เงินว่างงานได้กี่เดือน จากประกันสังคม

 เงินว่างงานได้กี่เดือน ปี 2565

ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 สิทธประโยชน์ว่างงานประกันสังคมได้กี่เดือน 

ผู้ประกันตนลาออก จะได้สูงสุด 3 เดือน

ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง จะได้สูงสุด  6 เดือน 

ผู้ประกันตน #ตกงาน หรือ #ว่างงาน อย่าตกใจ 

ประกันสังคมพร้อมให้ความคุ้มครอง

          สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงานว่า ผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง  หรือลาออกจากงานจะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน จะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ไม่ว่าจะถูกเลิกจ้างหรือลาออกก็ตาม และยังได้รับความคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน แต่ต้องไปขึ้นทะเบียนหางานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ทั่วประเทศภายใน 30 วันหลังถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน




           อย่างไรก็ดี ผู้ประกันตนสามารถขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน และรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน โดยเพียงใช้เลขบัตรประชาชนในการเข้าสู่ระบบทาง http://empui.doe.go.th/auth/index เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ในการรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน และลดขั้นตอนรวมถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาขึ้นทะเบียน และรายงานตัว ณ สำนักงานจัดหางาน

  

           เมื่อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้ประกันตนมายื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน สปส. 2-01/7 พร้อมเอกสารประกอบการยื่นแบบคำขอ ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ส่งสำเนาแบบคำขอ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทุกแห่งทั่วประเทศที่ท่านสะดวก ทั้งนี้ผู้ขอรับสิทธิต้องรายงานตัวผ่านระบบเดือนละ 1 ครั้ง




          - กรณีที่ผู้ประกันตนว่างงานเพราะถูกเลิกจ้างนั้น จะได้รับเงินทดแทนในระหว่างว่างงาน #อัตราร้อยละ50ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ ระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน


           - กรณีที่ผู้ประกันตนลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน #อัตราร้อยละ30ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

 

            หากผู้ประกันตนประสงค์จะใช้สิทธิประกันสังคมต่อไป สามารถที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตน โดยสมัครใจตามมาตรา 39 โดยยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ด้วยตนเองภายในระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ออกจากงาน ซึ่งผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายประกันสังคมต่อไปรวม 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย,ทุพพลภาพ,ตายไม่เนื่องจากการทำงาน,คลอดบุตร,สงเคราะห์บุตร,ชราภาพ โดยผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละ 432 บาท  ซึ่งปัจจุบันสามารถส่งเงินสมทบได้หลายช่องทาง

 

สอบถามข้อมูลโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563