จะรับ บำเหน็จ หรือ บำนาญ ดี และ แตกต่างกันอย่างไร?
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมมีสิทธิรับสิทธิประโยชน์เงินชราภาพแยกตามประเภท (มาตรา) ดังนี้
- ผู้ประกันตน ม.33 และ 39 อายุครบ 55 ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไปรับเป็นเดือนๆ ( บำนาญ ) ถ้าต่ำกว่านี้รับเป็นก้อน (บำเหน็จ) โดยตอนไปยื่นสิทธิชราภาพต้องสิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน
- ผู้ประกันตน ม.40 รับเป็นเงินก้อน บวกกับดอกเบี้ย ที่อายุ 60 ปี และต้องลาออกจากความเป็นผู้ประกันตน
คลิปอธิบายเงินบำเหน็จ/บำนาญชราภาพ ม.33 และ ม.39
ในปัจจุบัน พ.ย. 2564 ผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา สามารถไปยื่นความจำนงขอรับเงินชราภาพ เมื่อครบอายุที่กฎหมายกำหนด พร้อมกับลาจากความเป็นผู้ประกันตนออกที่ สปส. ใกล้บ้าน
ขั้นตอนยื่นเรื่องขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพมีดังนี้
- กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01) พร้อมลงลายมือชื่อ (ดาวน์โหลดแบบ สปส.2-01 โดยกดที่ลิงค์นี้)
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ
- หรือดำเนินการลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนกับธนาคารที่ผู้ประกันตนเปิดบัญชีไว้ ซึ่งเป็นช่องการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราแบบใหม่ โดยผู้ประกันตนไม่ต้องยื่นสำเนาหน้าบัญชีเงินฝากธนาคาร
- ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ /สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน
จากเงื่อนไขข้างต้นพบว่าผู้ประกันตนไม่สามารถเลือกรับเงินชราภาพได้ตามชอบ ในปัจจุบันนี้กำลังมีการแก้ไขกฎหมายประกันสังคมให้เลือกรับตามความชอบอยู่ โดยคาดการณ์ว่าจะมีการแก้ไขให้ผู้ประกันตนเลือกรับบำเหน็จบำนาญได้ภายใน ปี พ.ศ. 2565
คลิปอธิบายเล่าเรื่องกรอบเวลาแก้ไข พรบ. ประกันสังคมในส่วนเงินชราภาพหากผู้ประกันตนท่านใดที่เป็นผู้ประกันตน ม.39 หรือ ม.33 ที่ส่งเงินสมทบตั้งแต่ 180 งวดขึ้นไปและอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้ว ประสงค์รับเป็นบำเหน็จชราภาพแทนบำนาญ มีข้อแนะนำเบื้องต้นคือ ม.39 ให้ส่งเงินสมทบต่อ ส่วน ม.33 ที่ลาออกหรือต้องออกจากงานให้สมัคร ม.39 จนกว่ากฎหมายข้างต้นจะแก้ไขสำเร็จ
ขอสอบถามหน่อยค่ะพี่ส่งเรื่องขอรับบำเน็จไปแล้วค่ะเพราะพี่ส่งไม่ครบ180เดือนแล้วอายุ55พี่ไปยื่นเรื่องแล้วเค้าบอกว่าตามคิวก็ประมานเดือนหรือสองเดือนพี่อยากทราบว่าบำเน็จต้องรอนานขนาดนั้นเลยเหรอค่ะ
ตอบลบhttps://boonsso.blogspot.com/2021/12/blog-post_20.html?m=1
ลบรอ 30 วันทำการ ในบำเหน็จชราภาพครับ