ข้อคิดที่ได้จาก การเดินเท้าสามร้อยกว่ากิโลเมตร ของ ชาญ นามโยธา เกี่ยวกับสิทธิประกันสังคม

 


สิ่งที่ได้จากการเดินเท้ากว่า 300 กิโลเมตร จาก อำเภอประทาย นครราชสีมา มาที่ กระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานคร  เพื่อขอรับเงินชราภาพในรูปบำเหน็จเงินก้อน เพื่อจะนำเงินนี้ไปไว้ลงทุน คือคำว่า "ไม่มีกฎหมาย" "ทำให้ไม่ได้" และข้อสงสัยเหตุใด ยื่นเรื่องรับบำนาญชราภาพไว้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 64 แต่กลับได้เงินบำนาญชราภาพเดือน แรก 4200 กว่าๆ เพียง 1 เดือน ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 64 ทำไม? ไม่จ่ายของเดือน ตุลาคม ได้รับคำตอบว่า "ประกันสังคมจะเก็บเงินส่วนนี้ไว้จ่ายตอนตาย" !!! เป็นคำตอบที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ประกันสังคม กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่ 3 



เป็นข้อสรุปที่หมอบูรณ์ ได้คุยกับ 'พี่ชาญ นามโยธา' ก่อนที่พี่ชาญจะตัดสินใจกลับประทายไป ในช่วงสายๆ ของ วันที่ 16 ธันวาคม 64 

นายชาญ นามโยธา สมาชิกของกลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทานมาตั้งแต่เริ่มช่วงก่อตั้งกลุ่ม เมื่อเกือบ 2 ปีที่แล้ว เคยโทรปรึกษาในเรื่องสิทธิประโยชน์ประกันสังคมกับหมอบูรณ์หลายครั้งและเคยพยายามมาร่วมเรียกร้องสิทธิฯ 

พี่ชาญผู้ประกันตน ม.33 มายาวนานกว่า 20 ปี ทำงานที่ รพ. ประทาย จังหวัดนครราชสีมา ในตำแหน่งช่างประปา เพิ่งปลดเกษียณงานที่ อายุ 60 ปีเศษ ในวันที่ 30 กันยายน 64 และพี่ชาญได้ไปที่ สำนักงานประกันสังคมสาขาโนนสูงเพื่อขอเข้าสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะนำเงินงวดแรกจ่ายให้ภายใน 3 สัปดาห์ แต่ เมื่อครบเวลาที่แจ้งกลับไม่ได้เงิน และรอจนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 64 ปรากฎว่ามีเงินเข้ามาเพียง 4200 กว่าบาท ทางพี่ชาญจึงสอบถามกับประกันสังคมโนนสูงกลับได้รับคำตอบเพียงแต่ว่าถูกต้องแล้วไม่ได้รับคำอธิบายแต่อย่างใด และความต้องการแท้จริงแล้วก็ไม่ได้อยากได้เงินในรูปแบบเงินบำนาญเป็นเศษๆ นี้ 

จนเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 64 พี่ชาญได้ส่งข้อความมาในยูทูบ ของหมอบูรณ์ ว่าจะเดินวิ่งลงมาที่กรุงเทพฯ เพื่อมาเรียกร้องสิทธิของตนเองใน 2 ประเด็น คือ 

1) เงินชราภาพในส่วนของเดือนตุลาคมที่ยังไม่ได้
2) อยากเรียกร้องรับเงินที่สะสมไว้ในส่วนของเงินชราภาพคืนทั้งหมด หรืออย่างน้อยก็บางส่วน หรือให้กู้ก็ได้ เพื่อนำไปลงทุน

หมอบูรณ์เมื่อได้รับข้อความที่ส่งมาในคอมเม้นต์ยูทูบก็ไม่ได้คิดว่าพี่ชาญที่อายุ 60 ปี จะเดินทางลงมาจริงหรือไม่ พยายามสอบถามกลับไปที่ข้อความที่คอมเมนต์ทิ้งไว้ใต้คลิป พี่ชาญก็ตอบกลับมาบ้างไม่ได้ตอบกลับมาบ้าง ว่าตอนนี้แกอยู่ที่ใดแล้วมาบ้าง เช่นปากช่อง  และก็ไม่ได้สื่อสารใดๆ ต่อกัน จริงจัง จนกระทั่งแกส่งข้อความมาในคอมเม้นต์ต่างๆ ถี่ๆ จึงได้แลกไลน์กัน พี่ชาญแกได้ส่งภาพมาให้ในไลน์ปรากฎว่าแกอยู่บริเวณหน้าค่ายอดิศร สระบุรี  อยู่บนทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ผ่าน ปั้ม พีทีที กม. 100 (สามชาย) และคืนนั้นแกแจ้งว่านอนค้างแรมที่ตำรวจทางหลวงพหลโยธิน 

เช้าวันที่ 15 ธันวาคม พี่ชาญแกส่งข้อความมาทางไลน์ ว่าแกเดินทางต่อ แกได้รับคำแนะนำจากเพื่อนสมาชิก คุณติ๋ว แนะนำให้เขียนป้าย แกเก็บแผ่นยิบซัมบอร์ที่แตกข้างทางมาเขียนด้วยตัวแกเองที่ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่งพร้อมกับให้เด็กวัยรุ่นที่พบในปั้มนั้นถ่ายคลิปการเรียกร้องของแกส่งมาให้พร้อมกับถือป้ายนั้นมาด้วย ปรากฎว่าเมื่อแกถือป้ายได้มีคนที่เห็นแล้วเขามาสอบถามพร้อมให้อาหารและเงินค่าเดินทางกับแกแกบอกแกไม่รับเงินนั้น

ช่วงสายของวันที่ 15 หมอบูรณ์จึงเดินทางไปหาพี่ชาญ โดยพยายามหาเช่ารถไปรับแก แต่หาเช่าไม่ได้ ได้โทรประสานกับแกว่าจะไปรับ พี่ชาญบอกว่าแกวิ่งมาใกล้ถึงประตูน้ำพระอินทร์แล้ว หมอบูรณ์และติ๋วจึงโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสไปลงที่สถานี รพ.ภูมิพล ต่อรถเมล์สาย 34 ไปต่อรถตู้ ต่างจังหวัดที่ฟิวเจอร์ปาร์ค ลงที่ตลาดโรงเกลือนวนคร เดินข้ามฝั่งไปที่สถานีตำรวจทางหลวง 1 พบกับพี่ชาญเป็นครั้งแรก ตามคลิป 


เย็นถึงค่ำวันนั้น พวกเราพาพี่ชาญเข้ากรุงเทพฯ ตามวิธีที่ไปรับแก พาพี่ชาญแกนั่งรถไฟฟ้าครั้งแรกในชีวิต  ที่ บีทีเอส แยค คปอ. เดินทางต่อ พวกเรากินข้าวด้วยกันที่ ใต้ บีทีเอส เสนานิคม ติ๋วแยกกับบ้านที่สถานีนี้ พี่ชาญบอกว่าพรุ่งนี้จะไปที่กระทรวงแรงงานด้วยตัวแกเอง พี่หมอแยกกับแกที่สถานี บีทีเอส อนุสาวรีย์ฯ คืนนั้นพี่ชาญไปนอนที่หน่วยงานองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกบนถนนวิภาวดี ด้วยพี่ชาญเป็นทหารผ่านศึกมาก่อน และอยู่ๆใกล้กระทรวงแรงงานดินแดง

เช้าวันที่ 16 ธันวาคม เวลา 8  นาฬิกา เศษๆ พี่หมอโทรหาเลขาธิการประกันสังคม ขณะที่ พี่ชาญ แกไปที่ กระทรวงแรงงาน พนักงานรักษาความปลอดภัยพาพี่ชาญไปที่สำนักงานประกันสังคม แกสอบถามเรื่องเงินชราภาพของเดือน ตุลาคมที่ตกเบิก และร้องขอที่จะรับเงินชราภาพของแกเป็นบำเหน็จ หรือขอคืนบางส่วน หรือขอกู้เงินที่สะสมไว้

พนักงานที่แกเจอตอบว่า  "ไม่มีกฎหมาย" "ทำให้ไม่ได้" และข้อสงสัยเหตุใด ยื่นเรื่องรับบำนาญชราภาพไว้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 64 แต่กลับได้เงินบำนาญชราภาพเดือน แรก 4200 กว่าๆ เพียง 1 เดือน ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 64 ทำไม่ไม่จ่ายของเดือน ตุลาคม ได้รับคำตอบว่า "ประกันสังคมจะเก็บเงินส่วนนี้ไว้จ่ายตอนตาย"  เป็นคำตอบที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ประกันสังคม กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่ 3 

ส่วนทางเลขาธิการประกันสังคมได้มอบหมายให้เลขานุการมาคุยกับพี่หมอบูรณ์ ทางเลขานุการได้สอบถามข้อมูลของพี่ชาญ ได้ให้คำตอบดังนี้ การได้รับเงินบำนาญชราภาพจะล่าช้าออกไป 25 วัน เป็นเรื่องปกติ โดยพบว่าพี่ชาญยื่นเข้าสิทธิชราภาพวันที่ 1 ตุลาคม เมื่อครบ 31 ตุลาคม จะนับเป็น 1 เดือน เงินจะจ่ายวันที่ 25 พฤศจิกายน ถูกต้องแล้ว เพราเป็นระเบียบว่าจะสรุปยอดตั้งแต่วันที่เกิดสิทธิตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนจนถึงวันสิ้นเดือน แล้วจะทำการจ่ายในทุกๆ วันที่ 25 ของเดือนถัดไป

ในกรณีที่สมัครเข้ารับสิทธิไม่เต็มเดือนจะเริ่มนับให้ในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป และหลังจากนั้นก็จะได้รับทุกวันที่ 25 ของเดือนจนเสียชีวิต และถ้าหากผู้ประกันตนเสียชีวิตจะได้รับของเดือนก่อนหน้า และ เงินของเดือนเสียชีวิตเต็มจำนวน แม้จะเสียชีวิตก่อนสิ้นเดือนก็ตาม

อ่านมาถึงตรงนี้ เพื่อนๆ คิดว่าระเบียบวิธีการจ่ายเงินบำนาญชราภาพนี้เป็นอย่างไร? บ้าง ช่วยคอมเม้นต์แสดงความคิดเห็นด้วย 

ส่วนเรื่องการขอเลือก ขอคืน ขอกู้ นั้น พี่หมอไม่ได้สอบถามเลขานุการฯเพราะได้ถามเลขาธิการประกันสังคมแล้ว ท่านว่า 21 ธันวาคมรอดูว่า ครม. จะเห็นชอบต่อการยกร่างหรือไม่อย่างไร...

ท้ายที่สุดขอชื่นชมความมุ่งมันตั้งใจชองพี่ชาญ นามโยธา ที่เดินวิ่งเข้ามาที่กระทรวงแรงงานในครั้งนี้ แกกำลังเดินทางกลับไปประทายแล้ว ล่าสุดเช็คเมื่อช่วงหัวค่ำของวันนี้

ปล. เนื่องจากพี่ชาญออกงานหลังจากอายุ 55 ปี สิทธิสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานก็ไม่ได้ทั้งที่ก็จ่ายเงินสมทบ (เบี้ย) ในส่วนนี้ ข้อนี้ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี เสียเปรียบจริง เพราะกฎหมายอ้างว่าไม่ให้รับสิทธิซ้ำซ้อน จริงๆ ควรพิจารณาให้สิทธิที่มีประโยชน์สูงกว่าไหม? 

ข้อความที่พี่ชาญฝากถึงพี่น้องผู้ประกันตนหลังกลับถึงประทายแล้ว 
"ขอวิงวอนพี่ๆน้องๆพวกเราชาวประกันตนมารวมใจกับนายชาญสักวันจะได้ไหมแล้วก็นัดวันเวลาผมจะเป็นแกนนำเองผมไม่กลัวหรอกโดนขังคุกเพราะผมไม่ได้ไปปล้นไปจี้ไปลักไปขโมยแต่ผมอยากได้เงินตัวเองกลับคืนมา"


ความคิดเห็น


  1. ความเห็นส่วนตัว คิดว่าในทางที่ถูกต้อง ควรให้ผู้เอาประกันสังคมมีสิทธิ์เลือกที่จะรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญไม่ควรบังคับว่าครบ 15 ปีขึ้นไปต้องรับเป็นบำนาญ เพราะ หลายๆ คน ก็ต้องการเงินไปลงทุนทำกิจการ ผู้เอาประกัน ควรมีสิทธิ์ตัดสินใจเลือกเพราะเป็นเงินของประกันที่สะสมมาทั้งชีวิต ถ้าให้เป็นบำนาญใครจะรู้ได้เกิดรับไปไม่กี่เดือนแล้วเสียชีวิตไป เงินแสนๆ ที่สะสมมาก็หมดสิทธิได้ใช้
    สรุปว่าควรให้สิทธิ์ผู้ประกันตนได้เลือกเองจะดีที่สุด และยุติธรรมกับผู้เอาประกันมากที่สุดค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. นี่แหละครับ ความไม่เป็นธรรม ที่พวกเราต้องช่วยกันทำให้เป็นธรรม

      ลบ
    2. นี่แหละครับ ความไม่เป็นธรรม ที่พวกเราต้องช่วยกันทำให้เป็นธรรม

      ลบ
  2. ไม่มีความเป็นธรรมอะไรกับการมาเป็นผปกต.มีแต่เอารัดเอาเปรียบทุกอย่างหรอคิดดูเล่นๆเราฝากเงินเดือนละ500×12×30ปีเรายังมีดอกมีผลจากธนาคารบ้างและสามารถถอดออกได้เมื่อเดือดร้อนจำเป็นแต่ปกส.ไม่มีดีอะไรเลยช่วยเหลือเยียวยาเวลาเดือดร้อนก็ไม่เคยมีขอเลือขอคืนขอกู้ก็ไม่มีผปกต.ไม่ใช่น้อยๆดูพี่ชาญสิแกเดินเท้ามาเพื่อเรียกร้องเงินในส่วนของพี่แกคุณทำไมไม่ให้เค้ามีสิทธิ์เลือก

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ทุกคนเดือดร้อน แต่เขาทำเป็นมองไม่เห็น เห็นก็มองว่าพวกเราไม่สำคัญ เป็นคนกลุ่มน้อย ครับ ช่วยพี่หมอแชร์ ด้วยนะครับ

      ลบ
  3. มันเอาเงินเราไปแดกหมดแล้วครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เขาบริหารแบบที่ไม่ได้เอาแระโยชน์ของผู้ประกันตนเป็นที่ตั้งเท่าที่ควร ครับ

      ลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563