การนับจำนวนเดือนที่ส่งเงินสมทบ ม.40 และส่งเงินล่วงหน้าดีหรือไม่
การนับจำนวนเดือนที่ส่งเงินสมทบ ม.40 และส่งเงินล่วงหน้าดีหรือไม่
การจะได้รับสิทธิประโยชน์ประกันสังคมมาตรา 40 นั้นนอกจากจะต้องส่งเงินสมทบ 3 ทางเลือก แล้วนั้น จะได้รับสิทธิใดสิทธิหนึ่ง เช่น เงินชดเชยการรักษาเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ การทุพพลภาพ การเสียชีวิต การสงเคราะห์บุตร หรือเงินชราภาพ ต้องมีระยะเวลาการส่งเงินสมทบมาแล้วตามหลักเกณฑ์ทั้งนั้น อาทิเช่น การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจะได้สิทธิต่อเมื่อการเสียชีวิตนั้นต้องมีการส่งเงินสมทบอย่างน้อย 1 เดือน ใน 6 เดือนที่ผ่านมา
หลักเกณฑ์การนับเดือนมีหลักดังนี้
1) เดือนแรกที่ส่งยังไม่นับ จะนับเดือนในวันที่ 1 ของเดือนถัดไป
2) การส่งเงินล่วงหน้าไม่นับเดือน เพียงแต่ประกันสังคมช่วยรับเงินไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกเท่านั้น
ข้อแนะนำพี่หมอบูรณ์ต่อกรณีนี้
1) การนับเดือนที่วันที่ 1 ของเดือนถัดไปไม่ยุติธรรมมากๆ เพราะว่าหากเปรียบเทียบกับการประกันอุบัติเหตุ กรมธรรม์จะคุ้มครองทันที่ชำระเบี้ยประกันสำเร็จ แต่ ม. 40 แม้ชำระเงินสมทบครั้งแรกแล้วความคุ้มครองใดๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น จนกว่าจะถึงวันที่ 1 ของเดือนถัดไป กลับกันหากผู้เอาประกันชีวิตในประกันอุบัติเหตุจะจ่ายสินไหมคุ้มครองทันที แต่ผู้ประกันตน ม.40 เสียชีวิตในเดือนแรกที่ส่ง ทางประกันสังคมจะจ่ายเงินคืนเพียง 50 หรือ 150 บาท กับผู้ประกันมาตรา 40 ทางเลือก 2 และ 3 เท่านั้น โดยทางเลือก 1 ที่ส่ง 70 บาทในเดือนแรกเสียชีวิตจะไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่ได้รับเงินคืนแม้แต่สตางค์เดียว
2) ไม่แนะนำให้จ่ายเงินล่วงหน้าใดๆ เพียงเพราะต้องการความสะดวกเพราะไม่ได้นับเดือนการส่งเงินสมทบให้ ไม่ได้ดอกเบี้ยใดๆ จากการส่ง และหากผู้ประกันตนเสียชีวิตอาจจะขอคืนได้ยาก หรืออาจจะขอคืนได้ไม่เต็มจำนวนได้ หรือเมื่อรัฐมีนโยบายการลดการส่งเงินสมทบแม้จะขอคืนได้แต่ก็ยุ่งยากที่จะต้องไปทำเรื่องขอคืนส่วนต่าง ซึ่งล่าสุด ครม. มีส่วนลดให้ผู้ประกันตน ม.40 ในเดือน ส.ค. 64 ถึง ม.ค. 65 จะขอคืนส่วนต่างได้ในเดือน ก.พ.65 เลย ทราบมาว่าถ้าคนไม่ไปทำเรื่อง เงินส่วนนี้จะถูกนำไปส่งต่ออัตโนมัตในเดือนถัดๆ ไป แต่ยังสงสัยว่ามันจะพอดีกับเงินสมทบได้อย่างไร?
ข้อมูลทั้งหมด ได้มาจาก เจ้าหน้าที่ประกันสังคม ชื่อคุณณรงค์ โทรมาให้ข้อมูลหมอบูรณ์ทางโทรศัพท์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น