ข้อแก้ไข พ.ร.บ. ประกันสังคม ที่ไม่เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทนแทนกรณีชราภาพ
การแก้ไขกฎหมายประกันสังคมล่าสุดนี้ นอกจากข้อเรียกร้องใน 3 ขอ ที่เกี่ยวกับเงินชราภาพแล้ว คือ ขอคืนเงินชราภาพบางส่วน ขอกู้เงินชราภาพตนเอง และขอเลือกที่จะรับบำเหน็จหรือบำนาญได้ตามชอบ พบว่าอาจจะมีการ "แก้ไขกำหนดการเข้าถึงเงินชราภาพของผู้ประกันตนที่เคยกำหนดไว้ที่อายุ 55 ปีบริบูรณ์ เป็น 60 ปีบริบูรณ์" แทน ซึ่งผู้ประกันตนมองว่าเป็นการสอดไส้ ข้อกฎหมายที่ผู้ประกันตนไม่ต้องการเข้ามานอกจากนี้อาจจะมีการกำหนดหรือแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติประกันสังคมในประเด็นดังต่อไปนี้
- ตามมาตรา 33 โดยการขยายอายุขั้นสูง ไม่เกิน 65 ปี หรืออายุขั้นสูงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 33)
- ตามมาตรา 39 จะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 48 เดือน (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 39 วรรคหนึ่ง)
- แก้ไขการคำนวณเงินเพิ่มค้างชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 โดยเงินเพิ่ม จำต้องไม่เกินเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องจ่าย (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 39 วรรคสี่)
- แก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง และภายหลังการสิ้นสภาพเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 38 วรรคสอง มาตรา 41)
- กำหนดให้ผู้รับบำนาญ สามารถกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39/1 โดยมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย (เพิ่มมาตรา 39/1 มาตรา 46/2 มาตรา 54 วรรคสอง และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 77 ตรี วรรคหนึ่ง)
- แก้ไขให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรโดยเป็นการเหมาจ่ายในอัตราครั้งละร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นระยะเวลา 98 วัน หรือระยะเวลาตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 67)
- เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 70 ของค่าจ้าง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 71)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น