นับจากยื่นสิทธิประโยชน์ชราภาพ จะใช้เวลากี่วันได้รับเงินบำนาญครั้งแรก


ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมานานกว่า 15 ปี คงอยากจะรู้ว่าเมื่อใดจะได้เงินที่ส่งมาตลอดชีวิตคืน


ตามที่เรารู้กันว่ากฎหมายประกันสังคมมี 1 ใน 6 สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ที่ส่งเงินทบในสัดส่วนที่มากที่สุดคือ สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และทุกคนต่างเฝ้ารอวันที่จะได้เงินนั้นตอบแทน โดยกฎหมายกำหนดให้

  • คนที่ส่งไม่ถึง 180 เดือน ให้รับเป็นเงินก้อนเดียวที่เรียกว่า "บำเหน็จชราภาพ" ประกอบไปด้วยเงินสมทบส่วนชราภาพของตนเองและของนายจ้างถ้ามี พร้อมกับผลประโยชน์ของเงินชราภาพนั้น 
  • คนที่ส่งตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไปจะได้รับเป็นเงินเท่าๆ กันทุกเดือนไปจนเสียชีวิต เรียกว่า "บำนาาญชราภาพ" คำนวนจากฐานเฉลี่ย 60 เดือนของเงินเดือนที่ส่งเงินสมทบคิดที่ 15,000 บาท โดยเริ่มให้ที่ 20% ของค่าเฉลี่ยหากส่งครบ 180 เดือน และส่วนที่ส่งเกินจะได้เพิ่ม ทุกๆ 12 เดือน 1.5% 
หลายครั้งมีคนถามว่าจะได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ชราภาพเมื่อใด กฎหมายกำหนดให้ว่าผู้ที่จะเข้าสิทธินี้จะต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และคาดการณ์ว่าจะขยายอายุออกไปเป็น 60 ปีบริบูรณ์ในระยะอันใกล้นี้ และจะต้องสิ้นสภาพความเป็นผู้ประกันตน จึงจะขอเข้าสิทธินี้ได้ มีคำถามว่ามีอายุครบ 55 และลาออกหรือถูกให้ออกตากงานหรือไปลาออกแล้วจะได้เงินเมื่อไหร่ มีคำตอบตามรูปภาพคือ 

แผนภาพวันดำเนินการจาก สปส. ศรีราชา
  • ถ้ารับเป็นบำเหน็จเงินชราภาพจะใช้เวลา 30 วันทำการ เป็นเงินก้อนเดียว
  • ถ้ารับเป็นบำนาญชราภาพตามหนังสือเขียนว่า 60 วันทำการ หมอบูรณ์ เคยได้ยินเพื่อนสมาชิกบางท่านบอก 2 เดือน บางท่านบอกมากกว่า 2 เดือน หรือบางท่านบอกมากกว่า 3 เดือน 


เหตุใดจึงมีความหลากหลายของจำนวนวันที่ไปยื่นเอกสาร บางที่บอกยื่นเอกสารไม่ครบบ้าง แต่ถ้ายื่นครบก็ต่างกัน เชื่อว่าขึ้นกับวันที่ไปยื่น 
  • ถ้าวันที่ครบสิทธิตรงกับวันสิ้นเดือนพอดี* เช่นเกิดวันสิ้นเดือน หรือออกจากงานสิ้นเดือน และไปยื่นเจ้าสิทธิในวันรุ่งขึ้นได้เลย คือวันที่ 1 ของเดือน จะทำให้เมื่อนับวันในเดือนนั้นเต็มเดือน เมื่อนับได้เต็มเดือนก็จะได้สิทธิในเดือนนั้นโดยกฎหมายกำหนดให้จ่ายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป ในกรณีนี้จะรอเพียง 53, 54, 55 หรือ 56 วัน ขึ้นกับว่า ไปยื่นเข้าสิทธิในเดือนที่มีกี่วัน เช่น กุมภาพันธ์ 28 หรือ 29 วัน เดือนที่ลงท้ายด้วยยน 30 และ คม 31 วัน
  • ถ้าหากไม่ได้ยื่นในวันแรกของเดือน เดือนแรกจะไม่นับ จะไปนับในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป พอครบเดือนก็เริ่มเกิดสิทธิเดือนแรก โดยขะไปจ่ายในอีก 25 วันของเดือนที่ครบสิทธิ ทำให้เงินบำนาญชราภาพงวดแรก อาจจะได้เมื่อยื่นไปแล้วเกือบ 2 เดือน มากกว่า 2 เดือน หรือ เกือบ 3 เดือน คนที่เกิดวันที่ 1 ของเดือน จะต้องไปยื่นสิทธิในวันที่ 2 ของเดือนจะต้องรอเงินบำนาญฯงวดแรกนานที่สุด 


ข้อสังเกตุ
  1. เดือนที่ไม่ครบเดือนแรกจะถูกตัดไม่มาคำนวน
  2. การที่จ่ายช้าออกไป 25 วัน จะทำให้ผู้ประกันตนไม่ได้รับเงินงวดแรกจนกว่าจะเสียชีวิต สิทธิบำนาญฯ หยุดลง หากเสียชีวิตก่อนวันที่ 25 และประกันสังคมยังไม่ได้โอนจ่ายเงินของเดือนที่ผ่านมาก็จะตกเป็นมรดกสู่ทายาท
  3. หากผู้ประกันตนเสียชีวิตสิทธิบำนาญชราภาพก็จะหยุดลง โดยจะมีการคิดให้เต็มเดือนไม่ว่าผู้ประกันตนจะเสียชีวิตวันใด 
  4. ผู้ประกันตนที่รับบำนาญไม่ถึง 60 เดือน เสียชีวิตจะได้รับเงินเป็นมรดกให้ทายาท 10 เดือน 
  5. รวม ข้อ 2,3 สำหรับผู้ประกันตนที่รับเงินชราภาพไปแล้ว 60 เดือนขึ้นไป เป็นมรดก 2 เดือน
  6. รวม ข้อ 2,3,4 สำหรับผู้ประกันตนที่รับเงินชราภาพไม่ถึง 60 เดือน เป็นมรดก 12 เดือน 
*ตัวอย่างที่ใช้เวลา 56 วัน 

สรุปจากข้อมูละการวิเคราห์เร็วสุดน่าจะ 53 วัน คือคนที่เกิดหรือออกงาน  31  มกราคม แล้วไปยื่นเข้าสิทธิบำนาญชราภาพในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563