ขั้นตอนการลงทะเบียนรับเงินชดเชยกรณีว่างงานรับ 70% ของค่าจ้าง

ประกันสังคม แจ้งผู้ประกันตนมาตรา 33 ลงทะเบียนรับเงินชดเชยรับเลย 70% กรณีว่างงานเหตุโควิด

สำนักงานประกันสังคม อนุมัติสิทธิประโยชน์ว่างงาน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) โดยผู้ประกันตนที่มีสิทธิต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ใน 15 เดือนย้อนหลังก่อนวันที่ว่างงาน ซึ่งมีรายละเอียดต่างกันไปในแต่ละกรณี 



เปิดขั้นตอนลงทะเบียนกรณีว่างงานผ่านเว็บไซต์

  • กรณีถูกเลิกจ้าง รับ 70% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 200 วัน
  • ว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย 50% เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง รับ 45% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

ทั้งนี้ ต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ก็จะสามารถขอเงินชดเชยได้ ต้องลงทะเบียนว่างงานกับประกันสังคมภายใน 30 วันหลังจากว่างงาน โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน และรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th

สำหรับเงื่อนไขการรับเงินชดเชย

  • ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนลาออก
  • ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน และรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้สิทธิสวัสดิการจากประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน ตามมาตรา 38 ไม่ต้องจ่ายเงินประกันสังคมภายในระยะเวลานั้น เช่น ค่าทำฟัน ค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ทั้ง 6 สิทธิประโยชน์

สำหรับเอกสารที่ต้องใช้

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน หรือ สปส.2-01/7
  • บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป (รูปถ่ายต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน)
  • หนังสือรองรับการออกจากงาน สำเนาการแจ้งการลาออก หรือ สปส.6-09 (กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็ยังคงสามารถขึ้นทะเบียนว่างงานได้)
  • หนังสือ หรือเอกสารแจ้งให้ออกจากนายจ้าง (ถ้ามี)
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคาร โดยชื่อที่ระบุในหน้าสมุดบัญชีต้องเป็นชื่อของผู้ประกันตนที่ทำการลงทะเบียนว่างงาน
หรือยื่นออนไลน์ตามแผนภาพ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563