สรุปภาพรวมกิจกรรม 8/6/64 ณ. สปส. สนญ. เพื่อตามเรื่องการเข้าถึงเงินชราภาพประกันสังคม ของพวกเราก่อนกำหนดอายุ 55 ปี

กิจกรรมเกี่ยวข้องกับการรณรงค์ เรื่องเงินชราภาพประกันสังคม  8 มิย. 2564 ณ สำนักงานประกันสังคม สำนักงานใหญ่ โดย ทนายกร พระศิวะ หมอบูรณ์ อารยพล และ ติ๋ว แก้ว มีดังนี้




1) ทนายกรได้ยื่นหนังสือถึง นายสุทธิ สุโกศลประธานกรรมการคณะกรรมการประกันสังคม ผ่านเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนในช่วงประมาณ 10:00 น. ณ.หน้าตึกวิทูรย์ แสงสิงห์แก้ว

2) คุณวุฒิชัย และคุณประโยค ได้นำรายงานสรุปผลและวิเคราะห์การรับฟังความคิดเห็นเรื่องการยกร่าง พระราชบัญญัติประกันสังคมในส่วนของแก้ไขสิทธิประโยชน์ทดแทนชราภาพ ในหัวข้อเรื่องสิทธิในการเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญ การเข้าถึงเงินสมทบของผู้ประกันตนในรูปแบบการคืนและการกู้ยืม มามอบให้กับหมอบูรณ์ ณ. ชั้น 2 ตึกอำนวยการ
รายงานสรุปผลการรับฟัง
การรับฟังความคิดเห็นหลักการการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ
สรุปผลการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นในการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์




กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

ตามที่ได้มีกลุ่มผู้ใช้แรงงานและผู้ประกันตน ยื่นข้อเรียกร้องต่อสำนักงานประกันสังคม เพื่อขอให้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ให้สามารถนำเงินกองทุนประกันสังคมออกมาใช้บางส่วน (เงินชราภาพ) นั้น

สำนักงานประกันสังคม จึงได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นในการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ 1 – 30 เมษายน 2564 รวมระยะเวลา 30 วัน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ เรื่อง แนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกอบมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๖๒ และได้สรุปรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. วิธีการในการรับฟังความคิดเห็น

สำนักงานประกันสังคม ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้อง แยกเป็น 2 วิธี ได้แก่ 

1) การรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (http://lawtest.egov.go.th) และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศบนเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม (https://www.sso.go.th) รวมทั้งการส่งลิงก์แบบสอบถามไปตามช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

2) การส่งแบบสอบถามความคิดเห็นไปยังภาคส่วนต่างๆ ทั้งส่วนราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและองค์กรเอกชน ได้แก่ สภาองค์การนายจ้าง สภาองค์การลูกจ้าง เป็นต้น

หมายเหตุ สำหรับการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมิได้ดำเนินการในช่วงเวลานี้ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และตามมาตรการการควบคุมโรคติดต่อของภาครัฐ 

2. ประเด็นที่มีการแสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นของนายจ้าง ผู้ประกันตน รวมถึงประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ลักษณะ 3 ประโยชน์ทดแทน หมวด 7 ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ ในประเด็นดังต่อไปนี้

1) การให้ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถเลือกได้ระหว่างรับเงินบำนาญชราภาพหรือเงินบำเหน็จชราภาพ แม้จะมีการนำส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด (ขอเลือก)

2) การให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันการกู้เงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ โดยหากไม่ผ่อนชำระคืนจะถูกยึดหลักประกันและได้รับเงินบำนาญ/บำเหน็จชราภาพลดลง (ขอกู้)

3) การให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนมาใช้ก่อนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ โดยจะได้รับเงินบำนาญ/บำเหน็จชราภาพลดลง (ขอคืน)

3. ระยะเวลาการรับฟังความคิดเห็น

ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 เมษายน 2564 เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา

4. จำนวนการตอบแบบสอบถามการรับฟังความคิดเห็น

สำนักงานประกันสังคม แบ่งช่องทางการรับฟังความเห็นของประชาชนเป็น 3 ช่องทาง ดังนี้

1)    เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย                               จำนวน 20,601 ครั้ง

2)    เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม                                จำนวน 17,579 ครั้ง

3)    แบบสอบถามที่เป็นกระดาษจากหน่วยงาน/องค์กร จำนวน 1,519 คน

รวม จำนวน 39,699 ครั้ง

5. สรุปผลการรับฟังความคิดเห็น

1. จำนวนการตอบแบบสอบถาม

เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (http://lawtest.egov.go.th)

20,601 ครั้ง
เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (https://www.sso.go.th)

17,579 ครั้ง
แบบสอบถามกระดาษ (หน่วยงาน/องค์กร)

1,519 คน
2. เพศ

เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (http://lawtest.egov.go.th)

ชาย = 8,266
หญิง = 8,652
ไม่ระบุ = 3,688
เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (https://www.sso.go.th)

ชาย = 7,131
หญิง = 10,448
แบบสอบถามกระดาษ (หน่วยงาน/องค์กร)

ชาย = 594
หญิง = 843
ไม่ระบุ = 82
3. การรับชมวีดีทัศน์ก่อนตอบแบบสอบถาม

เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (http://lawtest.egov.go.th)

ใช่ = 19,777
ไม่ใช่ = 391
ไม่ระบุ = 433
เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (https://www.sso.go.th)

ใช่ = 17,064
ไม่ใช่ = 514
ไม่ระบุ = 1
แบบสอบถามกระดาษ (หน่วยงาน/องค์กร)

ใช่ = 716
ไม่ใช่ = 301
ไม่ระบุ = 502
4. สถานะผู้ประกันตน

เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (http://lawtest.egov.go.th)

ผู้ประกันตนมาตรา 33 = 11,990
ผู้ประกันตนมาตรา 39 = 2,179
ผู้ประกันตนมาตรา 40 = 330
ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ = 206
อื่นๆ = 1,875
ไม่ระบุ = 3,481
เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (https://www.sso.go.th)

ผู้ประกันตนมาตรา 33 = 14,940
ผู้ประกันตนมาตรา 39 = 1,142
ผู้ประกันตนมาตรา 40 = 114
ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ = 443
อื่นๆ = 938
ไม่ระบุ = 2
แบบสอบถามกระดาษ (หน่วยงาน/องค์กร)

ผู้ประกันตนมาตรา 33 = 1,433
ผู้ประกันตนมาตรา 39 = 19
ผู้ประกันตนมาตรา 40 = 5
ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ = 21
อื่นๆ = 24
ไม่ระบุ = 17
5. อายุ

เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (http://lawtest.egov.go.th)

15-24 ปี = 185
25-34 ปี = 2,884
35-44 ปี = 7,334
45-54 ปี = 5,686
55 ปีขึ้นไป = 782
ไม่ระบุ = 3,708
เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (https://www.sso.go.th)

15-24 ปี = 528
25-34 ปี = 4,395
35-44 ปี = 6,811
45-54 ปี = 4,676
55 ปีขึ้นไป = 1,167
ไม่ระบุ = 1
แบบสอบถามกระดาษ (หน่วยงาน/องค์กร)

15-24 ปี = 73
25-34 ปี = 437
35-44 ปี = 494
45-54 ปี = 329
55 ปีขึ้นไป = 139
ไม่ระบุ = 47
6. การศึกษา

เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (http://lawtest.egov.go.th)

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า = 1,030
มัธยมศึกษาตอนต้น = 2,555
มัธยมศึกษาตอนปลาย = 4,532
ปวส./อนุปริญญา = 3,028
ปริญญาตรี = 5,150
สูงกว่าปริญญาตรี = 392
ไม่ระบุ = 3,914
เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (https://www.sso.go.th)

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า = 1,249
มัธยมศึกษาตอนต้น = 1,996
มัธยมศึกษาตอนปลาย = 3,272
ปวส./อนุปริญญา = 2,559
ปริญญาตรี = 7,705
สูงกว่าปริญญาตรี = 798
แบบสอบถามกระดาษ (หน่วยงาน/องค์กร)

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า = 31
มัธยมศึกษาตอนต้น = 95
มัธยมศึกษาตอนปลาย = 175
ปวส./อนุปริญญา = 289
ปริญญาตรี = 804
สูงกว่าปริญญาตรี = 609
ไม่ระบุ = 56
7. รายได้

เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (http://lawtest.egov.go.th)

5,000 บาทหรือต่ำกว่า = 1,648
5,001 - 10,000 บาท = 2,905
10,001 - 15,000 บาท = 5,006
15,001 - 20,000 บาท = 3,275
20,001 - 30,000 บาท = 2,369
มากกว่า 30,000 บาท = 1,195
ไม่ระบุ = 4,203
เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (https://www.sso.go.th)

5,000 บาทหรือต่ำกว่า = 635
5,001 - 10,000 บาท = 3,233
10,001 - 15,000 บาท = 5,569
15,001 - 20,000 บาท = 3,666
20,001 - 30,000 บาท = 3,223
มากกว่า 30,000 บาท = 1,253
แบบสอบถามกระดาษ (หน่วยงาน/องค์กร)

5,000 บาทหรือต่ำกว่า = 1
5,001 - 10,000 บาท = 160
10,001 - 15,000 บาท = 610
15,001 - 20,000 บาท = 460
20,001 - 30,000 บาท = 243
มากกว่า 30,000 บาท = 40
ไม่ระบุ = 5
8. ขอเลือก

เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (http://lawtest.egov.go.th)

เลือกรับบำนาญ = 3,523
เลือกรับบำเหน็จ = 12,876
ไม่ระบุ = 4,202
เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (https://www.sso.go.th)

เลือกรับบำนาญ = 8,668
เลือกรับบำเหน็จ = 8,911
แบบสอบถามกระดาษ (หน่วยงาน/องค์กร)

เลือกรับบำนาญ = 955
เลือกรับบำเหน็จ = 534
ไม่ระบุ = 30
9. ขอคืน

เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (http://lawtest.egov.go.th)

ใช้สิทธิรับเงินชราภาพล่วงหน้า   = 13,514
ไม่ใช้สิทธิ = 2,578
ไม่ระบุ = 4,409
เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (https://www.sso.go.th)

ใช้สิทธิรับเงินชราภาพล่วงหน้า = 9,748
ไม่ใช้สิทธิ = 7,831
แบบสอบถามกระดาษ (หน่วยงาน/องค์กร)

ใช้สิทธิรับเงินชราภาพล่วงหน้า  = 595
ไม่ใช้สิทธิ = 869
ไม่ระบุ = 55
10. ขอกู้

เว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย (http://lawtest.egov.go.th)

ใช้สิทธิกู้ธนาคาร = 11,331
ไม่ใช้สิทธิ = 3,738
ไม่ระบุ = 4,532
เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (https://www.sso.go.th)

ใช้สิทธิกู้ธนาคาร = 7,780
ไม่ใช้สิทธิ = 9,799
แบบสอบถามกระดาษ (หน่วยงาน/องค์กร)

ใช้สิทธิกู้ธนาคาร = 636
ไม่ใช้สิทธิ = 817
ไม่ระบุ = 66
6. บทวิเคราะห์ความคิดเห็น

ผลลัพธ์ของ 3 ช่องทางมีความแตกต่างกันอย่างมาก แสดงถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างกัน
คำตอบผ่านระบบกลางทางกฎหมายมีคำตอบไม่สมบูรณ์จำนวนมาก (คิดเป็นประมาณร้อยละ 20 ของจำนวนการตอบทั้งหมดในช่องทางดังกล่าว) เนื่องจากผู้ตอบผ่านระบบกลางทางกฎหมายไม่จำเป็นต้องตอบทุกคำถามก็ได้ ในขณะที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้ผู้ตอบต้องตอบทุกคำถาม ทำให้ได้รับคำตอบที่ค่อนข้างครบถ้วน ทั้งนี้ ทั้งสองแหล่งสามารถมีการตอบซ้ำได้คนละหลายครั้ง ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ ในทางกลับกันคำตอบจากกระดาษมีความน่าเชื่อถือสูงสุด เนื่องจากเป็นตัวแทนหน่วยงาน/องค์กร ซึ่งมีการตอบซ้ำได้ยาก
ผู้ตอบแบบสอบถามในทุกช่องทางส่วนใหญ่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ร้อยละ 71.5 ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด) และส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 34.4 ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด)
ผู้ตอบผ่านช่องทางแบบสอบถามที่เป็นกระดาษ มักจะเป็นผู้แทนบริษัทและหน่วยงานต่างๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกระดาษจำนวนมากไม่ได้รับชมวีดีทัศน์ เนื่องจากไม่ได้เป็นการตอบผ่านระบบออนไลน์จึงหาดูวีดีทัศน์ไม่ได้หรืออาจไม่สะดวกที่จะเข้าไปรับชมวีดีทัศน์ทางสื่อออนไลน์ก่อนตอบแบบสอบถาม
ผู้ตอบผ่านระบบกลางทางกฎหมายส่วนใหญ่เลือกรับบำเหน็จชราภาพ (ร้อยละ 62.5) ในขณะที่ผู้ตอบผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมเลือกรับบำเหน็จชราภาพ (ร้อยละ 49.3) และบำนาญชราภาพ (ร้อยละ 50.7) ใกล้เคียงกัน และผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกระดาษส่วนใหญ่เลือกรับบำนาญชราภาพ (ร้อยละ 62.9)
ผู้ตอบผ่านระบบกลางทางกฎหมายส่วนใหญ่เลือกใช้สิทธิขอรับเงินชราภาพล่วงหน้า (ร้อยละ 65.6) ในขณะที่ผู้ตอบผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมเลือกใช้สิทธิ (ร้อยละ 55.5) สูงกว่าไม่ใช้สิทธิเล็กน้อย และผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกระดาษส่วนใหญ่เลือกไม่ใช่สิทธิ (ร้อยละ 57.2)
ผู้ตอบผ่านระบบกลางทางกฎหมายส่วนใหญ่เลือกใช้สิทธิขอกู้ (ร้อยละ 55.0) ในขณะที่ผู้ตอบผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคมเลือกไม่ใช้สิทธิ (ร้อยละ 55.7) สูงกว่าใช้สิทธิเล็กน้อย และผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกระดาษเลือกไม่ใช้สิทธิ (ร้อยละ 53.8) สูงกว่าใช้สิทธิ
จากการวิเคราะห์ผลพบว่า ไม่มีผลลัพธ์ที่เป็นเอกฉันท์เห็นตรงกันทั้ง 3 ช่องทาง โดยตัวแทนหน่วยงาน/องค์กร (ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33) มีความเห็นที่ตรงข้ามกับผู้ที่ตอบผ่านระบบกลางทางกฎหมาย แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของความเห็นของผู้ประกันกับตัวแทนหน่วยงาน/องค์กร อย่างชัดเจน ดังนั้น ภาครัฐควรพิจารณาให้ความสำคัญระหว่างความต้องการและความจำเป็นของผู้ประกันตน
ผู้ตอบมีการให้ความเห็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องบำนาญชราภาพเป็นจำนวนมากว่า ควรปรับปรุงให้จำนวนบำนาญเพียงพอมากขึ้น รวมถึงการปรับเพิ่มเพดานค่าจ้าง และปรับสูตรการคำนวณบำนาญที่เป็นธรรมมากขึ้น ดังนั้น หากมีการแก้ไขจะทำให้ผู้ประกันตนมีความเชื่อมั่นกับระบบบำนาญมากขึ้น
7. การนำผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมาย

สำนักงานประกันสังคมจะได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพฯ มาประกอบการพิจารณาการจัดทำคำชี้แจงและยกร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... และกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป      


3) การติดตามความช่วยเหลือมาตราเร่งด่วนกับทางคณะกรรมการและเลขาธิการประกันสังคม ปรากฎว่าได้รับแจ้งว่าการประชุมคณะกรรมการประกันสังคมได้ถูกเลื่อนไปในวันที่ 15 มิย. 64  จึงไม่ได้พบกรรมการท่านใด และก็ไม่มีใครให้ข้อมูลได้ว่า คุณทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการฯ มาหรือไม่อย่างไร ทางหมอบูรณ์ จึงเดินทางกลับเพื่อมาวางแผนและตั้งหลักต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563