบ้างค่ะ  ตอบ ถ้าอุบัติเหตุเกิดจากการทำงาน หรือขณะปฏิบัติหน้าที่ เบิกค่าใช้จ่ายกองทุนเงินทดแทน  ถ้าเกิดไม่ได้เกิดเหตุข้างต้น เบิกจากกองทุนประกันสังคม ซึ่งทั้ง 2 กองทุนดูแลด้วยสำนักงานประกันสังคม  ส่วนค่าขาดรายได้ ทำงานไม่ได้ 30 วันแรกให้นำใบรับรองแพทย์ เบิกกับนายจ้าง หลังจากนั้นเบิกตามกฎหมายได้กับ ประกันสังคม ซึ่งก็แตกต่างกันตามว่าเกิดจากการทำหรือไม่ หากทุพพลภาพเบิกประกันสังคมเช่นกัน โดยจากกองทุนประกันสังคมเบิกสิทธิประโยชน์ทุพพลภาพแบ่งเป็นจากกองทุนประกันสังคมได้ 50%  นาน 15 ปี หรือ จากกองทุนเงินทดแทนสูงสุด 70% เมื่อทุพพลภาพ จะได้เงินสมทบคืนในส่วนของเงินชราภาพทั้งหมดพร้อมผลประโยชน์ในรูปบำเหน็จชราภาพ และค่าเดินทางไปหาแพทย์ตามกำหนด  อีกทั้งไม่ต้องส่งเงินสมทบต่อ ก็ได้สิทธิคุ้มครองการเสียชีวิต ครับ  หมายเหตุ นายจ้างต้องมีการส่งเงินสมทบโดยหักเงินเดือนลู...

นายจ้างหักเงินลูกจ้าง แต่ไม่นำส่งเงินส่งทบกับประกันสังคม

รูปภาพ
ปัญหานายจ้างหักเงินเดือนพนักงานเพื่อส่งเงินสมทบประกันสังคมแต่หักไม่ถูกต้อง หรือหักแล้วไม่นำส่งเงินที่หักให้กับพนักงาน ยังพบอยู่เสมอๆ เพื่อนๆ ว่าควรจะแก้อย่างไร  สำหรับส่วนตัวพี่หมอแนะนำว่าเริ่มผู้ประกันตน ควรโหลดโปรแกรม SSO CONNECTI มาเช็ครายการนำส่งทุกเดือนๆ ละครั้ง เพื่อตรวจสอบว่ายอดที่รายงานกับยอดเงินสมทบที่ถูกหักจากนายจ้างตรงกันหรือไม่ นอกจาก ม.33 ที่ควรเช็คแล้ว ม.39 ที่ส่งเงินสมทบด้วยวิธีตัดเงินในบัญชีเงินฝากก็ควรตรวจสอบด้วยเพราะอาจเกิดจากเงินในบัญชีไม่เพียงพอก็อาจจะพลาดชำระเงินสมทบได้ และจะเกิดเบี้ยปรับจนถึงสิ้นสภาพผู้ประกันตนเลย รวมถึง ม.40 ก็เช็คได้ว่าตอนนี้ชำระขาดหรือชำระล่วงหน้าไปกี่เดือนแล้วเป็นต้น   ล่าสุดทางประกันสังคมเตรียมออกกฎหมายกำหนดโทษนายจ้างที่กระทำผิดดังกล่าว รอคงต้องมาคอยดูกฎหมายว่าจะช่วยลดปัญหานี้ได้หรือไม่ ? 

เกษียณอายุงานกับเข้าถึงสิทธิเงินชราภาพต่างกัน

รูปภาพ
เกษียณอายุงานกับเข้าถึงสิทธิเงินชราภาพต่างกัน อย่างไร? 1)เกษียณคือเป็นลูกจ้างหมดสัญญาจ้าง นายจ้างมีหน้าที่ชดเชยลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งกฎหมายแรงงานระบุไว้ที่ 60 ปี  2)เข้าถึงสิทธิเงินชราภาพในประกันสังคม ม.33 และ ม.39 กำหนดไว้ 55 ปี ส่วน มาตรา 40 กำหนดไว้ 60 ปี  ทั้งสองส่วนไม่เกี่ยวข้องกัน ปลายปี 2560  มีคนทำประชาพิจารณ์เห็นชอบขยายอายุ จาก 55 เป็น 60 ปี คงสับสนใน 2 ประเด็นดังกล่าว เหตุผลเท่าที่อ่านพบคือ ขยายอายุเหมือนนานาชาติ และ บอกว่าลูกจ้างจะได้บำนาญเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับอายุการเข้าถึงเงินชราภาพที่ 55 ปี เพราะถ้าลูกจ้างอายุ 55 ปี และปรารถนาจะทำงานต่อไปกับนายจ้าง ลูกจ้างก็จะได้โบนัสจากเพิ่มขึ้น 1.5% ต่อ 1 ปี ที่เกินจาก 55 ปี อยู่แล้ว โดยไม่มีความจำเป็นต้องขยายอายุเข้าถึงเงินชราภาพแต่อย่างใด  ซึ่งมีก็เพียงข้อที่ กฎหมายประกันสังคมกำหนดให้ผู้ที่ตกงานออกจาก มาตรา 33 ในวันที่ อายุ 55 ปีขึ้นไป ไม่สามารถรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ แต่ให้ไปรับสิทธิทดแทนกรณีชราภาพแทน  ซึ่งบางท่านที่ส่ง ม.33  มาไม่ถึง 180 เดือนก็จะได้เงินบำเหน็จโดยไม่ได้เงินว่างงาน แล...

เงื่อนไขที่ยากขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39

รูปภาพ
สิ่งที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในระบบประกันสังคมเร็วๆ นี้ คือผู้ที่ต้องการสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ภาคสมัครใจ ที่เคยเป็นลูกจ้างลาออกมาประกอบอาชีพอิสระ ต้องมีคุณสมบัติคือต้องเคยถูกนายจ้างหักเงินเดือนส่งเงินสมทบในฐานะผู้ประกันตนมาตรา 33 มาแล้วอย่างน้อย 4 ปี หรือ 48 เดือน  อยากถามความเห็นของสมาชิกว่าท่านเห็นด้วยหรือไม่ ช่วยทำแบบสอบถาม  และถ้าท่านมีคุณสมบัติดังกล่าวคือถูกหักมาส่งเกิน 48 งวดท่านจะสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตราดังกล่าวหรือไม่ และท่านกังวลเรื่องเงินบำนาญชราภาพที่จะลดลงจากฐานเงินเดือนที่กำหนดให้ของมาตรา 39 ที่ 4,800 บาท หรือไม่? อย่างไร? 

มาตรา 39/1 แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม มาตราใหม่ล่าสุด สำหรับผู้รับบำนาญชราภาพ

รูปภาพ
กฎหมายที่เตรียมใหม่ล่าสุด ม. 39/1 แห่ง พ.ร.บ. ประกันสังคม มาตราใหม่ล่าสุด สำหรับผู้รับบำนาญชราภาพ จากการที่เคยมีผู้ประกันที่รับเงินชราภาพไปแล้ว ทำให้หมดสิทธิประโยชน์รักษาพยาบาล อันทำความยุ่งยากลำบากในการรักษาพยาบาล ตอนนี้ทางสำนักงานประกันสังคมได้ร่างกฎหมายที่กำลังจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมเข้าสู่รัฐสภา  คลิปสั้นๆ ความเห็น ม.39/1 นั้นดีจริงๆ  https://youtube.com/shorts/J0YpjyKqam8?feature=share กำหนดให้ผู้รับบำนาญชราภาพประกันสังคม สามารถกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39/1 โดยมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ  กรณีตาย ถ้าคุณเป็นผู้รับที่จะรับหรือกำลังรับบำนาญชราภาพคุณจะสมัครหรือไม่   ช่วยกันทำแบบสอบถามเกี่ยวกับ จะสมัครหรือไม่สมัคร ม.39/1 

ใครได้ประโยชน์จากการขยายอายุรับเงินชราภาพ จาก 55 ปี เป็น 60 ปี บริบูรณ์

รูปภาพ
จริงหรือไม่ ? ที่จะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม ขยายอายุเข้าถึงสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเป็น 60 ปี บริบูรณ์  จากที่หมอบูรณ์ได้ข้อมูลจากแหล่งข่าว พบว่าจะมี การยื่นแก้ไข พรบ. ประกันสังคม ในเดือนธันวาคม 2564 ให้กับทาง คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบ เพื่อแก้ไขและยื่นเข้าสู่กระบวนการแก้ไขกฎหมายทางรัฐสภาต่อไป  โดยพบว่านอกจากที่จะมีการยื่นแก้ไขในส่วนที่มีการเรียกร้องในส่วนของ กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน แล้ว  ยังมีการปรับปรุงแก้ไขในส่วนของอายุ ผู้ที่จะรับเงินชราภาพ จาก 55 ปี เป็น 60 ปีบริบูรณ์  ซึ่งเมื่อ หมอบูรณ์ อ่านบทสรุปก็เกิดคำถามขึ้นมา ว่าเหตุใดจึงจะแก้ไขพระราชบัญญัติในส่วนของอายุตรงนี้ เนื่องจากผู้ประกันตนส่วนใหญ่น่าจะไม่เห็นชอบการแก้ไขตรงนี้ จึงลองทำแบบสอบถามขึ้นในกลุ่ม  วันจันทร์หรือภายในสัปดาห์หน้าจะพยายามขอความกระจ่างกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่น่ารักใน สปส. หรือ ก.รง. เพื่อทำความเข้าใจและเพื่อแจ้งกับ สมาชิกกลุ่มขอคืนฯ ต่อไป  ซึ่งปรากฎว่าส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบด้วย ด้วยความประหลาดใจ จึงได้ทำการค้นข้อมูลพบว่า แนวความคิดขยายอายุรับเงินชราภาพเป็น 60 ปี ไม่ได้เริ่มเกิดข...

ส่ง ม.33 มา 18 ปี ออกงานมาสมัคร 39 ส่งได้ 5 ปี ปีหน้าอายุครบ 55 เงินบำนาญ ม.39 น้อยมาก

รูปภาพ
ข้อแนะนำในความคิดหมอบูรณ์ต่อกรณี ส่ง ม.33 มา 18 ปี ออกงานมาเลยสมัคร ม. 39 ส่งได้ 5 ปี ปีหน้าอายุครบ 55 เงินบำนาญ ม.39 น้อยมาก ( คลิปอธิบายเงินบำนาญ ม.39 ลดลง ) สำหรับความคิดเห็นหมอบูรณ์หากเพิ่งออกจาก ม.33 และอายุยังน้อย และไม่ได้เจ็บป่วยแนะนำให้ใช้สิทธิบัตรทอง หรือไม่มีความจำเป็นอื่นๆ ในการใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ไม่ควรสมัครใจเข้ามาเป็นผู้ประกันตน ม.39 และให้พยายามกลับเข้าไปทำงานเป็นลูกจ้างให้เร็วที่สุด ส่วนผู้ที่ออกจากงานที่อายุมากแล้วและผู้ที่ส่งเงินสมทบ ม.33 มาหลายปีที่หลงสมัครแล้วตามที่คุณสุรินทร์ พงษ์ไพศาล เม้นไว้นั้น  หมอบูรณ์ เข้าใจเลยครับ อาจตัดสินใจดังต่อไปนี้ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์เงินชราภาพ ม.39 ที่เป็นธรรมหรือดีขึ้น  1) ส่งต่อ ม.39 ไปตลอด เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่อทั้งค่ารักษาพยาบาล และเก็บเงินชราภาพเป็นบำเหน็จตกทอดสู่ลูกหลาน เมื่อเสียชีวิตนอกจากเงินชราภาพแล้วจะได้ทั้งเงินค่าทำศพ และสงเคราะห์การตายด้วย หรือแม้กระทั่งตกเป็นผู้ทุพพลในช่วงสูงวัยจะได้เงินชดเชยทุพพลภาพเป็นรายเดือนๆ 2,400 บาท พร้อมกับได้เงินชราภาพคืนในรูปบำเหน็จชราภาพทันที อีกทั้งความคุ้มครองการเสียชีวิตก็...

เงินประกันสังคมของผู้ประกันตน อยู่ที่ใด

รูปภาพ
กองทุนประกันสังคมเก็บเงินไว้ที่ใดมากมี่สุด  มีคนตั้งคำถามว่าเงินประกันสังคมอยู่ที่ไหน? พี่หมอไปค้นมาให้แล้วครับว่าส่วนใหญ่ กว่า 70% ของกองทุนประกันสังคม ลงทุนที่อยู่ สินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงโดยเฉพาะ พันธบัตรรัฐบาล ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม รายงาน สถานะเงินลงทุนกองทุนประกันสังคม  ล่าสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น   2,184,407 ล้านบาท สร้างผลตอบจำนวน 59,188 ล้านบาท ลดลงจำนวน 26,445 ล้านบาท จากปี 2562 ที่มีผลตอบแทนจำนวน 85,633 ล้านบาท หรือลดลง 30.88%     เงินลงทุนปี 2563 แยกเป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง จำนวน 1,716,326 ล้านบาท คิดเป็น 79% ของเงินลงทุนทั้งหมด สร้างผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยรับและกำไรจากการขายตราสารหนี้รวม 40,945 ล้านบาท  และเป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง 468,081 ล้านบาท คิดเป็น 21% ของเงินลงทุน ได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล กำไรจากการขายหุ้นรวม 18,243 ล้านบาท    ทั้งนี้เงินสะสมกองทุนประกันสังคมตั้งแต่ปี 2534- 2563 จำนวน  2,184,407 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินสมทบจากนายจ้าง ลูกจ้าง และภ...

จะรับ บำเหน็จ หรือ บำนาญ ดี และ แตกต่างกันอย่างไร?

รูปภาพ
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมีสิทธิรับสิทธิประโยชน์เงินชราภาพแยกตามประเภท (มาตรา) ดังนี้  ผู้ประกันตน ม.33 และ 39 อายุครบ 55 ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไปรับเป็นเดือนๆ ( บำนาญ ) ถ้าต่ำกว่านี้รับเป็นก้อน (บำเหน็จ) โดยตอนไปยื่นสิทธิชราภาพต้องสิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน ผู้ประกันตน ม.40 รับเป็นเงินก้อน บวกกับดอกเบี้ย ที่อายุ 60 ปี และต้องลาออกจากความเป็นผู้ประกันตน คลิปอธิบายเงินบำเหน็จ/บำนาญชราภาพ ม.33 และ ม.39 ในปัจจุบัน พ.ย. 2564 ผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา สามารถไปยื่นความจำนงขอรับเงินชราภาพ เมื่อครบอายุที่กฎหมายกำหนด พร้อมกับลาจากความเป็นผู้ประกันตนออกที่ สปส. ใกล้บ้าน   ขั้นตอนยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพมีดังนี้ กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) พร้อมลงลายมือชื่อ ( ดาวน์โหลดแบบ สปส.2-01 โดยกดที่ลิงค์ นี้) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ  หรือดำเนินการลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนกับธนาคารที่ผู้ประกันตนเปิดบัญชีไว้ ซึ่งเป็นช่องการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราแบบใหม่ โดยผู้ประกันตนไม...

สิทธิประกันสังคม 3 อย่างที่ผู้ประกันตนควรใช้ต่อปี

รูปภาพ
สิทธิประกันสังคม 3 อย่างที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 ควรใช้ต่อปี ถ้าไม่ใช้สิทธิเหล่านี้จะไม่สามารถแลกคืนหรือเก็บสะสมได้ จะเสียโอกาสมาก พี่หมอบูรณ์ตั้งแต่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ ต่อมาตรา 39 มา 24 ปี เพิ่งใช้สิทธิทำฟันเพียงแแรกในปี 2564 นี้  ทำฟัน 900 - 4,400 บาท   ตรวจสุขภาพประจำปี ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ มาตรา 39 อายุ 50 ปีขึ้นไป  ครั้งนี้พี่หมอขอให้ข้อมูลและเงื่อนไขการตรวจสุขภาพประจำปีดังนี้ การตรวจสุขภาพประกันสังคมประจำปี เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เพื่อให้ประชาชนทำการตรวจรักษาร่างกาย เพื่อเตรียมตัวป้องกัน และวางแผนรับมือปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวกับสุขภาพ โดยมีรายละเอียดการตรวจ และหลักเกณฑ์ ดังนี้ การตรวจร่างกายตามระบบ ตรวจคัดกรองทางการได้ยิน Finger Rub Test อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ตรวจได้ 1 ครั้งต่อปี ตรวจตาโดยการดูแลของจักษุแพทย์ อายุตั้งแต่ 40 – 54 ปี ตรวจได้ 1 ครั้ง ตรวจสายตาด้วย Snellen Eye Chart อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ตรวจได้ 1 ครั้งต่อปี การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC อายุต...

ผลการทบทวนสิทธิเยียว ม.33, ม.39 และ ม.40

รูปภาพ
ผู้ประกันตนที่ทำการทบทวนสิทธิเยียวยาล็อคดาวน์ไว้ทั้ง 29 จังหวัด ทุกมาตรา เช็คสิทธิได้ เลย  https://www.sso.go.th/eform/review-covid-compensate/checkEmployeeCompensation.jsp กดลิ้งค์ กรอกข้อมูล ขอให้สมาชิกทุกคนโชคดี ได้รับสิทธิครับ  เงื่อนไขการยื่นทบทวนสิทธิ มาตรา 33  ที่อยู่ใน 9 ประเภทกิจการ ใน 29 จังหวัด มาตรา 39  ที่มีสถานะเป็นผู้ประกันตน ภายใน 31 ก.ค.2564 มาตรา 40  ใน 10 จังหวัดแรก ที่มีสถานะเป็นผู้ประกันตน และสมัครภายใน 31 ก.ค.2564 และจ่ายเงินภายใน 10 ส.ค. 2564  ส่วน 19 จังหวัดหลัง เฉพาะที่สมัคร และจ่ายเงินภายใน 24 ส.ค. 2564 ม.33 13 จังหวัดแรก รับ 5,000 บาท ส่วน 16 จังหวัดหลังรับ 2,500  มาตรา 39,40  13 จังหวัดแรก รับ 10,000 บาท ส่วน 16 จังหวัดหลังรับ 5,000 

เงินสมทบประกันสังคม คือ ภาษี!!!

รูปภาพ
เงินสมทบประกันสังคม คือ ภาษี!!! ประเด็นเรื่องการบังคับรับเงินชราภาพเป็นบำนาญของผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไปให้รับเป็นบำนาญ ว่าให้ผู้ประกันตน "มีเงินไว้ใช้ตอนแก่ เพราะคนไทยส่วนใหญ่พอแก่มาถ้าไม่มีเงินจะโดนลูกหลานทิ้งขว้างครับ (ได้มาก่อนใช้หมดก่อน นิสัยคนไทย)" " เงินเกือบสองแสน จาก มาตรา 33 ถ้ามาอยู่มาตรา 39 เกิน 5 ปี // จากได้เดือนละ สี่พันกว่าบาท จะเหลือไม่เกิน 1,200 ทันที ตกวันละ 40 บาท// แต่ถ้าเลือกเงินคืนทั้งหมดตอนนี้ ลงทุนครั้งละ 5 หมื่น ยังมีโอกาสล้มได้ 3 ครั้ง ถ้าความสามารถมากพออาจจะร่ำรวยเพราะเงินแสนกว่าบาทได้ แต่ถ้ารับเดือนละพันกว่าบาท โอกาสที่จะใช้ตำว่า “ลงทุนทำอะไร” ไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะคิดเลยยยย// " “เงินสมทบในส่วนของรัฐไม่อยากจะจ่าย ยังมาฮุบเอาเงินผู้ประกันตนไปอีก เงินส่วนของรัฐนั่นแหละคือภาษีที่จ่ายไป”  ผู้ประกันตนควรมีสิทธิใช้และกำหนดการลงทุนด้วยตัวของเขาเอง อำนาจปกครองของรัฐโดยสำนักงานประกันสังคมมักคิดและกะเกณฑ์ชีวิตของคนอื่นเพราะมักคิดว่าเงินที่เก็บไปนั้นเป็นสิทธิของรัฐ เพราะ รัฐนิยามว่าการส่งเงินสมทบคือภาษีประเภทหนึ่ง ตามหน้า 1 หลั...

คำเตือน ม.39 อย่าขาดส่งเงินสมทบ จะทำให้สิทธิประกันสังคมขาด

รูปภาพ
หากผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ม.39) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม มีการขาดส่งเงินสมทบ 1 ปี สามารถกลับมาส่งเงินสมทบ เพื่อเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต่อได้หรือไม่อย่างไร ?  กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39  มีการขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน จะ สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 โดยไม่สามารถส่งเงินสมทบตามมาตรา 39 ต่อได้อีก  เว้นแต่ ผู้ประกันตนมีการทำงานกับนายจ้างใหม่จึงจะสามารถเข้ามาเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ม.33) โดยจะมีการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องจากของเดิม และเมื่อลาออกจากงานสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงาน ตามบทบัญญัติมาตรา 38 (ม.38) โดยติดต่อ สปส. กทม. พื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่พักอาศัยอยู่ ณ ปัจจุบัน การป้องกันมาตรา 39 สิ้นสภาพ แก้ไขปัญหาผู้ประกันตน ม.39 ที่ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 9 เดือน ทำให้สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน โดยหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน มีข้อแนะนำคือการใช้บริกา...

กรณีผู้ประกัน ม.33, ม.39 และ ม.40 เสียชีวิต บุคคลอันดับแรกที่ได้รับเงินทดแทนคือใคร

รูปภาพ
กรณีผู้ประกัน ม.33, ม.39 และ ม.40 บุคคลอันดับแรกที่ได้รับเงินทดแทนเสียชีวิต คือใคร เงินมี 3 อย่าง คือ เงินค่าทำศพ เงินสงเคราะห์การตาย และเงินบำเหน็จชราภาพ  เงินชราสภาพและเงินสงเคราะห์การเสียชีวิต   ม. 77 จัตวา แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมระบุถึงบุคคลที่จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ 4 บุคคลดังต่อไปนี้ คือ บุตร คู่สมรส บิดามารดา และ ผู้ที่ระบุไว้ในหนังสือรับผลประโยชน์คนละส่วน หากไม่มี 4 กลุ่มข้างต้นตามบทบัญญัติในวรรคแรก ให้กับบุคคลในวรรคสอง คือ พี่น้อง ลุง ป้า น้า อา ปูย่า ตายาย  เงินค่าทำศพ ผู้ที่จัดการศพหรือผู้ที่ระบุไว้ให้รับค่าทำศพ คลิปอธิบาย ม. 40 เสียชีวิต รับเงิน  ทางเลือก 1,2 = 25000 ทางเลือก 3 = 50000  นอกจากนี้ ทางเลือก 2,3 มีเงินชราภาพ    เสียชีวิตทั่วไป ม. 40 ต้องส่ง 6 ใน 12 เดือน ยกเว้น อุบัติเหตุ 1 ใน 6 เดือน  ทุกมาตรา ถ้าผู้ประกันตนไม่มี คู่สมรส บุตร พ่อแม่ ควรทำพินัยกรรม (หนังสือยกผลประโยชน์) 

ส่งเงินชราภาพ มาตรา 40 ได้เงินคืนกี่บาท

รูปภาพ
เคยมี ม.33 แต่ลาออกแล้ว ตอนนี้สมัคร ม.40 ถ้าครบ 60 ปี จะได้เงินชราภาพ ทั้ง 2 มาตราเลยใช่ไหม ใช่ครับ ได้แยกกัน  ม.33  ลาออกสิ้นสภาพฯ ได้เงินตอน 55 เลย ถ้าไม่ได้กลับไปเป็นผู้ประกันตน ม.33 อีก ม.40 ได้เงินชราภาพ ตอนอายุ อายุ 60 เมื่อตอนไปยื่นลาออกจากความเป็นผู้ประกันตนแล้วเท่านั้น ได้เงิน ตามทางเลือกทางเลือก ทางเลือก 1 ไม่มีเงินชราภาพ ทางเลือก 2 ได้ 50 บาท (600 / ปี ) ทางเลือก 3 ได้ 150 บาท ต่อเดือน (1,800/ ปี) ถ้าส่งครบ 15 ปี   ทางเลือก 2 ได้เงิน 9,000 บาท  ทางเลือก 3 เกิน 15 ปี โบนัส 10,000 บาท รวม 15 = 27,000 + 10,000 = 37,000 บาท คุ้มไหมสำหรับ ชราภาพภาพ ทางเลือก 2 และ 3 ของ ม.40 ประกันสังคม ลืมไปว่า จะได้ดอกเบี้ย เงินปันผลอีก คาดว่าจะคิดเป็นรายเดือน โดยประกาศดอกเบี้ยเป็นรายปี คาดว่าจะเฉลี่ยไม่เกิน 2% ต่อปี #เงินชราภาพประกันสังคม คลิปอธิบาย

สิทธิทุพพลภาพ สิทธิที่คุณจะได้รับความช่วยเหลือจากประกันสังคมอย่างดี

รูปภาพ
สมาชิกหรือญาติที่เป็นผู้ประกันตนหรือเคยเป็นผู้ประกันตน สามารถยื่นสิทธิทุพพลภาพประกันสังคม ถ้าทุพพลภาพนั้นเกิดขึ้นขณะที่ยังเป็นผู้ประกันตน  กรณีศึกษาของสมาชิกประกันสังคมกลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน กรณีคุณ สาสา  https://youtu.be/R4w_sHyMa2A กรณีคุณยุทธ์ https://youtu.be/y3VOugFcYHs กรณีคุณแจ็ค https://youtu.be/ekHNhD71RhQ ถ้าได้รับสิทธิ์ทุพพลภาพนอกจากจะได้เงินชราภาพที่สะสมไว้คืนพร้อมดอกเบี้ยแล้วคุณจะได้รับสิทธิอื่นๆ อีกมากด้วย เช่น เบี้ยเดินทางไปพบแพทย์รายเดือน และ เงินอีก 2 อย่างจากการเสียชีวิต เป็นต้น   อีกทั้งยังสามารถรับเบี้ยคนพิการกับ ก. พม. รับเบี้ยรายเดือน ขึ้นรถโดยสารสาธารณะ เช่น รถ ขสมก รถไฟฟ้า ฟรี และสามารถรักษาพยาบาลฟรีกับ รพ.รัฐ ทั่วราชอาณาจักร  ขอให้สมาชิกที่เข้าข่ายทุพพลภาพ อัมพฤกษ์ อัมพาต  แขนขาอ่อนแรง จากโรค หรืออุบัติภัย หรือเจ็บป่วยทางใจจนไม่สามารถทำงานได้ ให้ไปยื่นสิทธิทุพพลภาพกับสำนักงานประกันสังคม ด้วยตนเองหรือญาติที่ดูแลสมาชิกยื่นแทนได้  ปล. ถ้าเหตุทุพพลภาพนั้นเกิดจากการทำงานให้เบิกกับกองทุนเงินทดแทนจะได้รับค่าชดเชยที่มากกว่ากองทุนประกันส...

คืนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนส่งกับประกันสังคม หนทางสร้างความเป็นธรรมกับผู้ประกันตนทุกมาตรา

รูปภาพ
จากที่มีการรณรงค์ของกลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน ร้องขอให้มีการแก้ไขกฎหมายเรื่องการเข้าถึงเงินชราภาพ ใน 3 ประเด็น คือ  เมื่อครบอายุ  55 ปี ผู้ประกันตนต้องรับสิทธิเงินชราภาพต้องเลือกรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญได้ตามชอบ ผู้ประกันตนควรได้สิทธิขอเงินสมทบคืน ผู้ประกันตนควรได้สิทธิกู้เงินสมทบ จากที่ได้ออก แบบสอบถามสมาชิกขอคืนไม่ได้ขอทานว่าทั้ง 3 ข้อเรียกร้องข้อใดสำคัญที่สุด โดยให้เลือก 1 ใน 3 ข้อเรียกร้อง ปรากฏว่ามากกว่า 75 % ปรารถนากฎหมายประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตนสามารถคืนเงินที่ส่งสมทบได้ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์แล้วก็อนุมานได้ว่า เพียงกฎหมายให้สิทธิผู้ประกันตนได้เงินสมทบคืนทั้งหมดก็ไม่จำเป็นต้องแก้เรื่องการเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญ และถ้าเปิดให้คืนบางส่วนได้ผู้ประกันตนก็ไม่จำเป็นต้องกู้เงินและจ่ายดอกเบี้ยทั้งที่เป็นเงินของตนเอง และการแก้ไขกฎหมายเพียงประเด็นคืนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนก็จะง่ายเพราะแก้ไขในเรื่องเดียวและกระทบต่อกฎหมายประกันสังคมและกฎหมายอื่นๆ น้อยกว่า อันจะทำให้แก้ไขกฎหมายได้เร็วขึ้น

ได้เยียวยา ม. 40 แล้ว ส่งเงินสมทบ ม. 40 ต่อ ดีไหม

รูปภาพ
เริ่มมีคนถามกับพี่หมอบูรณ์มาเยอะว่าหลังจากรับเงินเยียวยา 5000 หรือ 10000 บาทแล้ว ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะส่งต่อดีไหม ตอบว่า  “ถ้าหากคุณส่งเงินสมในเดือนละ 60 บาทแนะนำให้ส่งต่อไปจนถึงเดือนมกราคมปี พ.ศ.  2565 แล้วเดือนกุมภาพันธ์ค่อยมาตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง”  เพราะนอกจากที่คุณจะได้สิทธิ์ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ นั้น   ดังต่อไปนี้แล้ว ค่าขาดรายได้จาก เจ็บป่วย ทุพพลภาพ จากโลกไป บำเหน็จชราภาพ แล้วเมื่อคุณอายุ 60 ปี คุณจะได้เงินคืนมาด้วยจำนวน 300 บาทบวกกับดอกเบี้ย  ข้อแนะนำที่หมอบูรณ์เกี่ยวกับผู้ประกันตนมาตรา 40  ข้อแนะนำในการส่งเงินสมทบ ติดโควิดเบิกชดเชยได้   การขอคืนเงินสมทบ

ขอเงินประกันสังคมคืนบางส่วนก่อนอายุ 55 เพื่อค้าขายขนมหวาน หนี่งใน ฎีกา ที่เราจะรวบรวมถวาย

รูปภาพ
  " กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรนบดินทรเทพยวรางกูร ถึงความเดือนร้องของตนเองให้กับหมอบูรณ์รวบรวมฎีกาถวายพระองค์ท่าน ร่วมกันเป็นความหวังที่พวกเราจะจับต้องได้ถึงความช่วยเหลือเร่งด่วนที่สุด" เรื่องขอเงินประกันสังคมคืนบางส่วนก่อนอายุ 55 ข้าพเจ้าขอกู้เงินของข้าพเจ้าที่ส่งให้ประกันสังคม เพื่อนำมาใช้ลงทุนเเละประกอบอาชีพ จากผลกระทบของโรคระบาดโควิท19 ตอนนี้ข้าพเจ้าไม่เหลือทรัพย์อะไรเลย เเละข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูเเม่ที่มีอายุ83ปีทีไม่ค่อยเเข็งเเรงด้วยโรคชรา ข้าพเจ้าอยู่กับเเม่ 2 คนที่ห้องเช่าที่ ซ.จนัญสนิทวงศ์ 40/2 ข้าพเจ้าอยากจะได้เงินส่วนนี้มา เ พื่อค้าขายขนมหวาน เพราะเเม่ของข้าพเจ้าทำอร่อยมาก พ่อของข้าพเจ้าตายเมื่ออายุข้าพเจ้าได้ 1 ขวบ เเม่เลี้ยงข้าพเจ้ามาคนเดียว ตอนนี้เเม่ของข้าพเจ้าก็เเก่มากเเล้ว ข้าพเจ้าอยากจะเลี้ยงดูเเลท่านให้สุขสบายกว่านี้ เเต่ขาดเงินทุน ข้าพเจ้าจึงขอความเมตาจากพระองค์ ข้าพเจ้าอยากได้เงินที่ข้าพเจ้าทำไว้กับประกันสังคม มาบางส่วนเพื่อใช้ในการลงทุนเลี้ยงดูเเม่ เเละตัวเอง จะได้ไม่เป็นภาระให้กับสังคม ควรไม่ควรเเล้วเเต่จะโปรด ด้วยเกล้าด้วยกระหม...