ม.33 กำไร 582 ม.39 กำไร 126 จากการลดเงินสมทบ เพิ่มเงินบำเหน็จชราภาพ

 

ลดเงินสมทบ เพิ่มเงินบำเหน็จชราภาพ 3 เดือน  ผู้ประกันตนได้กำไร? หรือขาดทุน 

พบว่า 

ผู้ประกันตน ม.33 (ฐานสูงสุด 15,000)

จ่าย 3 เดือน = (150x3) = 450

ได้เพิ่ม = 1,032 จากรัฐบาล

ฉะนั้น ม.33 ได้ กำไร = 1,032 - 450 = 582 บาท


ผู้ประกันตน ม.39 (ฐาน 4,800) 

จ่าย 3 เดือน = (91x3) = 297 

ได้เพิ่ม = 423 จากรัฐบาล

ฉะนั้น ม.39 ได้ กำไร = 423 - 297 = 126 บาท


โดยผู้ที่จะได้เงินส่วนนี้ ต้องเป็นผู้ที่รับเงินชราภาพในแบบ "บำเหน็จชราภาพเท่านั้น"


ครม. เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตน ลดเงินสมทบ และ เพิ่มเงินบำเหน็จชราภาพ 


เริ่มเดือน พ.ค.- ก.ค. นี้ 


ข่าวลดเงินสมทบ ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39


นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน และผู้ใช้แรงงาน ได้ออก 10 มาตรการ ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน รวมถึงผู้ใช้แรงงาน หนึ่งในนั้นคือการลดเงินสมทบประกันสังคม เพื่อช่วยเหลือนายจ้างผู้ประกอบการ และพี่น้องผู้ประกันตน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่งได้รับความเดือดร้อน จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 และสถานการณ์สงครามระหว่างประเทศรัสเซีย และยูเครน ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ต้นทุนการผลิต และบริการของทั้งในและต่างประเทศ โดยเมื่อวันนี้ (5 เมษายน 2565) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการในการช่วยเหลือลดเงินสมทบนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิมร้อยละ 5 เหลือฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ปรับลดอัตราเงินสมทบ จากเดิมร้อยละ 9 (เดือนละ 432 บาท) เหลือร้อยละ 1.9 คิดเป็นเงินเดือนละ 91 บาท โดยเริ่มตั้งแต่งวดเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2565 สำหรับฝ่ายรัฐบาลยังส่งเงินสมทบในอัตราเดิมคือร้อยละ 2.75 ของค่าจ้างผู้ประกันตน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยต่อไปว่า มาตรการลดเงินสมทบเพื่อช่วยเหลือพี่น้องผู้ประกันตนในยามเดือดร้อนในสถานการณ์ดังกล่าว จะส่งผลให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินสมทบที่ลดลง 1,000 – 1,800 บาทต่อคน รวมเป็นเงินประมาณ 18,085 ล้านบาท ไปใช้เพิ่มกระแสเงินสดให้ผู้ประกันตนมีสภาพคล่องมากขึ้น หากลูกจ้างผู้ประกันตนติดเชื้อต้องรักษาตัวไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ขาดรายได้ อีกทั้งมาตรการดังกล่าว จะเป็นการลดปัญหาทางการเงินของผู้ประกันตนทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการช่วยแบ่งเบาลดภาระต้นทุนที่สูงขึ้นและเพิ่มสภาพคล่องให้กับนายจ้าง เป็นจำนวนเงิน 15,938 ล้านบาท เพิ่มศักยภาพในการรักษาการจ้างงาน ส่งผลให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่องในระบบเศรษฐกิจ เงินสมทบที่ลดลงมากกว่า 34,023 ล้านบาท จะกลายเป็นเม็ดเงินที่นำมาใช้จ่ายช่วยหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ของประเทศ สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมจะได้เร่งดำเนินการเพื่อให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ทันภายในกำหนด จึงขอให้นายจ้าง และผู้ประกันตน มั่นใจการดำเนินงานของกระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมภายใต้ นโยบายของนายประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของผู้ประกันตนให้ตรงจุดและทันท่วงที เนื่องจากปัญหาเรื่องความเป็นอยู่ ปากท้องของพี่น้อง ผู้ใช้แรงงานเป็นเรื่องสำคัญ และจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างแน่นอน

ข่าวเพิ่มเงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39


นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะ ในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … โดยกำหนดอัตราการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ ให้แก่ผู้ประกันตนในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ 3 เดือน ตั้งแต่ 1 พ.ค. – 31 ก.ค. 65 โดยให้คำนวณเพิ่มจากอัตราเงินสมทบขึ้นอีก 2.95% ของค่าจ้างที่มีตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. – 31 ก.ค. 65 เพื่อให้สามารถจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพได้เพิ่มขึ้น

นายธนกร กล่าวว่า จากมาตรการเร่งด่วน เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากราคาพลังงาน เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป ให้ลดอัตราเงินสมทบที่นายจ้างและผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมในระยะเวลา 3 เดือน ส่งผลให้ผู้ประกันตนบางส่วนจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพลดลง เนื่องจากเป็นการคำนวณจากเงินที่มีการจ่ายเข้ากองทุนฯ รัฐบาลจึงมีนโยบายลดผลกระทบ โดยเสนอร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ โดยให้คำนวณอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีก 2.95% ตั้งแต่ พ.ค. – ก.ค. 65 ซึ่งเป็นช่วงลดอัตราส่งเงินสมทบเข้ากองทุนฯ

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานคาดว่า มีผู้ที่ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพที่จะได้รับผลกระทบจากการลดอัตราเงินสมทบจำนวน 4,860,212 คน หรือคิดเป็น 36% ของผู้นำส่งเงินสมทบ มาตรา 33 และมาตรา 39 ทั้งหมดในช่วงระยะเวลาที่ลดอัตราเงินสมทบ และเมื่อมีการปรับอัตราจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จะมีผลให้ผู้ประกันตนได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นในภาพรวม จำนวน 4,553 ล้านบาท

โดยผู้ประกัน มาตรา 33 ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น 1,032 บาท/คน รวมเป็นเงิน 4,232 ล้านบาท และผู้ประกันตนตาม มาตรา 39 ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น 423 บาท/ คน รวมเป็นเงิน 321 ล้านบาท ทำให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินที่เพิ่มขึ้นไปใช้จ่ายเพื่อยังชีพในยามชรา บรรเทาปัญหาการเงินของผู้ประกันตนได้บางส่วน และในอนาคตเมื่อสถานการณ์เหมาะสม กองทุนประกันสังคมอาจจะต้องมีการเก็บเงินสมทบเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาชดเชยกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนี้ต่อไป


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563