เกษียณอายุงานกับเข้าถึงสิทธิเงินชราภาพต่างกัน
เกษียณอายุงานกับเข้าถึงสิทธิเงินชราภาพต่างกัน อย่างไร?
1)เกษียณคือเป็นลูกจ้างหมดสัญญาจ้าง นายจ้างมีหน้าที่ชดเชยลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งกฎหมายแรงงานระบุไว้ที่ 60 ปี
2)เข้าถึงสิทธิเงินชราภาพในประกันสังคม ม.33 และ ม.39 กำหนดไว้ 55 ปี ส่วน มาตรา 40 กำหนดไว้ 60 ปี
ทั้งสองส่วนไม่เกี่ยวข้องกัน
ปลายปี 2560 มีคนทำประชาพิจารณ์เห็นชอบขยายอายุ จาก 55 เป็น 60 ปี คงสับสนใน 2 ประเด็นดังกล่าว เหตุผลเท่าที่อ่านพบคือ ขยายอายุเหมือนนานาชาติ และ บอกว่าลูกจ้างจะได้บำนาญเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับอายุการเข้าถึงเงินชราภาพที่ 55 ปี เพราะถ้าลูกจ้างอายุ 55 ปี และปรารถนาจะทำงานต่อไปกับนายจ้าง ลูกจ้างก็จะได้โบนัสจากเพิ่มขึ้น 1.5% ต่อ 1 ปี ที่เกินจาก 55 ปี อยู่แล้ว โดยไม่มีความจำเป็นต้องขยายอายุเข้าถึงเงินชราภาพแต่อย่างใด
ซึ่งมีก็เพียงข้อที่ กฎหมายประกันสังคมกำหนดให้ผู้ที่ตกงานออกจาก มาตรา 33 ในวันที่ อายุ 55 ปีขึ้นไป ไม่สามารถรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ แต่ให้ไปรับสิทธิทดแทนกรณีชราภาพแทน
ซึ่งบางท่านที่ส่ง ม.33
- มาไม่ถึง 180 เดือนก็จะได้เงินบำเหน็จโดยไม่ได้เงินว่างงาน
- และผู้ที่เพิ่งส่งเกิน 180 เดือนมาไม่นาน ก็จะได้บำนาญเพียง 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย ซึ่งจะน้อยกว่า สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานอยู่มาก
เอาแบบสมัครใจเป็นคนๆไปจะดีกว่า55นี่เหมาะสุดหรือจะเลื่อนมารับตอน50แล้วส่งประกันสังคมไปด้วยเหมือนเดิมจนถึง60ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ตอบลบ