แจ้งลูกจ้างออกงานอย่างไรถึงจะได้เงินว่างงานประกันสังคม

เกร็ดความรู้ในการแจ้งออกผู้ประกันตน...




หากนายจ้าง-ลูกจ้าง แจ้งข้อมูลถูกต้องและรวดเร็ว จะสนับสนุนการวินิจฉัยจ่ายเงินว่างงานได้ถูกต้อง


การพิจารณาจ่ายกรณีว่างงาน...

โดยนายจ้างแจ้งลูกจ้างสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน มีรายละเอียดดังนี้

R1 ลาออก/ กรณีละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 1-6 วัน ถือเป็นการลาออกโดยลูกจ้างเจตนาเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยปริยาย

R2 สิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีระยะเวลากำหนดและเลิกจ้างตามกำหนดนั้น

R3 เลิกจ้าง

R4 เกษียณอายุ

R5 เลิกจ้างโดยสาเหตุที่นายจ้างไล่ออก/ปลดออก จะไม่ได้รับสิทธิกรณีว่างงาน คือ

    1.ทุจริตต่อหน้าที่

    2.กระทำผิดทางอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

    3.จงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

    4.ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบในการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง 

    5.ละทิ้งหน้าที่ 7 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันควร

    6.ประมาท  เลินเล่อ  เป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายอย่างร้ายแรง

    7. ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด  

       เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 

       (มาตรา 119  พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน  พ.ศ. 2541)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563