5 คำแนะนำสำหรับลูกจ้างที่เจ็บป่วยจนทำงานไม่ได้ ที่ดีที่สุด ในการรับสิทธิต่างๆ

ถำถามจากคุณสมัย ผู้ติดคามหมอบูรณ์ในช่องยูทูป 


5 คำแนะนำสำหรับลูกจ้างที่เจ็บป่วยจนทำงานไม่ได้ ที่ดีที่สุด ในการรับสิทธิต่างๆ จาก นายจ้าง และภาครัฐ ไม่ว่าจะประกันสังคม และ กระทรวง พม.

1) ยื่นใบรับรองแพทย์ กับ นายจ้าง 30 วันแรกนายจ้างต้องจ่ายเงินเดือนตามปกติ และส่วนที่เหลือลาป่วยได้สูงสุด 30 วัน ถ้านายจ้างให้ออกจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย รวมทั้งค่าตกใจบอกกล่าวล่วงหน้า 

2) ยื่นใบรับรองแพทย์ ประกันสังคมเพื่อเบิกค่าขาดรายได้ส่วนเกิน 30 วัน ประกันสังคมจ่าย 50% ของฐานเงินเดือน นานสูงสุด 365 วัน

3) ยื่นว่างงานถ้านายจ้างจ้างออกกับประกันสังคมได้รับชดเชย 50% ของฐานเงินเดือนนานสูงสุด 180 วัน

4) เมื่อนายจ้างยื่นประกันสังคม 0 บาท นาน 6 เดือน หรือ ไม่ได้ทำงานนาน 6 เดือน เพราะนายจ้างให้ ออก รวบรวมใบรับรองแพทย์และเวชระเบียนยื่นสิทธิทุพพลภาพประกันสังคม ได้ ครับ 

5) อย่าลืมรวบรวมเอกสารอีกชุดไปทำบัตรผู้พิการกับกระทรวง พม.  จะได้เงินอุดหนุนคนพิการเดือนละ 800 บาท พร้อมบัตรคนพิการ สามารถใช้ขึ้นโดยสามารถสาธารณะได้ และใช้รักษาพยาบาลกับรัฐได้ทุกแห่ง


หมายเหตุ

1) ไม่ควรรีบเข้ามาตรา 39 ทันที 

1.1 หากนายจ้างไม่ไล่ออกสามารถเป็นผู้ประกันตนส่ง 0 บาท ได้นานสูงสุด 12 เดือน

1.2 หากนายจ้างให้ออกงานให้ใช้สิทธิ 6 สิทธตามมาตรา 38 คือผู้ที่ออกจาก มาตรา 33 นาน 6 เดือน หลังจากนั้นจึงพิจารณาต่อ มาตรา 39 ตามความจำเป็น รักษาพยาบาลอาจจะใช้สิทธิบัตรทองแทนก็ได้ 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563