คำเตือน ม.39 อย่าขาดส่งเงินสมทบ จะทำให้สิทธิประกันสังคมขาด

หากผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ม.39) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม มีการขาดส่งเงินสมทบ 1 ปี สามารถกลับมาส่งเงินสมทบ เพื่อเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต่อได้หรือไม่อย่างไร ? 

กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39  มีการขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 โดยไม่สามารถส่งเงินสมทบตามมาตรา 39 ต่อได้อีก 

เว้นแต่ ผู้ประกันตนมีการทำงานกับนายจ้างใหม่จึงจะสามารถเข้ามาเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ม.33) โดยจะมีการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องจากของเดิม และเมื่อลาออกจากงานสามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลาออกจากงาน ตามบทบัญญัติมาตรา 38 (ม.38) โดยติดต่อ สปส. กทม. พื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่พักอาศัยอยู่ ณ ปัจจุบัน

การป้องกันมาตรา 39 สิ้นสภาพ

แก้ไขปัญหาผู้ประกันตน ม.39 ที่ขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 9 เดือน ทำให้สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน โดยหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน มีข้อแนะนำคือการใช้บริการหักบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ดังต่อไปนี้ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ตาม สำนักงานประกันสังคมได้นำระบบการแจ้งเตือนผู้ประกันตนตามมาตรา 39 กรณีส่งเงินสมทบไม่ตรงตามกำหนด 2 แนวทาง

  • ไลน์ โอเอ ของสำนักงานประกันสังคม 
  • ผ่านระบบบริการส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือ (SMS)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563