บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2022

ส่งมาตรา 33 มาตั้งแต่ปี 35 - 62 มาส่ง มาตรา 39 จนถึงปี 65 จะได้เงินชราภาพเท่าไหร่

รูปภาพ
ส่งมาตรา 33 มาตั้งแต่ปี 35 - 62 มาส่ง มาตรา 39 จนถึงปี 65 ครบอายุ 55 จะได้เงินชราภาพเท่าไหร่  ถ้าส่งมาตรา 39 มา 3 ปี จะได้ฐานเงินเดือน 4800 บาท ครับ ตอนมาตรา 33 เงินเดือนเท่าไหร่ครับ ?  การที่ส่งมาเกิน 180 งวด จะได้บำนาญชราภาพครับ  การคำนวนเงินเงินบำนาญคิดจาก ฐานเงินเดือนที่ส่ง 60 เดือนสุดท้าย ครับ  ฉะนั้น แสดงว่า จะมีม. 39 ฐานเงินเดือน 4,800 จำนวน 36 เดือน และ ม.33 ถ้าคิดสูงสุดที่ 15,000 บาท จำนวน 24 เดือน ครับ  = (4,800×36)+(15,000×24) ÷ 60 = 8,880 บาท เงินบำนาชราภาพ = 8,880 × (20+12)% = 2,842 บาท ต่อเดือน โดยประมาณ ครับ 

ระบุผู้รับผลประโยชน์กับเปลี่ยนแปลงผู้รับผลประโยชน์ของประกันสังคมต้องทำอย่างไร

รูปภาพ
 ถาม : สอบถามหน่อยค่ะกรณีเราอยากจะระบุผู้รับผลประโยชน์กับเปลี่ยนแปลงผู้รับผลประโยชน์ของประกันสังคมต้องทำยังไงค่ะ ตอบ : ตามคำถาม เรื่องการระบุชื่อผู้รับประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพประกันสังคม แชะการเปลี่ยนแปลงขอตอบผู้ถามดังนี้  1) ระบุผู้รับประโยชน์โดยเขียนหนังสือ ยกผลประโยชน์ตาม มาตรา 77 จัตวา วรรคแรก แล้วมอบหนังสือให้คนที่คุณเขียนยกให้ 2) เปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์โดย ขอหนังสือคืนมาทำลายทิ้ง ถ้าเขาไม่คืนก็ คงเขียนหนังสืออีกฉบับยกให้คนใหม่ โดยคนที่มีหนังสือทั้ง เก่า และ ใหม่ จะได้แบ่งเท่าๆ กัน คนละส่วน กับ ลูก คู่สมรส และ บิดามารดา ถ้ามี ครับ

มาตรา 33 ได้คืนเงินสมทบแล้ว (เกิน 15,000 บาท/เดือน)

รูปภาพ
ถาม:  ทำงานหลายที่กับนายจ้างหลายราย ส่งเงินสมทบเกิน ขอรับเงินคืนได้หรือไม่? ตอบ: ได้ กรณี ผู้ประกันตน ทำงานกับ นายจ้าง หลายราย และมีการนำส่งเงินสมทบทุกที่ รวมกันแล้วค่าจ้างเกิน 15,000 บาท สามารถยื่นคำขอรับเงินคืน อัพเดทล่าสุดประกันสังคม  โดยสำนักงานประกันสังคม  ออกมาชี้เเจงเเล้ว ในข้อสงสัยที่ผู้ประกันตนอย่างรู้คำตอบเเละข้อเท็จจริง หากทำงานหลายที่กับนายจ้างหลายราย ส่งเงินสมทบเกิน ขอรับเงินคืนได้หรือไม่? พร้อมเปิดเผยขั้นตอนการขอรับเงินคืนหากจ่ายเงินสมทบเกิน โดยผู้ประกันตนจะต้องดำเนินการกรอกเเบบฟอร์ม ยื่นคำขอรับเงินคืน ซึ่งจะต้องรีบทำภายในระยะเวลา1 ปี โดยผู้ประกันตนกรอกแบบฟอร์มกับ สำนักงานประกันสังคม ที่ท่านสะดวก ภายในระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ส่งเงินสมทบ  เปิด ขั้นตอนผู้ประกันตนขอรับเงินคืน  มีดังนี้ -สำหรับชาวไทย แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ -สำหรับต่างชาติ/ต่างด้าว แนบสำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ธนาคารที่เข้าร่วมมีดังนี้  -  ธนาคารกรุงไทย  จำกัด (มหาชน) - KTB - ธนาคารกรุงศรีอยุธย...

ผู้ประกันตนป่วยเป็นมะเร็ง เบิกทุพพลภาพได้ไหม

รูปภาพ
หากผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นมะเร็งจะได้รับสิทธิอะไรบ้างนอกจากค่ารักษาพยาบาล ถาม : เป็นมะเร็งค่ะเบิกทุพภาพได้ไหมค่ะ? ตอบ : ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ป่วยเป็นมะเร็ง แนะนำสิทธิดังนี้ นอกจากการรักษาพยาบาลกับประกันสังคม  1) เบิก ค่าขาดรายได้ 365 วันก่อน โดยม. 33 ยื่นใบลากับนายจ้าง  2) หลังจาก 365 นั้น ม.33 ให้นายจ้างแจ้งออกเพราะทำงานไม่ได้ รับเงินว่างงาน 180 วัน   3) ขณะที่รับเงินว่างงาน แนะนำขอใบรับรองแพทย์ และประวัติรักษามะเร็ง หากยังทำงานไม่ได้ ยื่นทุพพลภาพ ครับ 6 กลุ่มโรคเรื้อรังเบิกเงินขาดรายได้กับ สปส. ได้ 365 วัน ถาม: อยู่ มาตรา39ทำงานไม่ได้แล้วตอนนี้ให้คีโมอยู่ ทำอย่างไร  ตอบ: ให้หมอเขียนใบรับรองแพทย์ ยื่นชดเชยขาดรายได้สูงสุดวันละ 80 บาท นาน 365 วัน เช่นกันครับ ถาม: แล้วจากนั้นต้องทำอะไรต่อ ? ตอบ: เบิกเงินขาดรายได้จากประกันสังคม ครบ 365 วัน แนะนำว่า ลองยื่นสิทธิทุพพลภาพ ได้ ครับ ถาม: เคยถามหมอว่าแบบนี้เป็นทุพพลภาพไหม? หมอบอกยังไม่ถึงทุพพลภาพ  ตอบ: ถ้าทำงานไม่ได้ 365 วัน น่าจะเข้าเกณฑ์การป่วยหรือเจ็บ จนขาดความสามารถในการกร...

6 โรคเรื้อรัง เบิกเงินขาดรายได้จากประกันสังคม 365 วัน

รูปภาพ
 เบิกเงินค่าขาดรายได้สูงสุด 365 วัน 6 โรคเรื้อรัง จากประกันสังคมมีอะไรบ้าง “เงินทดแทนการขาดรายได้” ซึ่งผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วันในรอบปีหนึ่งๆ ก็จะจ่ายให้ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่ เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในระหว่างหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือมีสิทธิตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่ กรณีผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จนกว่าสิทธิที่ได้รับเงินค่าจ้างนั้นได้สิ้นสุด จึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังกล่าวเท่ากับระยะเวลาที่คงเหลือ  ปัจจุบันกำหนดโรคเรื้อรังไว้ 6 รายการ คือ   1. โรคมะเร็ง  2. โรคไตวายเรื้อรัง  3. โรคเอดส์  4. โรคหรือการบาดเจ็บของสมอง เส้นเลือดสมองหรือกระดูกสันหลังอันเป็นเหตุให้เป็นอัมพาต  5. ความผิดปกติของกระดูกหักที่มีภาวะแทรกซ้อน  6. โรคหรือการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ต้องรักษาตัวนานติดต่อกันเกินกว่า ...

เฮ คืนเงินมาตรา 40 ผ่านพร้อมเพย์

รูปภาพ
  มาตรา 40 เฮ ได้เงินสมทบประกันสังคมที่จ่ายเกิน คืน ผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประจำตัวประชาชน ในเดือน สิงหาคม และ กันยายน 2565 นี้ #มาตรา40 #คืนเงินสมทบ #คืนเงินประกันสังคม สปส. แจ้งผู้ประกันตน ม. 40 จ่ายเงินสมทบเต็มจำนวน งวดเดือน ส.ค.64 – ม.ค.65 และ ก.พ. - ก.ค. 65 เตรียมรับเงินคืนในส่วนที่ชำระเกิน ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่พระราชกฤษฎีกาประกาศลดอัตราเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบ เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่งวดวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 และในงวดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 กรกฎาคม 2565 นั้น โดยกำหนดให้ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิม คือ ทางเลือกที่ 1 เดิมผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 70 บาท ลดเหลือเดือนละ 42 บาท  ทางเลือกที่ 2 เดิมผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 100 บาท ลดเหลือเดือนละ 60 บาท      ทางเลือกที่ 3 เดิมผู้ประกันตนจ่ายเดือนละ 300 บาท ลดเหลือเดือนละ 180 บาท จากกรณีดังกล่าว สำนักงา...