ประกันสังคมจะปล่อยกู้? (Micro Finance)

 รมว.พิพัฒน์ ชูนโยบาย “ทักษะดี มีงานทํา หลักประกันทางสังคมเด่น เน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” หวัง สปส. ขับเคลื่อนกระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงเศรษฐกิจ 



          เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงาน โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เพื่อขับเคลื่อนสำนักงานประกันสังคมสู่ความสำเร็จด้วย “SSO TRUST” โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค จำนวน 310 คน ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพมหานคร


          นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยในโอกาส เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เพื่อขับเคลื่อนสำนักงานประกันสังคมสู่ความสำเร็จด้วย “SSO TRUST” ว่า ผมได้ติดตามผลงานของสำนักงานประกันสังคมมาโดยตลอดและทราบว่าทุกท่านได้ทุ่มเท เสียสละในการปฏิบัติงาน ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ที่ท้าทายเพื่อให้นายจ้าง และผู้ประกันตนได้รับการคุ้มครอง ดูแล มีหลักประกันในการดำรงชีวิต สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตต่อไปได้ แม้จะต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตต่างๆ จนทำให้ผลการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคมที่ผ่านมาเห็นผลเป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม


          ทั้งนี้ ผมขอฝากนโยบายในการปฏิบัติภารกิจของสำนักงานประกันสังคมในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 “ทักษะดี มีงานทำ หลักประกันทางสังคมเด่น เน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” ของกระทรวงแรงงาน ที่จะใช้ในการขับเคลื่อนภารกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานประกันสังคม ดังนี้

          1. Micro Finance  ลดหนี้ เติมทุน สร้างสุข เพื่อพัฒนาและยกระดับให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้

          2. กองทุนมั่นคง แรงงานมั่งคั่ง ประกันสังคมยั่งยืน โดยต้องบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และมีความยั่งยืน 

          3. Best E-Service ประกันสังคมยุคใหม่ สร้างความมั่นคง เพิ่มความมั่นใจ ยกระดับการให้บริการของสำนักงานประกันสังคม ผ่าน E-service โดยการนำระบบ E-claim  มาใช้ในการให้บริการเบิก-จ่ายเงิน และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกันตน 

          4. สร้างรากฐานเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการคุ้มครองแรงงาน ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้มีความเหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

          5. การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริการทางการแพทย์ ยกระดับการให้บริการทางการแพทย์และการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค แก่ลูกจ้าง ผู้ประกันตนโดยผู้ประกันตนต้องได้รับการบริการทางด้านสุขภาพ อนามัย การรักษาพยาบาลที่ดีขึ้นกว่าเดิม  

          6. จัดทำสิทธิประโยชน์ Package Premium สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 เช่น เพิ่มสิทธิกรณีเจ็บป่วย ชดเชยรายได้ ตามค่าแรงขั้นต่ำ ค่าตอบแทนกรณีนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยอาจยกระดับให้เท่ากับผู้ประกันตนมาตรา 39 รวมทั้งการจูงใจให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ส่งเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง

          ด้าน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม มีภารกิจในการบริหารการประกันสังคมและเงินทดแทน โดยการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้แรงงานมีหลักประกันการดำรงชีวิตที่มั่นคงในการดำเนินงานตามภารกิจได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการสำนักงานประกันสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายระดับต่างๆ โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ เพื่อใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินงานไว้ว่า “องค์กรแห่งความเชื่อมั่นด้านการให้บริการประกันสังคมที่ทันสมัย” สำหรับโครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ เพื่อขับเคลื่อนสำนักงานประกันสังคมสู่ความสำเร็จด้วย “SSO TRUST” ระหว่างวันที่ 25-26 กันยายน 2566 ในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ข้าราชการระดับเชี่ยวชาญ ประกันสังคมจังหวัด หัวหน้าสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา ข้าราชการระดับชำนาญการพิเศษ และข้าราชการที่จะเกษียณอายุราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 310 ท่าน ได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ รวมถึงการร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการขับเคลื่อนภารกิจของสำนักงานประกันสังคมให้สอดคล้องกับแผนและนโยบายระดับต่างๆ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนนโยบายของท่านพิพัฒน์  รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน “ทักษะดี มีงานทำ หลักประกันสังคมเด่น เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” ให้บรรลุผลสำเร็จ ภายใต้แนวคิด  SSO TRUST ที่มุ่งการทำงานเป็นทีม ปฏิรูปองค์กรให้ทันสมัย สร้างความเป็นเอกภาพ ให้บริการเป็นเลิศ และก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยี จนเป็นที่ “ยอมรับ เชื่อมั่น และไว้วางใจ”

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563