คลอดบุตร และ เลี้ยงดูบุตร ประกันสังคม

 @


❤ "หากฝ่ายหญิงลาคลอดบุตร จะมีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างจากนายจ้างในช่วงเวลาที่ลาคลอดบุตร"


- ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้างกรณีลาคลอดบุตร 45 วัน (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)


- ตามพรบ.ประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนขาดรายได้ กรณีลาคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน

*วิธีคำนวณเงินทดแทนขาดรายได้ กรณีลาคลอดบุตร*

1.คำนวณจากค่าจ่ายเฉลี่ย คือ ผู้ที่มีฐานเงินเดือนตั้งแต่ 1,650 บาท - 15,000 บาท

2.นำเงินเดือนที่อยู่ในฐานข้อ 1 หาร 2 (50% ของเงินเดือน) จากนั้นคูณ 3 (3 เดือน หรือ 90 วัน)

ตัวอย่าง: เงินเดือน 15,000/2 = 7,500 x 3 = 22,500 บาท


- เศษอีก 8 วัน ลาไปฝากครรภ์/ตรวจครรภ์ 

นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างก็ได้ 

หรือนายจ้างจะเลือกจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างก็ได้ ถือว่าเป็นคุณแก่ลูกจ้าง 


################


คุณแม่ที่ส่งเงินประกันสังคม เมื่อตั้งครรภ์จะสามารถใช้สิทธิเบิกค่ารักษาได้ โดยแบ่งเป็น 5 รายการ คือ


1.เบิกค่าฝากครรภ์: วงเงินรวม 1,500 บาท

>>>จะสามารถเบิกได้ตามอายุครรภ์ที่คุณแม่ไปตรวจ วงเงินรวม 1,500 บาท

เงื่อนไข:

- จ่ายค่าประกันสังคมแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนก่อนใช้สิทธิ

- ในการเบิก ถ้าฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีสิทธิประกันสังคมทั้งคู่ จะให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาใช้สิทธิก็ได้


2.เบิกค่าคลอดบุตร: เหมาจ่ายวงเงิน 15,000 บาท ต่อครั้ง

>>>สามารถเบิกได้ทุกร.พ.ทั้งรัฐและเอกชน สามารถสำรองจ่ายไปก่อนแล้วมาเบิกตามหลังได้

เงื่อนไข:

- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน หรือภายใน 15 เดือนก่อนเดือนที่จะคลอดบุตร 

- กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย

- กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง


3.เบิกเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร: เบิกได้ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน)

>>>เหมาจ่ายในอัตราร้อยละสามารถร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน (3 เดือน) รวมวันหยุดราชการ และกำลังปรับเพิ่มเป็น 98 วัน ใน พระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับที่ 5

เงื่อนไข:

- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร 

- คิดฐานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท (ถ้าเงินเดือนสูงกว่านั้นก็คิดแค่ 15,000 บาท)

- ใช้ได้กับการคลอดบุตรครั้งที่ 1 และ 2 เท่านั้น ครั้งที่ 3 ไม่สามารถใช้สิทธิได้

- กรณีกลับมาทำงานก่อนถึง 90 วัน คุณแม่ก็จะยังคงได้รับเงินสงเคราะห์

**หมายเหตุ (เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)**


4.เบิกค่าชดเชย กรณีแท้งบุตร: ต้องอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์

>>>ถึงแม้ว่าจะมีการแท้งบุตร แต่คุณแม่ก็ยังมีสิทธิเบิกประกันสังคมตามปกติ โดยเงินที่เบิกได้ มาจากวงเงินค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงาน

เงื่อนไข:

- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร

- จะต้องมีอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์


5.เบิกเงินสงเคราะห์เพื่อเลี้ยงดูบุตร: เบิกได้ 800 บาท ต่อเดือน (ตั้งแต่เกิดจนถึง 6 ปี)

>>>หลังคลอดบุตร คุณแม่สามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้เดือนล่ะ 800 บาท ตั้งแต่คลอดจนถึงอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนไม่เกิน 3 คน

เงื่อนไข:

- จ่ายประกันสังคมมามากกว่า 12 เดือนแล้ว ภายในเวลา 36 เดือน

- กรณีครรภ์แฝดเบิกได้ 1,200 บาท ต่อเดือน


*มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563