คุณพ่อเสียชีวิต แต่ก่อน ทำม.33 จนเกษียณ แล้วแก มาทำม.40 ต่อมาเกือบปี เราจะได้รับสิทธิอะไรบ้างค่ะ

 


ผู้ประกันตนที่เคยเป็นผู้ประกันตน ม.33 และ สมัคร ม.40 ทายาทจะได้รับเงินอะไรบ้างเมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิต? 

หลักการคือจ่ายผลประโยชน์แยกกันคิดระหว่าง ม.33 กับ ม.40 

โดยของ ม.33 ตามคำถามคืออนุมานว่าน่าจะรับเงินชราภาพแล้ว เพราะเขียนว่าแต่ก่อนทำ ม.33 จนเกษียณ 

ถ้ายังไม่เคยเข้าสิทธิชราภาพ ทายาทรับเงินมรดกตาม ม.77 จัตวา คือ ลูก คู่สมรส พ่อแม่ และบุคคลที่ระบุในหนังสือรับผลประโยชน์ มีสิทธิรับเงินคนละส่วนในรูปแบบบำเหน็จชราภาพ (อาจบวกกับเงินสงเคราะห์การตาย และค่าทำศพ ถ้ายังอยู่ใน ความคุ้มครอง ม.38 นาน 6 เดือน หลังสิ้นสภาพ มาตรา 33) 

ถ้า ม.33 เข้าสิทธิชราภาพเรียบร้อยแล้ว 

1)ถ้ารับเงินชราภาพในรูปบำเหน็จไปแล้วทายาทจะไม่ได้รับอะไรแล้ว 

2)เสียชีวิตขณะกำลังรับบำนาญ

2.1 ถ้ารับบำนาญไม่ถึง 60 เดือนทายาทรับ 10 เดือน รวมกับงวดที่ค้างในงวดแรก และงวดสุดท้ายของเดือนที่มีชีวิต อาจจะได้รับ 10-12 เดือน 

2.2 ถ้ารับไปแล้วตั้งแต่ 60 เดือนจะได้รับ 1-2 เดือน ขึ้นกับว่าเสียชีวิต 

2.2.1เสียก่อน 25 ของเดือน ควรจะได้รับ 2 เดือน 

2.2 2 หากเสียชีวิต 25 ถึง สิ้นเดือน ได้รับเงินโอนรอบของเดือนก่อนที่เสียชีวิตมาแล้ว จะได้รับ 1 เดือน  ของเดือนที่เสียชีวิต  

 

ส่วนการสมัคร ม.40 มาเกือบปี หากส่งมา 6 ใน 12 เดือน ก็จะมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การตาย 25,000 หรือ 50,000 บาท ขึ้นกับทางเลือกส่งเงินสมทบ 

1) ทางเลือก 1-2  ได้รับ  25000 บาท 

2) ทางเลือก 3 ได้รับ 5000 บาท 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563