สิทธิในการเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพบทวิพากษ์บทวิเคราะห์ของสำนักงานประกันสังคม หลังประชาพิจารณ์

 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการแก้ไขกฎหมาย ในการปรับปรุงแก้ไขสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 

หมายเหตุรายงานนี้เป็นการวิเคราะห์จากสำนักงานประกันสังคมที่พี่หมอบูรณ์มีความเห็นต่างและเห็นด้วยในหลากหลายประเด็นโดยจะเขียนความเห็นวิเคราะห์ด้วยตัวอักษรสีแดงกำกับไว้

จริงๆ มีหลายหัวข้อแต่บทความนี้ตัดมาเฉพาะบางส่วน โดยเริ่มต้นที่ สิทธิในการเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพเป็นบทวิเคราะห์แรก


สำนักงานประกันสังคม ได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปรับปรุงแก้ไข

สิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพฯ (กรณีขอเลือก ขอกู้ และขอคืน) ซึ่งได้เปิดรับฟังควำมคิดเห็น เมื่อวันที่ 1 – 30 เมษายน 2564 มาประกอบกำรพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. ....


ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. .... โดยจำแนกแต่ละกรณีปรากฏดังนี้


1. กรณีการให้ผู้ประกันตนที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์สามารถเลือกได้ระหว่างรับเงินบำนาญชราภาพหรือเงินบำเหน็จชราภาพ (ขอเลือก)

ผลกระทบเชิงบวก ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน แต่ประสงค์ขอรับ

เงินบำเหน็จชราภาพ สามารถเลือกรับเงินบำเหน็จชราภาพแทนเงินบำนาญชราภาพได้ ให้ผู้ประกันตนเลือกรับสิทธิประโยชน์ที่คาดว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสภาวะทางการเงินของผู้ประกันตนแต่ละราย ผู้ประกันตนสามารถเลือกรับเงินบำนาญรายเดือนระยะยาวไปจนกว่าตนเองจะเสียชีวิต หรืออาจเลือกรับเงินก้อนจากบำเหน็จชราภาพไปใช้จ่ายได้ตามความประสงค์ของตน

หมอบูรณ์ เห็นด้วยกับผลกระทบเชิงบวกนี้ เพราะว่าเงินชราภาพนั้นเป็นส่วนของผู้ประกันตนโดยแท้ โดยเฉพาะมาตรา 39 และมาตรา 40 แม้ว่าในมาตรา 33 จะมีส่วนของนายจ้างที่ส่งร่วมด้วยแต่ก็พบว่านายจ้างมักจะเหมาว่าเป็นการให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างโดยมักพบเสมอๆ ในการประกาศจ้างงานว่ามีสวัสดิการส่งเงินสมทบประกันสังคมให้ เพราะฉะนั้นในเมื่อเงินส่วนนี้จะเป็นเงินของผู้ประกันตนโดยแท้จึงสมควรให้ผู้ประกันตนเลือกว่าจะรับเงินก้อนหรือเงินเศษตามความจำเป็นและความชอบของแต่ละบุคคล ซึ่งควรให้สิทธิในการเลือกนำเงินไปใช้เช่น ลงทุนเองได้ ซึ่งอาจจะให้ผลตอบแทนดีกว่า หรือนำไปชำระหนี้เงินกู้ต่างๆ ที่ผู้ประกันตนบางคนยังมีอยู่เช่นสินเชื่อบ้าน หรืออื่นๆ ใดเป็นตน อันจะทำให้ผู้ประกันตนลืมตาอ้าปากหลุดพ้นจากภาวะลูกหนี้เสียลงได้

  ผลกระทบเชิงลบ ผู้ประกันตนที่เลือกรับเงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับสิทธิประโยชน์โดยรวมลดลงกว่าการรับเงินบำนำญชราภาพในระยะยาว โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ประกันตนมีอายุยืนจะทำให้ขาดหลักประกันรายได้ที่สามารถใช้ดำรงชีพไปได้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ธรรมชาติของมนุษย์มักมีความต้องการในเงินก้อน มากกว่าเงินระยะยาวที่มีมูลค่ามากกว่าทำให้ผู้ประกันตนจะตัดสินใจที่จะเลือกรับบำเหน็จ (สิ่งที่ต้องการ) แทนที่จะเลือกรับบำนาญ (สิ่งที่จำเป็น) ซึ่งจะส่งผลเสียในระยะยาวต่อสถานะทางการเงินของผู้ประกันตนเองรวมถึงครอบครัวและสังคมที่ต้องเป็นที่พึ่งพิงเมื่อผู้ประกันตนขาดรายได้ในยามชราภาพ เมื่อใช้เงินของตนหมดลงก็จะเป็นภาระในส่วนของภำครัฐที่จะต้องเข้าให้ความช่วยเหลือต่อไป

หมอบูรณ์มีความเห็นไม่ตรงการการวิเคราะในผลกระทบเชิงลบนี้ เห็นว่าผู้ทำการวิเคราะห์ วิเคราะห์ออกมาได้ไม่สมกับเป็นผู้เชียวชาญหรือทำงานประกันสังคมเลย เพราะ

1) ที่วิเคราะห์ว่าการรับบำเหน็จชราภาพจะได้รับสิทธิประโยชน์โดยรวมลดลงกว่าการรับบำนาญชราภาพระยะยาวนั้นอาจจะเป็นจริงกับผู้ประกันตนบางมาตราจริง คือ ม. 33 หรือ ม.40 แต่ก็ต้องใช้เวลาเฉลี่ยเกือบ 8 ปี จึงจะถือว่าคุ้มกับเงินที่จะได้รับเป็นเงินก้อน โดยพบว่าหากเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ซี่งถูกหักเงินเดือนส่งเงินสมทบมาเป็นระยะเวลานานมากกว่า 15 ปี แล้วสมัครใจเข้าเป็นผู้ประกันตน อาจจะต้องใช้เวลานานถึง 30 ปีจึงจะคุ้มกับการรับเป็นบำเหน็จเงินก้อน

2) คำกล่าวที่ว่าผู้ประกันตนมักเลือกในสิ่งที่ต้องการมากกว่าสิ่งจำเป็นฟังดูเหมือนกำลัง "วิจารณ์หนังรักโรแมนติก" มนุษย์ในโลกส่วนมากก็เลือกในสิ่งที่รักที่ต้องการเป็นธรรมดาโลก หรือผู้วิเคราะห์ไม่เลือกในสิ่งที่ต้องการหรอกหรือ ?

2.1) ส่วนที่บอกว่าสิ่งจำเป็นคือการรับบำนาญอันนี้หมอบูรณ์ไม่เข้าใจว่าเป็นความจำเป็นของผู้ใด ผู้วิเคราห์เป็นผู้ประกันตนด้วยหรือไม่ หากเป็นข้าราชการคงไม่ได้ส่งเงินสมทบใช่ไหม่ แล้วรู้ได้อย่างไรว่าการรับบำนาญเป็นสิ่งจำเป็นกว่าการรับบำเหน็จ ความจำเป็นของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกันหรอก การรับบำเหน็จอาจจะจำเป็นมากสำหรับผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยใกล้ตายในช่วงที่กำลังเกษียณ หรือบางคนกำลังเกษียณแล้วแต่ยังมีหนี้ส่งบ้านหากได้เงินก้อนมาโป๊ะหนี้สินเชื่อนี้คงทำให้ชีวิตช่วงเกษียณมีความสุขตามอัตภาพเป็นแน่แท้ อีกทั้งทำไมข้าราชการในการรับเงินเกษียณจึงได้สิทธิเลือกบำเหน็จหรือบำนาญได้

2.3) ส่วนที่บอกว่าหากรับเงินก้อนไปแล้วพอเงินหมดในระยะเวลาอันสั้นจะเป็นภาระ...

2.3.1) ต่อครอบครัวและลูกหลานนั้นผู้วิเคราะห์คิดหรือว่าครอบครัวในปัจจุบันนั้นต่างจากในอดีตมาก แต่เราก็ยังเป็นสังคมที่ดูแลเกื้อกูลกันเสมอมา หากผู้ประกันตนสิ้นไร้หนทางหากมีครอบครัว ครอบครัวดูแลได้พวกเราก็คงดูแลกันตามขนบ 

2.3.2)  เป็นภาระต่อภาครัฐ เท่าที่ทราบรัฐมีสวัสดิการเงินให้ประชาการชราตามอายุอยู่แล้ว คิดหรือว่ารัฐจะให้ได้มากกว่า 600 หรือ 700 .. หรือครับ ส่วนนี้ถ้าไม่พอรัฐบาลก็ไม่เคยจ่ายให้เพิ่มแต่อย่างไร?

3) อย่างพี่หมอเป็นมาตรา 33 มา 18 ปี และมาตรา 39 ในปัจจุบันมา 6 ปี ตอนนี้อายุ 48 ปี อีก 7 ปี ครบ 55 เมื่อครบ 55 ปี จะเท่ากับส่งประกันสังคมมาเกือบ 32 ปี นับเฉพาะ ปี ที่มีส่งเงินชราภาพ ก็จะประมาณ 30 ปี คำนวนเงินบำนาญชราภาพจะเท่ากับ มาตรา 39 ฐานเงินเดือน 4800*(20+(30-15X1.5) = 2,040 บาทต่อเดือน คำถามคือ พอจะยังชีพไหมครับ ??? 

เพราะจะนั้นความจำเป็นของผู้ประกันตนแบบหมอบูรณ์คืออยากได้เงินก้อน ตอนนี้มีส่งไว้ประมาณ 170,000 บาท ส่งอีก 7 ปี ก็จะมี รวม 220,000 บาท หากคิดผลประโยช์ตอบแทนที่ส่งมา 30 ปี คาดว่าน่าจะได้มากกว่า 350,000 บาท หากนำเงินบำนาญที่ได้ต่อเดือน 2,040 ไปหาร จะเท่ากับ 172 เดือน หรือ 14 ปีเลยที่เดียว เพราะฉะนั้น ความจำเป็นของผู้ประกันตนคืออยากได้เงินก้อนไปลงทุนเอง ไม่ใช่ความจำเป็นในแบบของผู้วิเคราะห์เพราะเป็นเงินของเราไม่ใช่เงินของคุณ



แหล่งที่มาของบทวิเคราะห์ เว็บไซต์ประกันสังคมข่าวประชาสัมพันธ์

พี่หมอบูรณ์จะทำการวิพากย์บทวิเคราะห์ในส่วนต่อๆ ไป โปรดติดตามครับ

ความคิดเห็น

  1. สิทธิของผู้ประกันตนต้องเลือกเองจะเอาบำเหน็จ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ต้องการบำเหน็จ

      ลบ
    2. ใช้ครับเงินผู้ประกันตนควรฝห้เจ้าของเงินเลือกใช้เงินเองครับ

      ลบ
    3. เราต้องการบำเหน็จเงินของเรา เราจัดการเองได้ ประกันสังคม อย่าคิดแทน คนอื่น

      ลบ

  2. ขนาดพี่หมอองินเดือนเยอะยังได้แค่2พันกว่าบาท.เราคนทำงานรายวันจะได้เท่าไร.ดึแล้วที่นับเดือนแล้วไม่ถึง180เดือน.ไม่งั่นกินแต่ไข่กะผักแน่ๆ

    ตอบลบ
  3. ทำไมค่าราชการถึงเลือกได้ครับว่าจะเอาเป็นบำเหน็จ/บำนาญแล้วอยู่ม.ไหนมันวิเศษวิโสมาจากไหนครับ...

    ตอบลบ
  4. (สิ่งที่ต้องการ)
    (สิ่งที่จำเป็น)​
    🤔ถ้าคุณคิดและตัดสินใจแทนพวกเราได้​
    👉คุณก็ต้องมาลำบากแทนพวกเราได้​
    👉มาแลกเปลี่ยนมุมมอง/ประสบการณ์​ชีวิต​ กับผมสักสองเดือนไหมครับ?
    #ใจเขาใจเราครับ..

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563