ยื่นขาดรายได้ ม. 33 เบิกได้สูงสุด 91,250 บาท ปีละ 365 วัน
ยื่นขาดรายได้ ม. 33 เบิกได้สูงสุด 91,250 บาท ปีละ 365 วัน
ม.33 การยื่นเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้ (อันไม่เนื่องจากการทำงาน)
ในกรณีเจ็บป่วย/ประสบอันตราย/ให้รวมถึงการติดโควิด-19 ด้วย
นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างปกติจากการลาป่วย 30 วันแรกของปีตามกฎหมายแรงงาน
หากเกิน 30 วัน ให้ยื่นชดเชยรายได้กับสำนักงานประกันสังคม
จะได้รับ 50% ของฐานค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท
เอกสารประกอบการยื่นเบิก
1.สปส.2-01
2.ใบรับรองแพทย์ที่แพทย์สั่งหยุดงานตัวจริง
4.สำเนาบช.ธนาคารออมทรัพย์หน้าแรกและผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนแล้วของลูกจ้าง
5.สถิติวันลาป่วยทั้งปีที่ลูกจ้างลาป่วย
6.หลักฐานการจ่ายเงินเดือน 3 เดือนสุดท้ายก่อนรับบริการทางการแพทย์
7.เดือนที่ลูกจ้างขาดรายได้ให้นายจ้างนำส่งเงินสมทบตามที่จ่ายจริงฐานไม่ต่ำกว่า 1,650.- บาท
**ช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 31 ขึ้นไป ที่ยื่นเบิกเงินขาดรายได้นั้น นายจ้างจะต้องไม่มีการจ่ายค่าจ้าง
***ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทน ได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ จัดส่งไปรษณีย์ ตามที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ ดังนี้
เงินทดแทนการขาดรายได้...ผู้ประกันตนจะมีสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบภายใน 15 เดือนย้อนหลังมีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว
จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50
ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
ท้ายที่สุดข้อแนะนำลูกจ้างที่ป่วยที่ ดี ที่สุด 5 ข้อ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น