บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2022

คุณพ่อผู้ประกันตนก็สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้

รูปภาพ
พ่อประกันสังคมป้ายแดงรู้ยัง❓ ค่าคลอดบุตรก็ใช้สิทธิประกันสังคมได้ 🎯 เหมาจ่าย 15,000 บาท / ครั้ง  🎯 ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท  ตั้งแต่แรกเกิด - 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน หลักเกณฑ์มีดังนี้ 📌 ภรรยามีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  📌 เป็นผู้ประกันตนม. 33 และ 39 เท่านั้น  📌 ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนภรรยาคลอดบุตร 📌 ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร ⚡️ ในกรณีที่ทั้งพ่อและแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ จะสามารถเบิกได้แค่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้นต่อบุตร 1 คน   💬 หากใช้สิทธิของแม่ที่เป็นผู้ประกันตน จะได้รับสิทธิเพิ่มในส่วนของเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายใน อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยใช้สิทธิได้ 2 ครั้ง   🚫มีค่าเดียวที่คุณแม่ประกันสังคมเบิกได้แต่คุณพ่อเบิกไม่ได้คือ ค่าชดเชยการหยุดงานจากการคลอดบุตร 50% ของเงินเดือนนานสูงสุด 90 วัน  📞 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประ...

ตรวจสุภาพประกันสังคม ฟรี? มีอะไรบ้าง

รูปภาพ
  ใช้สิทธิตรวจสุขภาพประกันสังคมฟรี มีอะไรบ้าง? การ ตรวจสุขภาพประกันสังคมฟรี นั้น เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เพื่อให้ประชาชนทำการตรวจรักษาร่างกาย เพื่อเตรียมตัวป้องกัน และวางแผนรับมือปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวกับสุขภาพ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ​ได้แก่ พนักงานบริษัทเอกชน ซึ่งโดยปกติทางบริษัทจะหักเบี้ยประกันสังคมออกจากเงินเดือนในทุกๆ เดือนอยู่แล้ว ผู้ประกันตนมาตรา 39  ได้แก่ พนักงานบริษัทเอกชนที่ได้ทำการลาออก หรือถูกเลิกจ้าง ที่มีประวัติการจ่ายเบี้ยประกันสังคมมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน แต่ออกจากงานไม่เกินกว่า 6 เดือน ผู้ประกันตนสามารถเข้าใช้บริการในสถานพยาบาลที่ทำการเลือกไว้ได้ทันที โดย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย  (ไม่ต้องสำรองจ่าย) โดยเอกสารที่ต้องใช้มีเพียงบัตรประชาชนใบเดียวเท่านั้น สิทธิตรวจสุขภาพประกันสังคมฟรีนั้น จะมีด้วยกัน 14 รายการ แบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การตรวจร่างกายตามระบบ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจสารเคมีในเลือด การตรวจอื่นๆ โดยแต่ละประเภทนั้นจะมีเงื่อนไข และรายการตรวจที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ การตรวจร่างกายตามระบบ ประกันสังคม ตรวจคัดกรองทางกา...

เงินว่างงานจะได้รับงวดแรกเมื่อไหร่

รูปภาพ
 📌ขั้นตอน/เงื่อนไขการเกิดสิทธิ์ ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนว่างงาน ผ่านระบบ https://e-service.doe.go.th ของกรมการจัดหางาน ขึ้นทะเบียนว่างงาน ภายใน 30 วัน นับจากวันที่เลิกจ้าง เงื่อนไขการเกิดสิทธิ... ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน การคำนวณจ่ายเงินชดเชยกรณีว่างงาน​จากกรณี​ลาออก/หมดสัญญาจ้าง/เลิกจ้าง จ่ายชดเชยเป็นรายวันคิดจากฐานค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุด​ 3 เดือน ใน 15 เดือน​ โดยคำนวณจ่ายคืนเป็นรายวันตามวันที่รายงานตัว กรณีลาออก​ / หมดสัญญาจ้าง จ่าย​ 30%   จำนวน​ 90​ วัน ตย.​ ฐานเงินเดือน 28,000.- บาท คำนวณจากฐานสูงสุดไม่เกิน 15,000.- 45,000 / 90 x 30% = 150.-/วัน​ จากนั้นนำมาคูณตามจำนวนวันที่รายงานตัว กรณีเลิกจ้าง จ่าย​ 50%   จำนวน​ 180​ วัน ตย.​ ฐานเงินเดือน 28,000.- บาท ตย.​ คำนวณจากฐานสูงสุดไม่เกิน 15,000.- 45,000 / 90 x 50% = 250.-/วัน จากนั้นนำมาคูณตามจำนวนวันที่รายงานตัว สำหรับการเตรียมสั่งจ่ายเงินว่างงาน จะขึ้นคำว่า "null" ก่อนเสมอ ในแอพ SSO Connect Mobile ควรรายงานตัวให้ครบตามวันที่กำหนด.... เงินจะเข้าบัญชีหลังรายงานตัวครั้งที่ ...

หากครบ 55 ปี จะรอกฎหมาย 3 ขอ เพื่อขอเลือกได้?

รูปภาพ
หากอายุครบ 55 ปี ก่อนที่กฎหมายประกันสังคมฉบับใหม่จะมีผลบังคับ เราจะสามารถรอเพื่อเลือกรับเงินบำเหน็จชราภาพได้หรือไม่  เงินสมทบที่ผู้ประกันตนถูกนายจ้างหักนำส่งเข้ามามีส่วนที่เรียกว่า เงินออมชราภาพ ซึ่งในส่วนของเงินสะสมเงินชราภาพ เริ่มมีการเก็บเงินสมทบตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป หากในระยะเวลาที่มีการเก็บเงินสมทบจะมีสิทธิได้รับเงินคืน แต่จะต้องสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ถึงแม้ว่าสถานะจะสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนไปแล้วก็ตาม จะต้องรอให้อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ก่อนถึงจะสามารถยื่นเรื่องรับสิทธิได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิกรณีชราภาพ กรณีเงินบำนาญชราภาพ 1. ต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ 2. ไม่เป็นผู้ประกันตน ทั้งมาตรา 33 (ทำงานกับนายจ้าง) และมาตรา 39 (ประกันตนเอง) 3. ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม กรณีบำเหน็จชราภาพ 1. มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย 2. ไม่เป็นผู้ประกันตน ทั้งมาตรา 33 (ทำงานกับนายจ้าง) และมาตรา 39 (ประกันตนเอง) 3. จ่ายเ...

เงินว่างงานได้กี่เดือน จากประกันสังคม

รูปภาพ
 เงินว่างงานได้กี่เดือน ปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 สิทธประโยชน์ว่างงานประกันสังคมได้กี่เดือน  ผู้ประกันตนลาออก จะได้สูงสุด 3 เดือน ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง จะได้สูงสุด  6 เดือน  ผู้ประกันตน #ตกงาน หรือ #ว่างงาน อย่าตกใจ  ประกันสังคมพร้อมให้ความคุ้มครอง           สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงานว่า ผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง  หรือลาออกจากงานจะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ไม่ว่าจะถูกเลิกจ้างหรือลาออกก็ตาม และยังได้รับความคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน แต่ต้องไปขึ้นทะเบียนหางานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ทั่วประเทศภายใน 30 วันหลังถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน            อย่างไรก็ดี ผู้ประกันตนสามารถขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน และรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน โดยเพียงใช้เลขบัตรประชาชนในการเข้าสู่ระบบทาง http://empui.doe.go.th/auth/index เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ...

เงินประกันสังคมกรณีเสียชีวิต กี่วันได้เงิน

รูปภาพ
  เงินประกันสังคมกรณีเสียชีวิต กี่วันได้เงิน เงินที่ได้จากการที่ผู้ประกันตนเสียชีวิตมี 3 อย่าง ดังแผนภาพ สิทธิที่ควรรู้กรณีตาย ประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่ คือ เงินค่าทำศพ กับ  เงินสงเคราะห์กรณีตาย นอกจากนี้ ยังมีเงินชราภาพที่สะสมไว้จะจ่ายให้กับทายาทในรูปแบบเงินบำเหน็จชราภาพ โดยจำแนกดังต่อไปนี้  ภาพตัวอย่างของการคำนวณเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน  ภาพหนังสือสรุปเงินบำเหน็จชราภาพ 1) เป็นผู้ประกันตนขณะเสียชีวิต ทายาทจะได้เงินทั้ง 3 ส่วน  2) เป็นผู้สิ้นสภาพจากผู้ประกันตนหรือผู้ที่กำลังรับบำนาญไม่ถึง 60 งวดเสียชีวิต ทายาทจะได้รับเพียงเงินบำเหน็จชราภาพ 3) เป็นผู้รับเงินทุพพลภาพเสียชีวิตทายาทจะได้รับเงินค่าทำศพ 4) ล่าสุดเป็นผู้ที่รับเงินบำนาญจ่ายล่วงหน้าเสียชีวิตทายาทจะไม่ได้รับเงินจากประกันสังคม  โดยระยะเวลาที่จะได้รับเงินแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) เงินค่าทำศพจ่ายให้ผู้จัดการศพที่ยื่นเอกสารครบถ้วน ภายใน 30 วัน (พบว่าเงินส่วนนี้มักจะได้เร็ว พบว่ามีผู้จัดการศพได้ภายใน 7 วัน) 2) เงินสงเคราะห์กรณีตายและเงินบำเหน็จชราภาพมักจะใช้ระยะเวลานานมากกว่า 30 วัน ขึ้นกับเอกสารประกอบก...

ประกันสังคมคนต่างด้าว กับสิทธิพิเศษ มากกว่าคนไทย

รูปภาพ
  สิทธิพิเศษของผู้ประกันตนต่างด้าวที่จะเกิดขึ้นคือเงินชราภาพ สามารถที่จะเข้าถึงก่อนอายุ 55 ปี คือสามารถขอคืนเงินชราภาพได้หากจะออกจากประเทศไทยและไม่กลับมา โดยสิทธินี้จะถูกบัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่กำลังแก้ไข เรามาดูว่าแรงงานต่างด้าวต้องส่งเงินสมทบหรือไม่ 📌 ประกันสังคมคอนเฟิร์ม‼️ แรงงานต่างด้าวอยู่ไทยต้องส่งประกันสังคม 🎉 พร้อมดูแลสวัสดิการ-สิทธิประโยชน์แรงงานต่างด้าว แต่ต้องขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายน้าา 📋 เอกสารที่ต้องใช้ 📋 👉 สำหรับ ลูกจ้างชาวต่างชาติ/ต่างด้าว/บุคคลที่ราบสูง 1. กรอกแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03 2. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ เอกสารแสดงตัวแทนหนังสือเดินทาง 3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน  (Work Permit)  4. สำเนาเอกสารการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวกรณีพิเศษ (Smart Visa) 🔺 เพิ่มเติม : **กรณีขึ้นทะเบียนผู้ประกัน ต่างด้าว/ต่างชาติ ที่มี Smart Visa นายจ้างยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนสามารถใช้ Smart Visa แทนใบอนุญาตการทำงานได้ 💪🏼 โดยจะได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี   - ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย - คลอดบุตร - ทุพพลภาพ - เสียชีวิ...

นายจ้างที่ไม่ต้องหักเงินสมทบลูกจ้างส่งประกันสังคม

รูปภาพ
  นายจ้างหากมีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป จะต้องหักเงินสมทบลูกจ้างส่งสำนักงานประกันสังคม หากไม่ทำการหักและนำส่งเงินสมทบด้วย ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  📌 แต่ ... 📌📌📌 ต้องดูด้วยค่ะว่า เราเป็นบุคคล หรืออยู่ในกิจการที่ยกเว้นการยื่นประกันสังคมหรือเปล่า ❓  ☘ บุคคลหรือกิจการที่ ไม่ต้องยื่นประกันสังคมมีดังนี้  - ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำของหน่วยงานราชการ - ลูกจ้างของสภากาชาดไทย - ลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ - ลูกจ้างของผู้ประกอบกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้และเลี้ยงสัตว์ ที่ไม่ได้จ้างประจำตลอดทั้งปี - ลูกจ้างของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ - ลูกจ้างของนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาที่งานที่ทำไม่ได้เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ - ลูกจ้างของนายจ้างที่ประกอบกิจการหาบเร่ แผงลอย

หมอสันต์ กับความคิดเห็นต่อประกันสังคมเทียบกับบัตรทอง

รูปภาพ
  บอกเลยว่าอ่านแล้วดีมากๆ เรียนปรึกษาคุณหมอเรื่องในอนาคตค่ะ ปัจจุบันดิฉันอายุ 46 ค่ะ ไม่ได้แต่งงาน เคยทำงานประจำค่ะ ตอนนี้ออกจากงานประจำมาแล้วค่ะ ขายกาแฟ รายได้ 7,000-10,000บาทต่อเดือน กำลังตัดสินใจวางแผนยามชราค่ะ และมีความเชื่อศรัทธาในตัวคุณหมอ เพื่อมีส่วนช่วยชี้แนะการวางแผนในอนาคต จึงใคร่เรียนถามขอคำชี้แนะ ดังนี้ค่ะ  1. ดิฉันเลือกไม่ถูกค่ะ ว่าจะต่อสิทธิ์ประกันสังคมมาตรา 39 ดี เพื่อเอาสิทธิ์รักษาพยาบาลต่อไป หรือ ไปใช้สิทธิ์บัตรทอง แต่ได้เงินบำนาญจากประกันสังคมเดือนละ 3,000 บาทต่อเดือน ตอนอายุ 60 ปีถึงตาย  2. จริงๆดิฉันมีน้องชายแท้ๆ 1 คน น้องชายลูกอาที่เลี้ยงมาอีก 1 คน มีหลานสาวตัวน้อย 2 คนค่ะ...แต่..ใจของดิฉันรับรู้อะไรบางอย่าง ทำให้ทราบสัจธรรมของชีวิต ว่า ไม่ควรฝากผีฝากไข้กับใคร ไม่ควรทำตัวเป็นภาระใครยามชรา .. นี่คงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่หวังพึ่งคำแนะนำจากคุณหมอค่ะ  3. ยามชราดิฉันควรไปอยู่บ้านพักคนชราไหมค่ะคุณหมอ จากนี้ไปดิฉันควรคิดและปฏิบัติตนอย่างไรดีค่ะ คาดหวังเพียงยามชราไม่ลำบาก และมีความสุขค่ะคุณหมอ  ตอบครับ 

ม.33 อายุครบ 55 ปี ไปรับเงินชราภาพจากประกันสังคม?

รูปภาพ
  ม.33 อายุครบ 55 ปี ไปรับเงินชราภาพจากประกันสังคม? (ยังทำงานอยู่) แนะนำแบบนี้ ครับ  1) ถ้าส่งยังไม่ถึง 180 เดือน 1.1 ) ตกลงกับบริษัทที่ทำให้ช่วยแจ้งออกให้ ถ้าเขายินดีทำให้ แต่ก็อาจจะเสียสิทธิประโยชน์ตอนเกษียณ หากบริษัทมีนโยบายจ่ายเงินชดเชยตอนเกษียณ 1.2) ลาออกแล้วค่อยกลับไปสมัครงานใหม่ 2) หากมามากกว่า หรือ = 180 งวด แนะนำ 2.1) ทำงานต่อไปจนบริษัทให้เกษียณรับทั้งเงินชดเชยจากบริษัทแล้วค่อยยื่นชราภาพ 2.2) ลาออกจากงานประจำ รับบำนาญชราภาพ และทำงานอิสระของตนเอง หรือรับจ้างที่ไม่มีนายจ้างประจำ (จ้างทำของ) ลองตัดสินใจเลือกดู ครับ https://boonsso.blogspot.com/2021/11/blog-post_14.html

คลอดบุตร และ เลี้ยงดูบุตร ประกันสังคม

รูปภาพ
 @ ❤ "หากฝ่ายหญิงลาคลอดบุตร จะมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างจากนายจ้างในช่วงเวลาที่ลาคลอดบุตร" - ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้างกรณีลาคลอดบุตร 45 วัน (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) - ตามพรบ.ประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนขาดรายได้ กรณีลาคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน *วิธีคำนวณเงินทดแทนขาดรายได้ กรณีลาคลอดบุตร* 1.คำนวณจากค่าจ่ายเฉลี่ย คือ ผู้ที่มีฐานเงินเดือนตั้งแต่ 1,650 บาท - 15,000 บาท 2.นำเงินเดือนที่อยู่ในฐานข้อ 1 หาร 2 (50% ของเงินเดือน) จากนั้นคูณ 3 (3 เดือน หรือ 90 วัน) ตัวอย่าง: เงินเดือน 15,000/2 = 7,500 x 3 = 22,500 บาท - เศษอีก 8 วัน ลาไปฝากครรภ์/ตรวจครรภ์  นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างก็ได้  หรือนายจ้างจะเลือกจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างก็ได้ ถือว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้าง  ################ คุณแม่ที่ส่งเงินประกันสังคม เมื่อตั้งครรภ์จะสามารถใช้สิทธิเบิกค่ารักษาได้ โดยแบ่งเป็น 5 รายการ คือ 1.เบิกค่าฝากครรภ์: วงเงินรวม 1,500 บาท >>>จะสามารถเบิกได้ตามอายุครรภ์ที่คุณแม่ไปตรวจ วงเงินรวม 1,500 บาท เงื่อนไข: - จ่ายค่าประกันสังคมแ...

อัปเดทเงินชราภาพ 3 ขอ "ขอเลือก-ขอคืน-ขอกู้"

รูปภาพ
ประกันสังคม อัปเดทเงินชราภาพ 3 ขอ " ขอเลือก-ขอคืน-ขอกู้ " รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เผยกฎหมายจะมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าในประเด็นการปลดล็อก พ.ร.บ.ประกันสังคม คือ ขอเลือก ขอคืน และขอกู้ โดยรายละเอียดดังนี้ การขอเลือก ผู้ประกันตนสามารถที่จะเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพได้ เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ซึ่งในกฎหมายฉบับเดิมระบุว่าหากใครส่งเงินครบ 180 เดือน และมีอายุ 55 ปี เมื่อลาออกจากงานจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ หากใครส่งเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือน อายุ 55 ปี และลาออกจากงานจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ หรือเงินก้อน ฉะนั้น หากกฎหมายฉบับใหม่ออก ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน ก็สามารถเลือกได้ว่าจะรับบำเหน็จชราภาพ หรือบำนาญชราภาพ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมมีการรับประกันการรับเงินบำนาญชราภาพ 60 เดือน คือ หากผู้ประกันตนรับบำนาญชราภาพแล้วเกิดเสียชีวิตในเดือนที่ 1 หรือเดือนที่ 2 ทายาทจะได้รับอีก 58 เดือน ซึ่งอาจจะเลือกรับทางช่องทางนี้ก็ได้ คือ เลือก 60 เดือนก่อน เมื่อถึงเดือนที่ 61 ก็มาเลือกร...

ข้อเสนอการประกันสังคมที่ยั่งยืน

รูปภาพ
 จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล เรื่อง ข้อเสนอสำหรับการประกันสังคมที่ยั่งยืน  เรียน นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นับตั้งแต่พระราชบัญญัติประกันสังคมมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓ จนถึงปัจจุบันโดยมีเป้าหมายเพื่อประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อรับผิดชอบเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยได้รับทดแทนเมื่อประสบอันตราย หรือจากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีการทดแทนรายได้ ซึ่งการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในระยะแรกเป็นลักษณะร่วมกันจ่ายในสัดส่วนที่เท่ากันในอัตราร้อยละ ๕ ระหว่าง ผู้ประกอบการ คนทำงาน และรัฐ โดยกำหนดค่าจ้างสูงสุดในการคำนวณจ่ายเงินสมทบรายเดือนอยู่ที่ ๑๕,๐๐๐ บาท แต่ภายหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี ๒๕๔๐ รัฐบาลได้มีการแก้ไขกฎหมายโดยลดสัดส่วนของรัฐลงเหลือร้อยละ ๒.๗๕ ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาเกือบ ๒๐ ปี ที่รัฐค้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเกือบหนึ่งแสนล้านบาท เป็นเหตุให้กองทุนประสบปัญหาในเรื่องการเติบ...

"3 ขอ" หวังดี ?

รูปภาพ
 7 มิ.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่า วันนี้ (7 มิ.ย.) ที่สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน และเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ จัดเสวนาหัวข้อ นโยบาย “3 ขอ” หวังดีหรือหลบเลี่ยงเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม?”  ธนพร วิจันทร์ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน กล่าวว่า การออกนโยบาย 3 ขอเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงการไม่มีส่วนร่วมของภาคประชาชน หรือผู้ประกันตนอย่างแท้จริง จากปัญหาที่สำนักงานประกันสังคมยื้อไม่จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) แต่ที่ผ่านมาเป็นการจัดตั้งโดยรมว.แรงงานมาตลอด เช่นชุดปัจจุบันก็สืบทอดมาจากคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตั้งแต่ปี 2558 นโยบายต่างๆ ที่ออกมาจึงขาดการมีส่วนร่วม แม้ตอนนี้เหลือเพียงไม่กี่คน อย่างไรก็ตามทราบว่า สำนักงานประกันสังคมได้มีการหารือและกำหนดไทม์ไลน์ การเลือกตั้งบอร์ดใหม่แล้ว คือเดือน มิ.ย. – ก.ค. จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เดือน ก.ย. – ต.ค.เปิดสมัครรับเลือกตั้ง เดือนพ.ย. ประกาศหมายเลขผู้สมัคร และเลือกตั้งวันที่ 18 ธ.ค.2565 อยากเสนอให้จัดการ...

ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 เสียชีวิต ได้เงินจากประกันสังคมเท่าไหร่

รูปภาพ
  มีคำถามจากสมาชิกถามในช่อง ยูทูบว่า เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ยังไม่ได้รับ บำเหน็จ หรือ บำนาญ เสียชีวิต จะได้รับเงินจากประกันสังคม เท่าไหร่?  ตอบผู้ประกันตนในมาตรา 33 และ 39 จะมีเงินจากการเสียชีวิตดังนี้  ถ้าเป็นผู้ประกันตนอยู่จะได้รับ 1)เงินที่สะสมมาทั้งหมดในรูปบำเหน็จชราภาพคืนพร้อมดอกผล ครับ  2) ค่าปลงศพ 50,000 บาท 3) ค่าสงเคราะห์การเสียชีวิต สูงสุด 180,000 บาท ใน มาตรา 33 และ 48000 ใน มาตรา 39 ถ้าไม่ใช่ผู้ประกันตน รับ เฉพาะ เงินในชราภาพ ตามข้อ 1) ครับ  โดยมีคลิปรายละเอียดมาตรา 33 รับเงินเสียชีวิตดังนี้ มาตรา 33 ทำงาน 35 ปี มรดก 872,600 แก่ทายาท เมื่อ ทำงาน ฐานเงินเดือนมากกว่าหรือ เท่ากับ 15,000 บาท ต่อเดือน มีเงิน 3 ส่วนดังนี้ 1) ค่าทำศพ 50,000 บาท 2) ค่าสงเคราะห์การเสียชีวิต 180,000 บาท 3) เงินบำเหน็จชราภาพ 642,600 บาท โดยมีคลิปรายละเอียดมาตรา 39 รับเงินเสียชีวิตดังนี้ มาตรา 39  มรดก 325,700 แก่ทายาท เมื่อ ทำงาน ฐานเงินเดือนมากกว่าหรือ เท่ากับ 15,000 บาท ส่ง มาตรา 33 มานาน นาน 12 เดือน และ ต่อ มาตรา 39 นาน 34 ปี  มีเงิน 3 ส่วนดังนี้ 1) ค่าทำศพ...

มีผลบังคับแล้ว! เพิ่มเงินบำเหน็จชราภาพ 60 เดือน

รูปภาพ
มีผลแล้ว! ประกันสังคม เพิ่ม ‘เงินเหน็จชราภาพ’กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิต นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ลงนามในประกาศกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาและอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2565 ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันและเป็นการช่วยเหลือทายาทของผู้รับบำนาญชราภาพในการดำรงชีวิตภายหลังผู้รับบำนาญชราภาพ ประกันสังคม เผย กฎกระทรวงเพิ่มเงินบำนาญชราภาพกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย ภายใน 60 เดือนให้กับทายาท มีผลบังคับใช้แล้ว นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ลงนามในประกาศกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาและอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2565 ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันและเป็นการช่วยเหลือทายาทของผู้รับบำนาญชราภาพในการดำรงชีวิตภายหลังผู้รับบำนา...