เงินตาย 3 อย่างเมื่อผู้ประกันและผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตาย

สิทธิประโยชน์ 1 ใน 7 สิทธิประโยชน์ของกฎหมายประกันสังคม คือ กรณีตาย เรามาดูกันว่าหากผู้ประกันตนตาย จะได้รับสิทธิอย่างไรบ้าง

คลิปสรุปสิทธิประโยชน์กรณีตาย

เงิน 3 อย่างมีดังนี้ 

1) เงินค่าทำศพ 50,000 บาท
2) เงินสงเคราะห์การตาย
3) เงินบำเหน็จชราภาพ

คนที่จะได้รับคือทายาท หรือบุคคลที่ระบุให้รับเงินผลประโยชน์ข้างต้น

ทายาทหรือผู้ที่ระบุโดยผู้ประกันตนมาตรา 33, 38, 39 และ 40 บางแบบ รับเงินได้ทั้ง 3 อย่าง

ส่วนผู้ที่สิ้นสภาพผู้ประกันตนทายาทและผู้ที่ผู้ประกันตนทำหนังสือยกผลประโยชน์ไว้ รับได้เพียงเงินบำเหน็จชราภาพ

โดยในข้อแรก 1) คือเงินค่าทำศพ ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบครบ 1 เดือนภายใน 6 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย

ข้อ 2 เงินสงเคราะห์กรณีตาย มีเงื่อนไขการจ่าย 

2.1 หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 120 เดือน ได้รับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้าง 4 เดือน 

2.2 หากผู้ประกันตนตายหลังจากที่จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์ 50% ของค่าจ้าง 12 เดือน


ข้อ 3.  เงินบำเหน็จชราภาพ 

3.1 หากผู้ประกันตนหรือผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตายก่อนรับเงินชราภาพ ทายาทและบุคคลตามระบุรับเงินชราภาพของผู้ตายและนายจ้างในรูปเงินบำเหน็จชราภาพพร้อมดอกเบี้ยผลประโยชน์ตอบแทน

3.2 หากผู้ตายกำลังรับบำนาญชราภาพอยู่ 1-60 เดือน ทายาทและบุคคลตามระบุรับ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนของผู้ตาย

3.3 หากผู้ตายรับเงินบำนาญชราภาพเกิน 60 เดือน ทายาทผู้ตายที่กำลังรับเงินชราภาพจะไม่ได้รับเงินใดๆ 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อัตราผลประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 ปีล่าสุด 2566

หมอบูรณ์ คือใคร (ประวัติหมอบูรณ์)

อัตราผลประโยชน์ตอบแทนเงินบำเหน็จชราภาพ ม.33 และ ม.39 รวม 22 ปี พ.ศ. 2542-2563