อารยะขัดขืน คือสิ่งที่ผู้เรียกร้องทำได้ ต่ออำนาจรัฐที่กฎขี่ประชาชน

หมอบูรณ์ ถูกจับทั้งหมด 3 ครั้งทั้งหมดคือการรณรงค์ในสิทธิเงินชราภาพประกันสังคม ตามเจตนากลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน คือ ครั้งแรก 4 มกราคม 2564 หน้าทำเนียบรัฐบาล ในวันสวัสดีปีใหม่ 2564  นายกรัฐมนตรี ในข้อหากีดขวางทางสาธารณะ ครั้งที่ 2 ในเช้าตรู่วันที่ 5 มกราคม 2564 ถูกตำรวจบุกจับที่เต็นท์ที่พักชัวคราวริมคลองเปรมฯ ข้างทำเนียบติดกับศาลกรมหลวงชุมพรฯ ในข้อหาผ่าฝืน พรก. ฉุกเฉิน และ พรบ.ควบคุมโรค  ล่าสุดคือการไปนั่งรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น เพื่อติดตามสอบถามเรื่องความคืบหน้าเงินชราภาพที่เรียกร้องไว้ โดนนั่งรออย่างสงบ ณ. โถงตึก กระทรวงแรงงานที่ดินแดง เมื่อคืนวันที่ 14 กันยายน 2564  โดยตำรวจเชิญตัวไปที่สถานีตำรวจนครบาลดินแดงและแจ้งการจับกุมในเวลา 00.30 นาที ของวันที่ 15 กันยายน 64 

และเคย ถูกหมายเรียกทั้งหมด 5 ครั้ง 4 ครั้งแรก เป็นคดีที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดอาญา ตาม ปอ. ม.388 ทำการขายหน้าต่อหน้าธารกำนัลฯ ใน สน. ลุมพีนี, ทุ่งมหาเมฆ, บางซื่อ และ ปทุมวัน โดย อัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง และล่าสุดคือหมายเรียก จาก สน. ทองหล่อ "ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ในการขึ้นเวทีปราศัย ของคุณสมบัติ (บก.ลายจุด) และคุณณัฐวุฒิ (เต้น) เพื่อพูดในเรื่องการรณรงค์เงินชราภาพและการเยียวยาการล็อกดาวน์โควิด 19 ผ่านประกันสังคมที่ไม่เป็นธรรมและเท่าเทียม พร้อมกับเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากตำแหน่ง  ขึ้นเวลาเมื่อบ่าย วันที่ 6 ก.ย. 64 

บทความจาก วิกิพีเดีย

อารยะขัดขืนเป็นเรื่องของการขัดขืนอำนาจรัฐ ที่ทั้งเป้าหมายและตัววิธีการอันเป็นหัวใจของ Civil Disobedience ส่งผลในการทำให้สังคมการเมืองโดยรวมมี 'อารยะ' มากขึ้น... การจำกัดอำนาจรัฐนั้นเอง เป็นหนทาง 'อารยะ' ยิ่งการจำกัดอำนาจรัฐโดยพลเมืองด้วยวิธีการอย่างอารยะคือ เป็นไปโดยเปิดเผย ไม่ใช้ความรุนแรง และยอมรับผลตามกฎหมายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้ใช้สันติวิธีแนวนี้ เพื่อให้สังคมการเมือง 'เป็นธรรม' ขึ้น เคารพสิทธิเสรีภาพของคนมากขึ้น และเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น

และโดยได้อธิบายคุณลักษณะ 7 ประการของ "อารยะขัดขืน" ในฐานะของปฏิบัติการทางการเมือง คือ

  1. เป็นการละเมิดกฎหมาย หรือตั้งใจจะละเมิดกฎหมาย
  2. ใช้สันติวิธี (ไม่ใช้ความรุนแรง)
  3. เป็นการกระทำสาธารณะโดยแจ้งให้ฝ่ายรัฐรับรู้ล่วงหน้า
  4. ประกอบด้วยความเต็มใจที่จะรับผลทางกฎหมายของการละเมิดกฎหมายดังกล่าว
  5. ปกติกระทำไปเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือนโยบายของรัฐบาล
  6. มุ่งเชื่อมโยงกับสำนึกแห่งความยุติธรรมของผู้คนส่วนใหญ่ในบ้านเมือง
  7. มุ่งเชื่อมโยงกับสำนึกแห่งความยุติธรรม ซึ่งโดยหลักแล้วเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายและสถาบันทางสังคม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563