จ่ายสมทบ 0 บาท กี่เดือนยังคงใช้สิทธิประกันสังคมได้


ส่งเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 33 ศูนย์บาท จะได้รับความคุ้มครองหรือไม่อย่างไร?

ประกันสังคมมาตรา 33 มีสิทธิประโยชน์ ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2533 ลูกจ้างผู้ประกันตนมีสิทธิ ได้รับสิทธิประโยชน์ และความคุ้มครอง รวม 7 กรณี

  1. เจ็บป่วย หรือประสบอันตราย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)
  2. ทุพพลภาพ (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)                                
  3. ตาย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)
  4. คลอดบุตร
  5. สงเคราะห์บุตร
  6. ชราภาพ
  7. ว่างงาน
มีคำถามว่าผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบ 0.00  ศูนย์บาท จะยังคงได้รับความคุ้มครองหรือไม่อย่างไร 

ภาพข้างต้น ส่ง 0.00 บาทเพราะนายจ้างปิดกิจการชั่วคราวเพราะโรงงานมีพนักงานติดโควิด 19 นาน 1 เดือน และเลยไม่เก็บเงินสมทบพนักงานและส่งศูนย์บาทให้ประกันสังคม 

ภาพนี้เนื่องจากผู้ประกันตนเจ็บป่วย 5 เดือน ไม่มีรายได้ก็ส่งประกันสังคมให้ลูกจ้าง 0.00 บาท ลูกจ้างก็ยังเป็นผู้ประกันตนตามปกติ 

ตามคำถามขออธิบายโดยแต่ละกรณีมีหลักเกณฑ์การเกิดสิทธิต่างๆ ไป ดังนี้
 
  1. เจ็บป่วย หรือประสบอันตราย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน) : ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ จึงจะได้รับสิทธิ
  2. ทุพพลภาพ (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)   ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพลภาพ                           
  3. ตาย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน) ผู้ประกันตน ที่จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 1 ใน 6 เดือนก่อนเดือนที่เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
  4. คลอดบุตร ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนคลอดบุตร
  5. สงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือนก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุต
  6. ชราภาพ : ส่ง 1-11 เดือนได้คืนส่วนของผู้ประกันตน ส่ง 12-179 งวดได้รับเป็นบำเหน็จชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ได้ทั้ง ส่วนของผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาลบางปี ส่ง 180 งวดขึ้นไปได้บำนาญชราภาพรายเดือนตลอดชีพ 
  7. ว่างงาน : ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน

ดังนั้นแต่ละสิทธิประกันสังคมจึงสามารถส่งเงินสมทบ 0.00 บาท ได้สั้นยาวไม่เท่ากันตามระยะเวลาเงื่อนไขการเกิดสิทธิ และระยะเวลา ข้างต้น 


  1. เจ็บป่วย หรือประสบอันตราย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน) 15 เดือน - 3 เดือน = 12 เดือน
  2. ทุพพลภาพ (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน)  15 เดือน  - 3 เดือน = 12 เดือน                             
  3. ตาย (อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน) 6 เดือน - 1เดือน = 5 เดือน
  4. คลอดบุตร 15 เดือน -5 เดือน = 10 เดือน
  5. สงเคราะห์บุตร 36 เดือน -12 เดือน = เ24 ดือน
  6. ชราภาพ ไม่มีกำหนด ได้สิทธิตามจำนวนเดือนที่ส่งสมทบ
  7. ว่างงาน 15 เดือน - 6 เดือน = 11 เดือน 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563