สิทธิประโยชน์กรณีทุพพลภาพ



สิทธิประโยชน์กรณีทุพพลภาพ 

ทุพพลภาพประกันสังคมคือ 

ทุพพลภาพตามพระราชบัญญัติประกันสังคม มาตรา 5 หมายความว่า การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือ ร่างกาย หรือสูญเสียสภาวะของจิตใจ จนไม่ สามารถทำงานได้


 

เงื่อนไขการเกิด สิทธิทุพพลภาพ  

ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนทุพพลภาพ 

 

เงินทดแทนทุพพลภาพ จ่ายตามระดับสูญเสีย ต่อไปนี้ 

  1. ระดับสูญเสียไม่รุนแรง ตั้งแต่35% แต่ไม่ถึง50% ได้รับเป็นทดแทนขาดรายได้ 30% ของค่าจ้างปลายเดือน 180 เดือน 
  2. ระดับความสูญเสียรุนแรง 50%ขึ้นไป ได้รับเป็นตัวแทน50%ของค่าจ้างรายเดือนตลอดชีวิต 


เมื่อเข้าสิทธิทุพพลภาพแล้ว นอกจากเงินทดแทนรายได้ทุพพลภาพรายเดือน สิ่งที่ผู้ทุพพลภาพประกันสังคมจะได้ มีดังนี้ 

  1. ค่ารักษาพยาบาล โดยสามารถรักษาโรงพยาบาลของรัฐ ได้ตามจริงตามความจำเป็น ส่วน รักษาโรงพยาบาลเอกชนผู้ป่วยนอกเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2,000 บาทต่อเดือน ผู้ป่วยในเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 4,000 บาทต่อเดือน 
  2. ค่าอวัยวะเทียม และ อุปกรณ์ในการบำบัด รักษาโรค 
  3. ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ 40,000 บาท 
  4. ค่าทำศพและสงเคราะห์กันเสียชีวิต เช่นเดียวกับกรณีตาย 
  5. ค่ายานพาหนะรับส่ง เพื่อรักษาพยาบาลเดือนละ 500 บาท 
  6. มีสิทธิขอรับบำเหน็จชราภาพคืนทันทีเมื่อมีมติเป็นผู้ทุพพลภาพ โดยไม่ต้องรอจนครบอายุ 55 ปีบริบูรณ์ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563