ม.33 การเบิกสิทธิประโยชน์ขาดรายได้กับ สปส. ในกรณีเจ็บป่วย และ กรณีกักตัวสัมผัส


 ลูกจ้าง ม.33 กรณีขาดรายได้ (ติดโควิด-19)

นายจ้างต้องรับผิดชอบค่าจ้างให้ลูกจ้างโดยใช้สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 32 และมาตรา 57 ใช้สิทธิลาป่วยได้ 30 วัน/ปี  หากหยุดเกิน 30 วัน ตามใบรับรองแพทย์และนำส่งเงินสมทบมาแล้ว 3 เดือนใน15 เดือนก่อนเกิดเหตุ สามารถขอรับเงินชดเชยการขาดรายได้ 


โดยมีเอกสารประกอบการยื่นเรื่องคือ

1.แบบ สปส.2-01

2.ใบรับรองแพทย์ต้นฉบับ(สั่งให้หยุดพักรักษาตัว)

3.หนังสือรับรองนายจ้าง

4.สถิติวันลาป่วย ของปี

5.สำเนาบช.ธนาคารหน้าแรก

***ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนได้ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ จัดส่ง ปณ.


กรณีกักตัวไม่ได้รับค่าจ้าง

(ย้ำ...ต้องไม่ติดโควิด-19)

ให้นายจ้างยื่นในระบบ e-service และนำส่งแบบมาที่ประกันสังคม ได้รับ 50% ของค่าจ้างไม่เกิน 15,000

1.สปส.2-01/7

2.ใบรับรองแพทย์หรือหนังสือจากจนท.ควบคุมโรค ที่สั่งกักตัว 

3.สำเนาบช.ธนาคารหน้าแรก

หากไม่มีข้อ 2 ให้ใช้ของผู้ติดเชื้อที่เราไปสัมผัสแทนได้ แต่ให้นายจ้างหมายเหตุมาเพิ่มด้วย

หมายเหตุ 

อาจมีข้อยกเว้น ที่ลูกจ้างราชการอาจเบิกได้เลย ในกรณีราชการไม่อนุญาตให้ลาป่วยได้เงิน หรือ บางแห่งระบุให้ลาได้ 7 หรือ 14 วัน หรือแม้กระทั่งลูกจ้างรายวันเอกชน ที่อาจจะได้เงินจากวันที่มาทำงานเท่านั้น ก็อาจจะเบิกชดเชยการขาดรายได้ ม.33 ได้ เช่นกัน ควรปรึกษาสำนักงานประกันสังคม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563