ใครได้ประโยชน์จากการขยายอายุรับเงินชราภาพ จาก 55 ปี เป็น 60 ปี บริบูรณ์

จริงหรือไม่ ? ที่จะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม ขยายอายุเข้าถึงสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเป็น 60 ปี บริบูรณ์ 


จากที่หมอบูรณ์ได้ข้อมูลจากแหล่งข่าว พบว่าจะมีการยื่นแก้ไข พรบ. ประกันสังคม ในเดือนธันวาคม 2564 ให้กับทาง คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบ เพื่อแก้ไขและยื่นเข้าสู่กระบวนการแก้ไขกฎหมายทางรัฐสภาต่อไป 


โดยพบว่านอกจากที่จะมีการยื่นแก้ไขในส่วนที่มีการเรียกร้องในส่วนของกลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทานแล้ว  ยังมีการปรับปรุงแก้ไขในส่วนของอายุ ผู้ที่จะรับเงินชราภาพ จาก 55 ปี เป็น 60 ปีบริบูรณ์  ซึ่งเมื่อหมอบูรณ์อ่านบทสรุปก็เกิดคำถามขึ้นมา ว่าเหตุใดจึงจะแก้ไขพระราชบัญญัติในส่วนของอายุตรงนี้ เนื่องจากผู้ประกันตนส่วนใหญ่น่าจะไม่เห็นชอบการแก้ไขตรงนี้ จึงลองทำแบบสอบถามขึ้นในกลุ่ม  วันจันทร์หรือภายในสัปดาห์หน้าจะพยายามขอความกระจ่างกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่น่ารักใน สปส. หรือ ก.รง. เพื่อทำความเข้าใจและเพื่อแจ้งกับ สมาชิกกลุ่มขอคืนฯ ต่อไป 
ซึ่งปรากฎว่าส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบด้วย ด้วยความประหลาดใจ จึงได้ทำการค้นข้อมูลพบว่า แนวความคิดขยายอายุรับเงินชราภาพเป็น 60 ปี ไม่ได้เริ่มเกิดขึ้นในปีนี้ แต่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ 

"ต้นปี 2557 เป็นปีแรกที่เริ่มจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพแก่ผู้ประกันตนที่มีอายุเกินอายุ 55 ปี ซึ่ง ประมาณการว่าจะมีผู้ประกันตนมาขอรับทั้งบำเหน็จบำนาญกว่า 1 แสน 3 หมื่นคน ต้องจ่ายเงินกองทุนออกไปกว่า 4.7 พันล้านบาทและภายในปี 2587 หรือ 30 ปี ข้างหน้า กองทุนชราภาพจะอยู่ในภาวะติดลบ" 

โดยน่าจะมีการเรียกร้องให้แก้ปัญหาการสั่นคลอนของกองทุนประกันสังคมหลายๆ ทาง โดย

ปลายเดือนมิถุนายน 2560 นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.)เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (พลเอกศิริชัย ดิษฐกุล) ได้สั่งให้สปส.แก้ไขกฎหมายประกันสังคมขยายเวลาการรับเงินชราภาพ (บำเหน็จ หรือ บำนาญ) ของผู้ประกันตนจาก 55 ปีเป็น 60 ปี เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตและรองรับสังคมสูงอายุ และ ปลายปี นั้น ก็มีการทำประชาพิจารณ์ในหลายประเด็น รวมทั้ง ประเด็นขยายอายุรับเงินชราภาพบำเหน็จบำนาญนี้ เป็น อายุ 60 ปี ซึ่งในข่าวต่างๆ ได้คาดการณ์ว่าจะมีผลบังคับเป็นกฎหมายภายใน ปี 2561 แต่จนถึงปัจจุบันกฎหมายนี้ก็ยังคงอยู่ในระดับกระทรวง ซึ่งพี่หมอบูรณ์คาดว่าที่ยังไม่เสนอเข้าอาจเป็นเพราะกระแสต่อต้านเรื่องอายุนี้มีมาก และช่วง ปี 60 และ 61 เป็นช่วงที่เพิ่งจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใหม่ เมื่อผ่านมาถึงขนาดนี้ เรื่องการขยายอายุจึงถูกนำมาศึกษาและเสนอแก้ไขต่อไป 



มีอีกประเด็นว่าทำไมตอนทำประชาพิจารณ์ในปี 60 ผลประชาพิจารณ์จึงเห็นชอบต่อกรณีนี้ พี่หมอบูรณ์ขอวิเคราะห์ดังนี้ ผู้ที่เห็นชอบอาจจะ 




" คนที่เห็นชอบ น่าจะอยากได้สิทธิรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย เพราะถ้ารับเงินชราภาพสิทธินี้ก็จะขาดลง หรืออยากได้บำนาญต่อเดือนเพิ่มขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้ว ผู้ประกันตน ม.33 ที่ยังทำงานต่อจากอายุ 55 ปี ก็ได้สิทธินั้นอยู่แล้ว เพียงแต่เมื่อม. 33 ลาออก หลังอายุ 55 ปี จะไม่ได้สิทธิว่างงาน ซึ่งกฎหมายควรแก้ที่จุดนี้ โดยให้รับเงินทดแทนว่างงานก่อนแทนที่จะบังคับคน ตกงาย ที่อายุ ตั้งแต่ 55 ขึ้นไป รับเงินชราภาพ  มากกว่าจะขยายอายุชราภาพออกไปเป็น 60 ปีบริบูรณ์" 

ท้ายที่สุดแล้วเพื่อนๆ เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับการขยายอายุการรับบำเหน็จบำนาญชราภาพประกันสังคมเป็นอายุ 60 บริบูรณ์ รบกวนกดลิงค์แบบสอบถาม พร้อมกับเข้าไปทำและให้เหตุผลที่กดเห็นชอบหรือไม่อย่างไร

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563