อย่าเพิ่งรับบำนาญชราภาพ หากไม่รู้เรื่องนี้

 

วิธีที่จะทำให้ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 ที่จะรับบำนาญชราภาพ (เงินรายเดือนตลอดชีพ) ได้รับเงินต่อเดือนสูงที่สุด 


แผนภาพแสดงสูตรคำนวณเงินบำนาญชราภาพ

"เงินบำนาญชราภาพ" คือ เงินกรณีชราภาพที่ประกันสังคมจ่ายให้ผู้ประกันตนรายเดือนตลอดชีวิต ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ  20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และจะบวกเพิ่มอีก 1.5% ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน

ดังนั้นปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อเงินบำนาญต่อเดือน

1) ฐานเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย ที่นำมาคำนวณจ่ายเงินบำนาญชราภาพ ปัจจุบันฐานเงินเดือนสูง 15,000 ในมาตรา 33 ส่วนมาตรา 39 จะอยู่ที่ 4,800 บาท

2) จำนวนเดือนที่ส่งสมทบเพิ่ม จาก 180 เดือน จะได้รับ โบนัสเงินเพิ่มทุกๆ 12 เดือน เป็น 1.5% ของฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 

ตารางสรุปเงินบำนาญรายเดือนของผู้ที่เงินชราภาพสูงสุดเมื่อทำงาน มา 35 ปี จะได้สูงสุด 50% ของ 1,5000 บาท จะเท่ากับบำนาญชราภาพ เดือนละ 7,500 บาท


ดังนั้นเคล็ดไม่ลับในการให้ได้เงินบำนาญชราภาพสูงสุดต่อเดือน คือ

1) ควรทำงานหรือส่งเงินสมทบ 60 เดือนสุดท้ายก่อนครบอายุ 55 ปีบริบูรณ์ที่มีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน และผู้ที่เคยอยู่มาตรา 33 มานานฐานเงินเดือนเกินกว่า 4,800 บาท ควรคิดและตัดสินใจก่อนสมัครใจเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 

2) ก่อนที่อายุจะครบ 55 ปี ควรทำการตรวจสอบว่าเราส่งเงินสมทบมาแล้วทั้งหมดกี่เดือน เมื่อนับได้แล้ว ให้เอา เลข 12 หาร และหารให้ลงตัว เช่น 180, 192, 204... เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ ทุกๆ 12 เดือนได้เงินเพิ่มสูงสุด 225 บาท 

*ข้อเตือนใจคิดให้ดีก่อนส่งมาตรา 39 ถ้าต้องการรักษาพยาบาลและนำว่าให้ส่ง มาตรา 39 ไปตลอดชีพ และให้เงินชราภาพที่สะสมตกเป็นมรดกกับทายาท

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563