ข้อดีเดียวของการขยายอายุรับเงินชราภาพ จาก 55 เป็น 60 ปี

ข้อดีเดียวของการขยายอายุรับเงินชราภาพ จาก 55 เป็น 60 ปี 

จากการที่ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 64 ทางเพจสำนักงานประกันสังคมได้โพสต์ข้อความเรื่องเกี่ยวกับการขยายอายุคุณสมบัติของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมสิทธิประโยชน์เงินชราภาพจากอายุ 55 ปี เป็น 60 ปีบริบูรณ์ โดยให้เหตุผลถึงเรื่องอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรไทยกับความมั่นคงของกองทุนประกันสังคม อีกทั้งการที่จะบังคับใช้ข้อกำหนดนี้กับผู้ประกันตนใหม่หรือผู้ที่มีอายุน้อย และบอกว่าการขยายเวลาออกไปถึงอายุ 60 ปี จะทำให้เงินบำนาญชราภาพรายเดือนเพิ่มขึ้น 7.5% 

ซึ่งหมอบูรณ์เห็นว่าการเพิ่มขึ้นของบำนาญรายเดือนนั้นไม่ได้เป็นประโยชน์จริง เพราะถ้าว่าคนที่ทำงานเกษียณตอน 60 ก็จะได้เงินเพิ่มเช่นกันโดยไม่ต้องแก้กฎหมายเรื่องอายุนี้ แต่การแก้กลับจะเป็นโทษกับคนที่ต้องเกษียณ ก่อน 60 ปี เพราะเมื่อออกจากงานแล้วก็ต้องมารอเฉยๆ ซึ่งเท่าที่ทราบคนใช้แรงงานที่ทำงานในโรงงานส่วนใหญ่พออายุมากกว่า 40 ก็จะอาจถูกปลดออกจากงานแล้ว ปัจจุบันยังมีโรงงานไหนที่พอรับคนอายุ 45 ขึ้นเข้าทำงานไหม และคนที่อายุเกิน 55 ปีใครยังจะทำงานแรงงานอยู่ได้อีก ถ้าหากออกกฎหมายบังคับผู้ประกันตนที่ตกงานอายุ 55 ให้ต้องไปรับเงินชราภาพที่ส่งสมทบไว้ ณ. 60 ปีบริบูรณ์ ก็ขอให้ สำนักงานประกันสังคม หรือ กระทรวงแรงงาน หรือ รัฐบาล รับคนเหล่านั้นทำงานเป็นลูกจ้าง หรือ รับเป็นข้าราชการด้วยยิ่งดี จะได้มีเงินส่งสมทบเพิ่มความมั่งคั่งให้กองทุนประกันสังคมได้ ซึ่งมันคงเป็นไปไม่ได้ จึงไม่มีประโยชน์ต่อผู้ประกันตนไม่ว่าจะรับบำเหน็จหรือบำนาญก็ตาม หรือแม้กระทั่งแรงงานที่ออกมาก่อนถึงกำหนดอายุ 60 ปี ถ้าสมัครใจไปสมัครมาตรา 39 ก็จะยิ่งทำให้บำนาญที่ได้ลดลงมากกว่า 4 เท่าจากควรที่จะได้รับเลยทีเดียว 

สำหรับความเห็นหมอบูรณ์ในฐานะที่ได้มีประสบการณ์จากการรณรงค์และได้พบกับผู้ประกันตน ก็ขอให้ความเห็นว่าการขยายอายุรับเงินชราภาพออกไปเป็น 60 ปี จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นผู้ประกันตน ม.33 ที่ตกงาน เพราะกฎหมาย ประกันสังคม ม.78 (3) ระบุว่าผู้ที่รับสิทธิชราภาพไม่สามารถรับสิทธิว่างงานได้ ซึ่งสิทธิประโยชน์ว่างงานมักจะจ่ายค่าชดเชยที่สูงกว่าสิทธิชราภาพ ทำให้ที่ผ่านมาหรือปัจจุบันนี้มีผู้ประกันตนที่ทำงานในช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไปเมื่อออกจากงานหรือถูกให้ออกจากงานไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้แม้จะจ่ายเงินสมทบเต็มทุกสิทธิ  แต่กฎหมายอ้างหลักการจ่ายเงินต้องไม่ซ้ำซ้อนตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม มาตรา 78(3) 

ตัวอย่างที่พบมี "เหตุใดผู้ประกันตน ม. 33 อายุ 55 ปี ขึ้นไปเมื่อตกงาน จึง ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนว่างงาน"

https://youtu.be/Q2Tjv1i1_l0

คลิปแสดงถึงปัญหา

จริงแล้วไม่จำเป็นต้องขยายอายุรับเงินชราภาพ เพียง 

มันดูไม่เป็นธรรมใช่ไหม ที่ ม. 78 (3) บัญญัติว่า ผู้ที่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนชราภาพ ไม่สามารถรับสิทธิประโยชน์ชราภาพ ข้อเสนอแนะที่เป็นธรรมคือ

1) ตัด ม. 78 (3) ทิ้งจาก พรบ. ประกันสังคม หรือ

2) ลดเงินสมทบที่ต้องจ่ายลง ของผู้ประกันตน ม. 33  จาก 5% เป็น 4% ของค่าจ้างรายเดือน

นอกจากนี้แล้วประโยชน์ของการขยายเวลาคงจะเป็นเรื่องที่ทางนักคณิตศาสตร์ประกันภัยคงคำนวนและออกข้อกำหนดเพื่อให้กองทุนมีผลการดำเนินงานไม่ติดลบอละกองทุนสามารถดำรงอยู่ให้ได้นานที่สุดจึงได้ออกข้อกำหนดนี้ขึ้นมา 

เพื่อนๆ มีความคิดเห็นกันอย่างไร เห็นว่าการขยายอายุนี้มีประโยชน์หรือไม่อย่างไรโปรดช่วยคอมเม้นต์แสดงความคิดเห็นได้เลยครับ 


#ประกันสังคม

#สิทธิประโยชน์ทดแทนว่างงาน

#สิทธิประโยชน์ทดแทนชราภาพ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563