บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2022

ม.33 กำไร 582 ม.39 กำไร 126 จากการลดเงินสมทบ เพิ่มเงินบำเหน็จชราภาพ

รูปภาพ
  ลดเงินสมทบ เพิ่มเงินบำเหน็จชราภาพ 3 เดือน  ผู้ประกันตนได้กำไร? หรือขาดทุน  พบว่า  ผู้ประกันตน ม.33 (ฐานสูงสุด 15,000) จ่าย 3 เดือน = (150x3) = 450 ได้เพิ่ม = 1,032 จากรัฐบาล ฉะนั้น ม.33 ได้ กำไร = 1,032 - 450 = 582 บาท ผู้ประกันตน ม.39 (ฐาน 4,800)  จ่าย 3 เดือน = (91x3) = 297  ได้เพิ่ม = 423 จากรัฐบาล ฉะนั้น ม.39 ได้ กำไร = 423 - 297 = 126 บาท โดยผู้ที่จะได้เงินส่วนนี้ ต้องเป็นผู้ที่รับเงินชราภาพในแบบ " บำเหน็จชราภาพเท่านั้น " ครม. เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตน ลดเงินสมทบ และ เพิ่มเงินบำเหน็จชราภาพ  เริ่มเดือน พ.ค.- ก.ค. นี้  ข่าวลดเงินสมทบ ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยพี่น้องประชาชน และผู้ใช้แรงงาน ได้ออก 10 มาตรการ ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน รวมถึงผู้ใช้แรงงาน หนึ่งในนั้นคือการลดเงินสมทบประกันสังคม เพื่อช่วยเหลือนายจ้างผู้ประกอบการ และพี่น้องผู้ประกันตน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่ง...

ทายาทผู้ประกันตนเฮมีสิทธิได้รับมรดกจากผู้ประกันตนสูงสุด 60 เท่าของบำนาญชราภาพ

รูปภาพ
  4 เม.ย.2565  นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขกฎหมายร่างกฎกระทรวงฯ การจ่ายประโยชน์ทดเแทนในกรณีชราภาพ ว่า ตามที่กระทรวงแรงงานได้ส่งร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดเแทนในกรณีชราภาพ (ฉบับที่...) พ.ศ. .....ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้วเสร็จ นายสุชาติ กล่าวต่อว่า สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดเแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ.2550 โดยแก้ไขเพิ่มเติมการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีผู้รับบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพให้มีการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันและเป็นการช่วยเหลือทายาทของผู้รับบำนาญชราภาพ บุตร สามี ภรรยา บิดา มารดา หรือบุคคลซึ่งผู้ประกันตนระบุไว้เป็นผู้มีสิทธิ ให้ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น จากเดิมซึ่งจะได้ร...

10 ปี ผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ มาตรา 40

รูปภาพ
วันนี้ขอรายงาน 10 ปี รวบรวมอัตราผลประโยชน์ตอบแทนบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน ม.40 ปี พ.ศ. 2555 - 2564 ข้อมูลจาก 1506 และ จากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 17 มี.ค. 2565 ปีนี้ เป็นปีที่ประกาศผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ สูงที่ สุด 4.80 %  อัตราผลประโยชน์ตอบแทนบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน ม.40 ปี พ.ศ. 2555 - 2563  2555 = 3.30 % 2556 = 3.17 % 2557 = 2.58 % 2558 = 2.56 % 2559 = 2.33 % 2560 = 2.81 % 2561 = 2.80 % 2562 = 2.61 % 2563 = 3.11 % 2564 = 4.80 % พบว่า ม.40 ประกาศอัตราผลประโยชน์ตอบแทน บำเหน็จชราภาพ เพียง 10 ครั้ง ใน 10 ปี  (พ.ศ. 2555-2564) ส่วน ม.33 และ ม.39 ประกาศ 23 ครั้ง 23 ปี (พ.ศ. 2542 - 2564)  พบว่า ม.40 เคยมี 6 ทางเลือก มีการจ่ายทั้งบำเหน็จและบำนาญชราภาพ จนมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงคาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2555 เหลือเพียง ม.40 3 ทางเลือก เท่านั้น โดยมีเฉพาะทางเลือก 2 และ 3 ที่ มีบำเหน็จชราภาพ ปีที่จ่ายผลประโยชน์ทดแทนต่ำสุดคือ ปี 2559 จ่าย 2.33 % ต่อปี และปีที่จ่ายสูงสุดคือ ปี 2564 จ่ายที่ 4.80 % ต่อปี 

ผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ปี 2565

รูปภาพ
กำหนดผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ปี 2565 เท่ากับ 2.83 เมื่อวันที่ 17  มีนาคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ สำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 และ มาตรา 39 ระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรกําหนดอัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบําเหน็จชราภาพและวิธีการ ในการคํานวณจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินบําเหน็จชราภาพ อาศัยอํานาจตามความในข้อ ๖ (๒) ของกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ สํานักงานประกันสังคมจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ เงินสมทบสุทธิ หมายถึง เงินสมทบที่ผู้ประกันตน และนายจ้างจ่ายสมทบเพื่อการจ่าย ประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ข้อ ๓ การคํานวณจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเงินบําเหน็จชราภาพให้แก่ผู้มีสิทธิให้คํานวณ จ่ายถึงวันที่มีสิทธิ ตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๗ แห่งกฎกระทรวงกําหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ...

กฎหมาย เช่น พรบ. ประกันสังคม ที่ผ่าน ครม. แล้ว นายกรัฐมนตรีลาออก หรือ ยุบสภา จะเป็นอย่างไร

รูปภาพ
มีคำถามครับ จาก สมาชิกถ้าเกิดอุบัติเหตุยุบสภา ขณะอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา พรบ. ประกันสังคม ฉบับนี้ จะมีผลยังงัยต่อครับ รัฐฯรักษาการ มีอำนาจ พิจารณาต่อมั้ย หรือ ต้องรอ ครม.ชุดใหม่ หรือการแก้ พรบ.ฉบับนี้ต้องเริ่มต้นกันใหม่ครับ เป็นคำถามที่ดีครับ  เมื่อกฎหมายที่ถูกผ่านครม.ครับ ยังไม่เข้า สภา แล้วสภาถูกยุบไป กฎหมายนั้นส่วนมากมักจะตกไป เพราะต้องรอรัฐบาลใหม่ และรัฐบาลใหม่มักจะไม่ค่อยสานต่อ และรัฐบาลใหม่มักจะออกนโยบายใหม่เพราะต้องการเป็นผลงาน ของรัฐบาลตัวเอง เช่นกันครับ  ส่วนกฎหมายที่ค้างอยู่รัฐสภาจะเป็นอย่างไร  รัฐธรรมนูญมาตรา 153 วรรคสอง กำหนดว่า หากมีการยุบสภาและมีการเลือกตั้งใหม่ สำหรับกฎหมายที่ค้างพิจารณาอยู่ในรัฐสภาที่แล้วนั้น รัฐบาลใหม่ที่ได้รับการเลือกตั้งต้องร้องขอต่อรัฐสภาใหม่ภายในหกสิบวัน เพื่อให้นำกฎหมายที่ค้างพิจารณาจากสภาที่แล้วมาพิจารณาต่อ หากรัฐบาลใหม่ไม่ร้องขอให้นำกฎหมายฉบับใดขึ้นมาพิจารณาต่อ กฎหมายฉบับนั้นก็จะเป็นอันตกไป  ซึ่งที่ผ่านมา กฎหมายหลายฉบับที่ประชาชนเข้าชื่อกันเสนอให้รัฐสภาพิจารณา เมื่อเข้าไปรอการพิจารณาอยู่ในรัฐสภาแล้วแต่มีการยุบสภาก่อน และรัฐบาล...