แจกกระดานคำนวน บำเหน็จก้อน และ บำนาญก้อน (22 สค 2565)

กระดานคำนวน "บำเหน็จก้อน" และ "บำนาญก้อน"

วิธีคำนวนเงินชราภาพประกันสังคม ทั้งบำเหน็จชราภาพ (เงินก้อน) ครั้งเดียว และ บำนาญชราภาพ (เงินรายเดือนตลอดชีพ  ล่าสุด (22 สิงหาคม 2565) 


ร่วมพัฒนาโดยหมอบูรณ์ boona@showcopyshow.com และ คุณจักร์กฤษณ์  jakgridch@gmail.com


เป็นการพัฒนากระดานคำนวณเพื่อเพื่อนๆ ที่กำลังจะรับเงินชราภาพ ให้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะเลือกรับเงินชราภาพประกันสังคมในรูปแบบบำเหน็จชราภาพ หรือบำนาญชราภาพ หากต้องการกระดานคำนวณให้ทำการแอดไลน์หมอบูรณ์ ที่ ไอดี @962BAJKU คลิก  https://lin.ee/F2pfjCF

ตารางคำนวณใช้กับใคร?

1.    ผู้ส่งสมทบชราภาพน้อยกว่า 180 เดือน รับบำเหน็จอย่างเดียวให้กรอกเฉพาะเงินสะสมรายปี  เพื่อคำนวณผลประโยชน์ แล้วดูจำนวนเงินบำเหน็จที่ ช่องสีเขียวล่างสุดของตาราง

 

2.    ผู้ที่ส่งสมทบชราภาพตั้งแต่ 180 เดือน หรือมากกว่า หลังจากทราบเงินสะสมแต่ละปี และ เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน ให้กรอกข้อมูลช่องสีขาวตัวหนังสือแดง แล้วพิจารณาว่าจะรับบำเหน็จหรือบำนาญ เมื่อกฎหมายใหม่เรียบร้อย

ข้อแนะนำในการกรอกกระดานคำนวณ

ตารางคำนวณนี้ให้กรอกข้อมุลที่เป็นตัวเลขสีแดงเท่านั้น คือ

 

1.    กรอกจำนวนเดือนที่ทำงานส่งสมทบ  (กรณีที่ทราบเดือน ให้คำนวณเป็นปี เริ่มนับ ปี พ.ศ. 2542 ถึง ปัจจุบัน)

 

2.    กรอกเงินสะสมรายปีของส่วนสมทบชราภาพ    เพื่อคำนวณเงินบำเหน็จ ประกอบไปด้วยสมทบของผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) นายจ้าง และ รัฐบาล (ถ้ามี)

 

3.    กรอกเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน  เป็นฐานเงินเดือนส่งสมทบประกันสังคม เพื่อคำนวณเงินบำนาญ

 

 

ข้อมูลที่ผู้ประกันตนต้องทราบ มาตรา 33 และ มาตรา 39

 

1.    ทำงานส่งประกันสังคมกี่ปี (เศษเดือนตัดทิ้ง) เริ่มนับเพื่อกรอกตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2542 ถึงเดือนที่ลาออกจากประกันสังคม

 

2.    เงินเดือนเฉลี่ย 5 ปี (60 เดือน)

 

3.    เงินสะสมรายปี ที่เป็นเงินส่วนสมทบชราภาพของทั้ง สามฝ่าย ตั้งแต่ ปี 2542 


 


ในตารางที่ต้องใส่ข้อมูลช่องสีขาวตัวหนังสือสีแดงคืขอความกรุณกรอกชื่อ และ วันเดือนปีเกิด ให้ด้วย เพื่อจะเป็นประโยชน์ในการบ่งชี้และวิเคราห์ความถูกต้องของข้อมูล

 

1.    มุมขวาบนของตาราง คำนวณปี ในกรณีที่ทราบ เดือนที่ส่งเงินประกันตน (จะออกเป็นจำนวนปีไม่ต้องสนใจตัวเลขหลังจุดทศนิยม)

 

2.    ถ้าทำงานน้อยกว่า 15 ปี  1 ถึง 14 ปีให้กรอกช่อง เงินสะสมรายปี และดูช่องล่างขวามือ รับเงินบำเหน็จอย่างเดียว

 

3.    ถ้าทำงานตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

 

-       ให้กรอกช่อง เงินสะสมรายปี แต่ละปีที่มีเงินสะสมรายปี 

 

-       กรอก เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน ในบรรทัดที่ปีทำงานเพียงช่องเดียว จะเห็น เงินบำนาญ (รับเงินก้อน 60 งวด กับ งวด 61 จนเสียชีวิต) และ บำเหน็จ ในบรรทัดนั้น



ตัวอย่างคนที่ ส่ง มาตรา 33 และ 39 โดยส่งมาตรา 39 ใน 60 เดือนสุดท้าย 

หากเลือก

#บำเหน็จก้อนเดียว จะได้รับเงิน =132,277 บาท 

#บำนาญก้อนแรก จะได้รับเงิน = 87,840 บาท 




ตัวอย่างคนที่ ส่ง มาตรา 33 มาตลอด

หากเลือก #บำเหน็จก้อนเดียว จะได้รับเงิน =326,517บาท 


หากเลือก #บำนาญก้อนแรก จะได้รับเงิน = 274,500  บาท  และเงินบำนาญงวดที่ 61 = 4,575 บาท เพราะส่งมา 22 ปี 






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563